หน้าแรก Thai PBS (ว่าที่) รองประธานสภาคนที่ 1 “ภราดร” เจนใหม่ “ปริศนานันทกุล”

(ว่าที่) รองประธานสภาคนที่ 1 “ภราดร” เจนใหม่ “ปริศนานันทกุล”

22
0
(ว่าที่)-รองประธานสภาคนที่-1-“ภราดร”-เจนใหม่-“ปริศนานันทกุล”
(ว่าที่) รองประธานสภาคนที่ 1 “ภราดร” เจนใหม่ “ปริศนานันทกุล”

“แบต” ภราดร ปริศนานันทกุล เกิดที่ อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง เป็นบุตรชายของ สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล อดีต รมว.ศึกษาธิการ กับนางรวีวรรณ ปริศนานันทกุล (สกุลเดิม : ฉัตรบริรักษ์) จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาสถิติ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโททางด้านเศรษฐศาสตร์ จาก Warwick University ประเทศอังกฤษ

ภราดรเริ่มต้นชิมลางการเมืองด้วยการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น สส.จ.อ่างทอง คู่กับบิดา เมื่อ 23 ธ.ค.2550 และได้รับเลือกตั้งอีกสมัยในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ.2554 สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา

ในปี 2561 เขาได้ย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย และได้รับเลือกตั้งเป็น สส.อ่างทอง อีกสมัย และเลื่อนขั้นรับตำแหน่งโฆษกพรรคภูมิใจไทย ต่อมาในปี 2563 นายภราดร ได้รับเลือกเป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความเห็นของนักเรียน นิสิต และนักศึกษา และประชาชน สภาผู้แทนราษฎร

เขาเคยให้สัมภาษณ์กับสื่อไว้ว่า ตัวเขาเองต้องการเห็นรัฐธรรมนูญที่ทันสมัยและตอบโจทย์เรื่องปัญหาปากท้องของประชาชน เพราะในรัฐธรรมนูญไม่มีบทบัญญัติไหนที่เขียนไว้ถึงประโยชน์ของประชาชนเรื่องนี้ แต่ด้วยเงื่อนไขการร่วมรัฐบาลของพรรคภูมิใจไทย ต้องการแก้กฎหมายเพียงแค่มาตราเดียวท่านั้นคือ ม.256 ให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ให้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเท่านั้น แม้รู้ว่าไม่สามารถทำได้จริงทั้ง 100% แต่ก็ต้องยอมแลกเปลี่ยน 

เช่น หากต้องการให้ทั้งประเทศเป็น “รัฐสวัสดิการ” ให้กับประชาชนอย่างเต็มรูปแบบสมบูรณ์ แต่ต้องแลกมาด้วยการเก็บภาษี แม้การภาษีจะยึดหลักการมีมากจ่ายมาก มีน้อยจ่ายน้อย แต่คุณภาพชีวิตที่มีความเท่าเทียมกันทั้งด้านการศึกษา การเข้าถึงสาธารณสุข และการเข้าถึงแหล่งทุน คนทุกคนควรเข้าถึง

นอกจากนี้ ภราดร ยังมองว่า การทำการเมืองในชีวิตจริงนั้นช่างแตกต่างกับการเมืองในตำรา ที่ในตำราจะแบ่งสัดส่วน แบ่งหน้าที่ของแต่ละตำแหน่งอย่างชัดเจน แต่เมื่อย้อนมาดูในชีวิตจริง พบว่าเป็น “คนละเรื่อง” ในสายตาของชาวบ้านในต่างจังหวัด มักมองว่า สส. คือเทวดา ต้องแก้ไขทุกปัญหาให้กับพวกเขาได้ แต่ด้วยรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ตนเองมองว่าได้ลดทอนอำนาจของ สส. ไป และส่งผลให้การแก้ปัญหาให้ประชาชนนั้นไม่สัมฤทธิ์ผลเท่าที่ควร

อ่านข่าวอื่น :

29 วินาที! สถิติใหม่พันธบัตรรัฐบาล 10,000 ล้านหมดเกลี้ยง

5 อำเภอแม่ฮ่องสอนยังเสี่ยงฝนตกน้ำป่าหลากถึง 15 ส.ค.

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่