หน้าแรก Voice TV Financial Hub ‘ศูนย์กลางทางการเงิน’ คือกลยุทธ์ดึงดูดเงินทุน ‘เปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจไทย’ ที่ไม่ต้องใช้งบลงทุนแต่ผลตอบแทนมหาศาล

Financial Hub ‘ศูนย์กลางทางการเงิน’ คือกลยุทธ์ดึงดูดเงินทุน ‘เปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจไทย’ ที่ไม่ต้องใช้งบลงทุนแต่ผลตอบแทนมหาศาล

91
0
financial-hub-‘ศูนย์กลางทางการเงิน’-คือกลยุทธ์ดึงดูดเงินทุน-‘เปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจไทย’-ที่ไม่ต้องใช้งบลงทุนแต่ผลตอบแทนมหาศาล
Financial Hub ‘ศูนย์กลางทางการเงิน’ คือกลยุทธ์ดึงดูดเงินทุน ‘เปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจไทย’ ที่ไม่ต้องใช้งบลงทุนแต่ผลตอบแทนมหาศาล

นายกฯเศรษฐา เป็นประธานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการศูนย์กลางการเงิน (Financial Hub) ภายใต้หัวข้อ Ignite Finance: Thailand’s Vision for a Global Financial Hub เปิดทางนำไทยสู่ศูนย์กลางการเงินโลก

‘การเป็นศูนย์กลางทางการเงิน’ ไม่ใช่สร้างประโยชน์ให้กับธนาคารหรือสถาบันการเงินเพียงอย่างเดียว แต่คือกลยุทธ์ที่ประเทศไทยจะดึงดูดเงินทุน คนมีความรู้ความสามารถ สร้างประโยชน์ให้กับเศรษฐกิจ ถือเป็น ‘การเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจ’ ที่ไม่ต้องใช้งบประมาณลงทุน และมีผลตอบแทนมหาศาลต่อประเทศ คุ้มค่าอย่างยิ่งต่อการเดินหน้าเต็มที่”

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการศูนย์กลางการเงิน (Financial Hub) ภายใต้หัวข้อ Ignite Finance: Thailand’s Vision for a Global Financial Hub เปิดทางนำไทยสู่ศูนย์กลางการเงินโลก ซึ่งกระทรวงการคลังจัดขึ้นภายใต้วิสัยทัศน์ Ignite Thailand ที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางของ 8 อุตสาหกรรมหลัก โดย Ignite Finance มีเป้าหมายเพื่อยกระดับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการเงินระดับโลก 

S__26624100.jpg

นายกฯเศรษฐา มอง Ignite Finance: Thailand’s Vision for a Global Financial Hub เป็นการเปลี่ยนโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศ ให้เติบโตจากภาคการผลิต ไปสู่ภาคการบริการที่มีมูลค่าสูงมากยิ่งขึ้น โดยอุตสาหกรรมการเงินของไทยช่วงที่ผ่านมาถือว่ามีความแข็งแกร่งจากการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจฝั่งภาคการผลิต การท่องเที่ยวในประเทศ อย่างไรก็ตาม การพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอที่จะยกระดับโครงสร้างอุตสาหกรรมของไทยได้เร็วเพียงพอ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรับอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ที่มีมูลค่าสูงเข้ามาในประเทศ โดยเฉพาะเศรษฐกิจที่ใช้ความรู้ ความสามารถมากยิ่งขึ้น และหนึ่งในอุตสาหกรรมดังกล่าว คือ “อุตสาหกรรมการเงิน การลงทุน การธนาคาร” ซึ่งกลยุทธ์หลักที่รัฐมนตรีได้นำเสนอไปคือ การเปิดรับเงินนอกเข้ามาอยู่ในประเทศ

ที่ผ่านมาประเทศเพื่อนบ้าน ปรับแก้กฎหมายให้เป็นมิตรต่อการทำธุรกิจ เพราะหลาย ๆ บริษัท ไม่ได้เข้าไปอยู่ในประเทศ เพื่อจะค้าขายกับคนในประเทศ แต่เป็นการเข้าไปอยู่เพื่ออาศัย Ecosystem ในการทำธุรกิจ ทำให้สามารถหา Talent ได้ เจรจาพูดคุยการค้า การลงทุน ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมบ้านเขาทำได้ และที่ผ่านมาทำไมนักลงทุนถึงไม่เลือกประเทศไทย ซึ่งการออกไปคุยกับนักลงทุนทำให้เข้าใจดีว่า หัวใจของการสร้างอุตสาหกรรมนี้ คือ การมีกฏหมายที่ชัดเจนสำหรับการดำเนินธุรกิจ และการมี Facility สำหรับคนทำงานที่ดีพอ ซึ่งมั่นใจว่า Facility ต่าง ๆ ในประเทศไทยนั้น World Class ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสนามบิน โรงแรม ที่พัก ร้านอาหาร โรงพยาบาล โรงเรียน international สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

S__26624106.jpg

อย่างไรก็ตามหากมองทั้ง Ecosystem ของการเป็นศูนย์กลางทางการเงินแล้ว นายกฯ กล่าวว่า Ecosystem ทั้งหมดนี้ ไม่ได้มีแค่ธนาคาร การลงทุน หลักทรัพย์ หรือ Virtual Bank เท่านั้น แต่ยังมีภาคบริการที่เป็น Professional Service อีกหลาย ๆ อย่างที่จะเติบโตไปด้วยกัน เช่น ที่ปรึกษากลยุทธ์ ที่ปรึกษากฏหมาย ที่ปรึกษาเทคโนโลยี และที่ปรึกษาการลงทุน เป็นต้น โดยนายกฯ ได้แสดงความมั่นใจว่าการที่ Ecosystem นี้เติบโตไปด้วยกัน นอกจากจะสร้างงานให้คนไทยได้ทำงานในบริษัทชั้นนำระดับโลกแล้ว ยังเป็นการเชื่อมต่อระหว่างภาคธุรกิจไทยไปยังตลาดโลก ผ่านองค์ความรู้ ความสามารถ และเครือข่าย (Network) ของบริษัท Professional Service เหล่านี้อีกด้วย

S__26624086.jpg

นายกฯเศรษฐา ย้ำ การเป็นศูนย์กลางทางการเงิน ไม่ใช่สร้างประโยชน์ให้กับธนาคารหรือสถาบันการเงินเพียงอย่างเดียว แต่คือกลยุทธ์ที่ประเทศไทยจะดึงดูดเงินทุน คนที่มีความรู้ความสามารถ ตลอดจนองค์ความรู้ให้เข้ามาอยู่ในประเทศ สร้างประโยชน์ให้กับเศรษฐกิจของโลกและประเทศไทย โดยนายกฯ ถือว่านโยบายนี้เป็นการเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจ โดยที่ไม่ต้องใช้งบประมาณลงทุน และมีผลตอบแทนมหาศาลต่อประเทศ และคุ้มค่าอย่างยิ่งต่อการเดินหน้าเต็มที่

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่