หน้าแรก Thai PBS “วิษณุ” ปัดตระบัดสัตย์ นั่งที่ปรึกษาของนายกฯ

“วิษณุ” ปัดตระบัดสัตย์ นั่งที่ปรึกษาของนายกฯ

84
0
“วิษณุ”-ปัดตระบัดสัตย์-นั่งที่ปรึกษาของนายกฯ

แม้จะไม่ได้ “ยอมรับ” ตรง ๆ แต่ระหว่างถาม-ตอบ นายวิษณุ เครืองาม ตอบรับกลาย ๆ ว่า ต้องช่วย “กำกับ-ดูแล” เอกสารหลักฐานที่ใช้ต่อสู้คดี ทั้งกรณีของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ผ่านข้ออ้างอิงว่า “ทำงานกันเป็นทีม”

ไม่ใช่ดีลการเมือง และไม่ได้เป็นสัญลักษณ์ทางการเมือง แต่เป็นเพราะ “ลูกตื้อ” ของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกฯ ที่นายวิษณุ เครืองาม แจกแจงว่า ทำให้ต้องตอบรับเข้ามาช่วยงานรัฐบาล ทั้งที่ 10 เดือนที่ผ่านมา “รับงานอื่น” ไว้เยอะแล้ว ภาระครอบครัวก็ไม่น้อย ในขณะเดียวกันสุขภาพก็ไม่สู้ดี

อ่านข่าว “เศรษฐา” เซ็นตั้ง “วิษณุ” นั่งที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี

จากการพูดคุย ทำความเข้าใจกันในบทบาท หน้าที่และอำนาจ รวมถึงเงื่อนไขส่วนตัว นายวิษณุ เปิดเผยว่า รับทำหน้าที่ “ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี” ด้วยไม่ต้องการยื่นแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ไม่ต้องการทำงานเต็มเวลา แต่มีความจำเป็นต้องเข้าประชุม ครม. และทำหน้าที่ให้คำปรึกษา เสนอแนะ และทักท้วงได้

บางช่วง-บางตอน ระหว่างถามตอบ นายวิษณุ ยอมรับว่า อาจต้องช่วยดู เอกสารหลักฐานและการต่อสู้คดี ทั้งกรณีนายทักษิณ ชินวัตร หลังนัดส่งฟ้องคดีอาญา มาตรา 112 ในวันที่ 18 มิ.ย.นี้ และอ้างอิงว่า จะทำหน้าที่ “สรุปรวม” ร่างคำชี้แจงข้อกล่าวหา ที่นายกฯ ต้องยื่นศาลรัฐธรรมนูญ หลังแต่ละทีมยกร่างเบื้องต้นมาเสนอ

ส่วนกรณีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ นั้น นายวิษณุ ชี้ว่ามีทางเดียวที่จะช่วย คือแนะนำให้ส่งตั๋วเครื่องบินในกลับมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมและข้อสังเกตเรื่องการขอพระราชทานอภัยโทษ ก็เป็นเรื่องที่เจ้าตัวต้องทำเอง

อ่านข่าว “วิษณุ” เปิดใจ “นายกฯ” บุกถึงบ้าน ชวนคัมแบ็กการเมืองช่วยดูงานด้านกฎหมาย

สำหรับคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 205/2567 นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามให้มีผลวันนี้ 30 พฤษภาคม 2567 โดยแต่งตั้ง-มอบหมายให้นายวิษณุ ทำหน้าที่ “ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี” ปฏิบัติหน้าที่ 5 เรื่องสำคัญ จากนั้นก็มีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 206/2567 ที่นายกรัฐมนตรี ลงนามและมีผลวันเดียวกันนี้ด้วย

แต่เป็นเรื่องแต่งตั้งมอบหมายหน้าที่ให้ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี รวม 5 คน ซึ่งเป็นชื่อเดิม ตามมติ ครม. คือ นายชัยเกษม นิติศิริ, นายพิชัย นริพทะพันธุ์, นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์, นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร และ พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก จนเป็นที่สังเกตว่า บทบาทหน้าที่นายวิษณุ ไม่ต่างกับ รองนายกฯ ฝ่ายกฎหมาย

จะต่างก็ตรงที่ไม่ใช่ตำแหน่ง “ข้าราชการการเมือง” ไม่มีเงินเดือน ไม่ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อ ป.ป.ช. รวมถึงไม่จำเป็นต้องทำงานเต็มเวลาราชการ ซึ่งก็เป็นไปตามเงื่อนไขที่นายวิษณุ อ้างอิงหลังได้รับการทาบทาม หากแต่ว่า มีอำนาจเหมือนรองนายกฯ เพราะนอกจากการให้คำปรึกษาแล้ว นายวิษณุ สามารถเข้าประชุม ครม.พร้อมให้ข้อเสนอแนะและทักท้วงได้

อ่านข่าว “เศรษฐา” เซ็นตั้ง “วิษณุ” นั่งที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี 

 “เศรษฐา” ยอมรับร่างคำสั่งตั้ง “วิษณุ” ที่ปรึกษา สลค. 

สะพัดตั้ง “วิษณุ” ร่วมงานเพื่อไทยนั่งที่ปรึกษา สลค.  

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่