หน้าแรก Voice TV OECD มีมติเอกฉันท์รับ ‘ไทย’ สู่กระบวนการเข้าเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการ อีกก้าวสำคัญบนเวทีโลก

OECD มีมติเอกฉันท์รับ ‘ไทย’ สู่กระบวนการเข้าเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการ อีกก้าวสำคัญบนเวทีโลก

106
0
oecd-มีมติเอกฉันท์รับ-‘ไทย’-สู่กระบวนการเข้าเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการ-อีกก้าวสำคัญบนเวทีโลก
OECD มีมติเอกฉันท์รับ ‘ไทย’ สู่กระบวนการเข้าเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการ อีกก้าวสำคัญบนเวทีโลก

คณะมนตรี OECD (OECD Council) ซึ่งประกอบด้วย 38 ประเทศสมาชิก มีมติเอกฉันท์เห็นชอบเปิดการหารือกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก (accession discussion) กับประเทศไทย เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2567 นับเป็นก้าวสำคัญที่ไทยจะมีบทบาทในเวทีโลกและยกระดับประเทศสู่มาตรฐานสากลในทุกมิติ

ประเทศไทยได้ยื่นต้นฉบับหนังสือแสดงเจตจำนงในการเข้าเป็นสมาชิก OECD ไปเมื่อเดือนเมษายน 2567 และได้รับเชิญให้เข้าร่วมหารือวาระพิเศษกับคณะมนตรี OECD ซึ่งไทยได้นำเสนอจุดแข็งของประเทศและผลประโยชน์ที่ทั้งสองฝ่ายจะได้รับร่วมกันจากการเข้าเป็นสมาชิกของไทย นับเป็นการแสดงออกถึงความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการสมัครเข้าเป็นสมาชิก ซึ่งต่อมาคณะมนตรี OECD ได้มีมติเอกฉันท์เปิดการหรือกระบวนการเข้าเป็นสมาชิกกับประเทศไทย จึงทำให้ไทยมีสถานะเป็นประเทศผู้สมัครที่อยู่ในกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD (OECD Accession Country) 

สำหรับขั้นตอนถัดไป เลขาธิการ OECD จะจัดทำแผนการเข้าเป็นสมาชิก (Accession Roadmap) ให้กับประเทศไทย ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่จะระบุขั้นตอนการเข้าเป็นสมาชิกและรายละเอียดเงื่อนไขต่าง ๆ โดยตลอดกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก ประเทศไทยจะต้องดำเนินการร่วมกับคณะกรรมการ OECD (OECD Committee) อย่างใกล้ชิด ในการปรับปรุงมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย (legislation) นโยบาย (policies) และแนวปฏิบัติ (practices) ให้สอดคล้องกับมาตรฐานของ OECD เพื่อบรรลุการเข้าเป็นสมาชิก (full member) ในอนาคต 

รูป-1-หน้าปก.jpg

แม้การดำเนินการร่วมกับ OECD จะมีหน่วยงานภาครัฐเป็นตัวหลักในการดำเนินการ แต่การปรับมาตรฐานภายในประเทศให้สอดคล้องกับมาตรฐาน OECD นั้น ครอบคลุมมาตรฐานในหลากหลายสาขาและเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วนของประเทศไทย เช่น หลักธรรมาภิบาล ความโปร่งใส การดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ การแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม การศึกษา แรงงาน การพัฒนาเชิงพื้นที่ สิ่งแวดล้อม และดิจิทัล เป็นต้น โดยเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้การเข้าเป็นสมาชิก OECD ของไทยสำเร็จได้ คือการแสดงออกถึงความมุ่งมั่น (willingness) และความสามารถ (ability) ของประเทศไทยในการปฏิบัติตามตราสารทาง กฎหมายของ OECD (OECD legal instruments) รวมทั้งการที่ประเทศไทยมีนโยบายและแนวปฏิบัติสอดคล้องกับมาตรฐานของ OECD ในเรื่องนั้น ๆ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมและความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคประชาสังคม ในการดำเนินการให้สอดคล้องกับมาตรฐาน OECD เพื่อให้ไทยผ่านการประเมินและสามารถเข้าเป็นสมาชิก OECD โดยสมบูรณ์

xx1.jpg

กระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD มีขั้นตอนและแบบแผนที่ชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้ไทยสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง การเข้าเป็นสมาชิก OECD มิใช่การทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) แต่เป็นการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานของไทยในทุกด้านให้ทัดเทียมสากล เนื่องจาก OECD คือองค์กรระหว่างประเทศที่มีบทบาทนำในการกำหนดมาตรฐานโลก ซึ่งหากไทยได้เข้าร่วมกลุ่มนี้ ก็จะทำให้ไทยมีมาตรฐานระดับโลก ส่งเสริมการเจรจาการค้าอื่น ๆ ที่ไทยกำลังดำเนินการ เพิ่มโอกาสของไทยรอบด้าน และย่อมส่งผลบวกให้กับคุณภาพชีวิตประชาชนคนไทยเช่นกัน

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะหน่วยงานประสานหลักในการขับเคลื่อนการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทย จะเร่งสร้างความตระหนักรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อผลักดันให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของไทยให้ได้มากที่สุด เพราะการเข้าเป็นสมาชิก OECD มิได้เป็นเพียงเรื่องของภาครัฐ แต่เป็นเรื่องของประชาชนทุกคนที่จะร่วมขับเคลื่อนให้ประเทศไทยสามารถอยู่ในวงโคจรมาตรฐานระดับโลกไปพร้อมกัน

ด้าน นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ก็ได้โพสต์ข้อความผ่านโซเชียลมีเดีย X วานนี้ (18 มิ.ย.2567) ว่า ‘ผมมีข่าวดีจะแจ้งว่า ประเทศสมาชิก @OECD มีมติเชิญไทยเข้าสู่กระบวนการหารือซึ่งเป็นก้าวสำคัญไปสู่การเป็นสมาชิก #OECD ในอนาคต เพื่อยกระดับมาตรฐานของประเทศด้านเศรษฐกิจ ดึงดูดการค้าการลงทุนและสร้างรายได้ให้ประชาชน’

xx4.jpg

ขณะที่ นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ก็ได้โพสต์ข้อความผ่านโซเชียลมีเดีย X @AmbPoohMaris วานนี้ (18 มิ.ย.2567) ว่า ‘ผมมีความยินดีจะแจ้งว่า OECD เชิญไทยเข้าสู่กระบวนการหารือ ซึ่งเป็นความสำเร็จและก้าวสำคัญของการทูตเศรษฐกิจของไทยในการแสวงหาความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อพัฒนา เศรษฐกิจ เพิ่มรายได้แก่ประชาชน และเพิ่มบทบาทในการกำหนดนโยบายระหว่างประเทศ’

xx5.jpg

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่