หน้าแรก Voice TV สถานการณ์ความยากจน-ภาพรวมความเหลื่อมล้ำไทย ปี 2565 ‘ปรับตัวดีขึ้น’ แต่ด้านรายได้ยังเหลื่อมล้ำสูง

สถานการณ์ความยากจน-ภาพรวมความเหลื่อมล้ำไทย ปี 2565 ‘ปรับตัวดีขึ้น’ แต่ด้านรายได้ยังเหลื่อมล้ำสูง

86
0
สถานการณ์ความยากจน-ภาพรวมความเหลื่อมล้ำไทย-ปี-2565-‘ปรับตัวดีขึ้น’-แต่ด้านรายได้ยังเหลื่อมล้ำสูง

​ความมั่งคั่งที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Inclusive Prosperity) รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในไทย ปี 2565 ของ สศช. และรายงานการลดช่องว่าง ความเหลื่อมล้ำ และการจ้างงานในประเทศไทย ของธนาคารโลก

รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจน และความเหลื่อมล้ำในไทย ปี 2565 ของ สศช. และรายงานการลดช่องว่าง ความเหลื่อมล้ำ และการจ้างงานในประเทศไทย ของธนาคารโลก

นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยวันนี้ (14 มิถุนายน 2567) ว่า สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกับธนาคารโลก (World Bank) จัดการประชุม Bridging The Gap: Thailand’s Path to Inclusive Prosperity เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 เพื่อเผยแพร่ รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในไทย ปี 2565 ของ สศช. และ รายงานการลดช่องว่าง: ความเหลื่อมล้ำและการจ้างงานในประเทศไทย ของธนาคารโลก โดยมีตัวแทนสถาบันการศึกษา เข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลงานภายใต้หัวข้อดังกล่าว

รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในไทย ปี 2565 พบว่า 

สถานการณ์ความยากจนปรับตัวดีขึ้น ส่วนสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำในภาพรวมทั้งด้านรายจ่ายและด้านโอกาสและคุณภาพทางการศึกษาปรับตัวดีขึ้น การเข้าถึงหลักประกันสุขภาพครอบคลุมประชากรร้อยละ 99.56 โดย สศช. ได้มีข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว เช่น ทบทวนแนวทางการจัดสรรงบฯ จัดสรรงบฯ ให้สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน และบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านสุขภาพ

รายงานการลดช่องว่าง: ความเหลื่อมล้ำและการจ้างงานในประเทศไทย ของธนาคารโลก พบว่า 

สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำของไทยลดลงอย่างรวดเร็วในห้วงปี 2553 – 2562 และเริ่มชะลอตัวตั้งแต่ปี 2558 แต่ยังคงพบความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของไทยในระดับสูง 

การจ้างงานในไทยพบว่า การจ้างงานภาคเกษตรกรรมลดลง แต่การจ้างงานภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการเพิ่มขึ้น ซึ่งมีสาเหตุจาก 

(1) ความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็กจะส่งผลสืบเนื่องไปตลอดชีวิต 

(2) ความเหลื่อมล้ำด้านอาชีพและระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน 

(3) ความเหลื่อมล้ำระหว่างเพศในตลาดแรงงานอยู่ในระดับสูง 

(4) มุมมองปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ

ตัวแทนสถาบันการศึกษา พบว่า ความยากจนในระดับพื้นที่มีการทับซ้อนกันระหว่างปัญหา จึงควรพิจารณาความเหลื่อมล้ำทั้งด้านโอกาส และโครงสร้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ เพื่อลดความเสียเปรียบในกลุ่มที่เสียเปรียบทางสังคม และการพัฒนาทุนมนุษย์

จากการสังเคราะห์ผลการประชุมดังกล่าว สามารถจำแนกเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหาได้เป็น 3 ระยะ ได้แก่

– แผนการดำเนินการระยะสั้น แนวทางการดำเนินการ

(1) พัฒนานโยบายการคุ้มครองทางสังคมให้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

(2) การพัฒนาคุณภาพการศึกษา

(3) การแก้ปัญหาหนี้สินครัวเรือน

– แผนการดำเนินการระยะกลาง แนวทางการดำเนินการ

(1) สนับสนุนการพัฒนาทักษะใหม่ให้แรงงาน

(2) ยกระดับทักษะแรงงานเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ภาคเศรษฐกิจที่มีผลิตภาพสูง และเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม

(3) ส่งเสริมให้ผู้หญิงเข้าสู่ตลาดแรงงาน

(4) ยกระดับรายได้และผลิตภาพของเกษตรกร

– แผนการดำเนินการระยะยาว แนวทางการดำเนินการ

(1) เพิ่มประสิทธิภาพของนโยบายการคลัง

(2) ขยายโอกาสทางการศึกษา

(3) ลดช่องว่างเชิงพื้นที่ในการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานและบริการพื้นฐาน

(4) สนับสนุนให้ อปท. และภาคประชาสังคมมีส่วนแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ

โดยที่ประชุม ครม. รับทราบผลการประชุมในวันอังคารที่ 11 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมาตามที่ สศช. เสนอ และให้ สศช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการต่อไป

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่