หน้าแรก Voice TV ‘ชนินทร์’ สนุนแก้ไข พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ ชี้ ระบบเดิม ‘ปิดตายประชามติ’ หวั่นซ้ำรอยบอยคอตเลือกตั้ง57

‘ชนินทร์’ สนุนแก้ไข พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ ชี้ ระบบเดิม ‘ปิดตายประชามติ’ หวั่นซ้ำรอยบอยคอตเลือกตั้ง57

49
0
‘ชนินทร์’-สนุนแก้ไข-พรบ.การออกเสียงประชามติ-ชี้-ระบบเดิม-‘ปิดตายประชามติ’-หวั่นซ้ำรอยบอยคอตเลือกตั้ง57
‘ชนินทร์’ สนุนแก้ไข พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ ชี้ ระบบเดิม ‘ปิดตายประชามติ’ หวั่นซ้ำรอยบอยคอตเลือกตั้ง57

‘ชนินทร์’ หนุนแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ทั้ง 4 ฉบับที่เสนอโดย พรรคเพื่อไทย, พรรคภูมิใจไทย, พรรคก้าวไกล และร่างของคณะรัฐมนตรี

นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ สส.บัญชีรายชื่อ และรองโฆษกพรรคเพื่อไทย อภิปรายสนับสนุน ร่างแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ …) พ.ศ. … ทั้ง 4 ฉบับที่เสนอโดย พรรคเพื่อไทย, พรรคก้าวไกล และร่างของคณะรัฐมนตรี ว่าเป็นการมุ่งเน้นที่จะแก้ไขให้การทำประชามติ มีกระบวนการที่เป็นปกติและสอดคล้องกับบริบทของสังคม เปิดกว้างให้เกิดการรณรงค์และใช้สิทธิ์ได้กว้างขวางมากขึ้น และสะท้อนเจตนารมย์ของผู้มาใช้สิทธิ์ได้อย่างตรงไปตรงมา ต่างจากวิธีการตามพระราชบัญญัติปัจจุบัน ที่มีความยุ่งยากซับซ้อน และอาจเป็นพันธนาการที่ปิดตายการหาทางออกให้สังคม ตนจึงเห็นด้วยกับหลักการของพรรคเพื่อไทยทั้ง 4 เรื่อง ที่จะทำให้กลไกการทำประชามติ มีความเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้แก่

1) การจัดให้การออกเสียงประชามติสามารถจัดไปพร้อมกับการเลือกตั้งอื่นๆ ได้ 

2) การจัดให้สามารถลงคะแนนผ่านไปรษณีย์และช่องทางอิเล็กโทรนิกส์ได้ 

3) ระบุให้มีการรณรงค์ได้เสรีทั้งจากฝั่งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย และ 

4) การปรับเงื่อนไขการผ่านประชามติ จากระบบเสียงข้างมาก 2 ชั้น (double majority) เป็นระบบเสียงข้างมากธรรมดา (plurality)

ทั้งนี้ เงื่อนไขการผ่านประชามติแบบระบบ double majority กำหนดให้การทำประชามติต้องผ่าน 2 เงื่อนไข คือ ผู้มาใช้สิทธิออกเสียงต้องเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียง และต้องมีจำนวนเสียงเห็นด้วยเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิออกเสียงในคราวนั้นด้วย ซึ่งการกำหนดเกณฑ์จำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิ์นี้ อาจสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดกระบวนการบอยคอตการลงคะแนน จนผู้ออกมาใช้สิทธิ์ไม่ถึง 50% และทำให้ไม่สามารถหาข้อยุติจากการทำประชามติครั้งนั้นได้ เพราะหากย้อนดูในอดีต การทำประชามติทั้ง 2 ครั้งในประเทศไทย ไม่เคยมีครั้งใดมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์เกิน 60% และหากผู้ไม่เห็นด้วยรวมตัวกันไม่มาใช้สิทธิ์ การทำประชามติทั้ง 2 ครั้งนั้น จะมีผู้ออกมาลงคะแนนเพียง 30-40% และเท่ากับไม่สามารถหาข้อยุติได้ 

“ในการเลือกตั้งในปี 2557 มีการรณรงค์บอยคอตการลงคะแนน จนทำให้การเลือกตั้งในครั้งนั้นเป็นโมฆะ นำไปสู่ปัญหาความวุ่นวายของประเทศมาแล้ว เราจึงไม่สมควรออกแบบกลไกการทำประชามติ ที่อาจจะนำประเทศไปสู่จุดนั้นอีก”

นายชนินทร์ กล่าวอีกว่า หลักการในร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติที่พิจารณากันอยู่นี้ มีเป้าประสงค์ที่จะแก้ไขระบบ double majority ตัดเกณฑ์ในการนำเงื่อนไขคนมาลงคะแนนที่ต้องเกินกึ่งหนึ่ง ออกทั้ง 4 ฉบับ โดยร่างของคณะรัฐมนตรีและพรรคก้าวไกลเสนอให้มีการเปลี่ยนระบบการเลือกเป็นเสียงข้างมากชั้นเดียว (single majority) ที่คงไว้เพียง “เสียงเห็นด้วย ต้องมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้มาลงคะแนน” หรือเท่ากับต้องมากกว่าเสียงไม่เห็นด้วยและงดออกเสียงรวมกัน ซึ่งก็อาจทำให้เกิดปัญหาการตีความได้เช่นกัน เพราะเจตนาการลงคะแนน “งดออกเสียง” หรือ “บัตรที่เสีย” ของแต่ละคน เป็นทางเลือกที่จะแสดงออกทางหนึ่ง ไม่สมควรนำมาตีค่าเป็นการ “เห็นด้วย” หรือ “ไม่เห็นด้วย” ทั้งสิ้น โดยส่วนตัวจึงสนับสนุนร่างของพรรคเพื่อไทยมากกว่า ที่เสนอให้พิจารณาด้วยระบบเสียงข้างมากธรรมดา (Plurality) ที่แยกคะแนนทั้งหมดออกจากกัน และให้การทำประชามติจะได้ข้อยุติได้ ก็ต่อเมื่อเสียงเห็นด้วยมีคะแนนมากเป็นอันดับ 1 เท่านั้น ซึ่งมีความเรียบง่าย และไม่ต่างจากการลงคะแนนเลือกตั้งอื่นๆ ที่ประชาชนในประเทศเข้าใจอยู่แล้ว

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่