หน้าแรก Thai PBS กมธ.ถกสื่อปม “ประวิตร” คุกคาม – หามาตรการทำงานร่วมกัน

กมธ.ถกสื่อปม “ประวิตร” คุกคาม – หามาตรการทำงานร่วมกัน

53
0
กมธ.ถกสื่อปม-“ประวิตร”-คุกคาม-–-หามาตรการทำงานร่วมกัน
กมธ.ถกสื่อปม “ประวิตร” คุกคาม – หามาตรการทำงานร่วมกัน

วันนี้ (22 ส.ค.2567) คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชนและการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร นำโดยนายพริษฐ์ วัชรสินธุ ประธานกรรมาธิการ พิจารณาศึกษาแนวทางการทำงานของสื่อมวลชนในอนาคต หลังเกิดเหตุการณ์นักข่าวถูก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ สส.พรรคพลังประชารัฐ คุกคามขณะปฎิบัติหน้าที่

นายก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายข่าว สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กล่าวขอบคุณกรรมาธิการและเพื่อนสื่อมวลชนที่แสดงความเป็นห่วงต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ เนื่องจากนักข่าวที่ถูกกระทำมีสภาพจิตใจไม่ดี จากการสอบถามทราบว่าต้องการลืมเหตุการณ์นี้ โดยไม่ได้มีการแจ้งความดำเนินคดี ขณะที่ พล.อ.ประวิตร ได้โทรศัพท์มาขอโทษผู้สื่อข่าวแล้ว

เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่และองค์กรเห็นว่าการใช้มาตรการทางสภาฯ ในการตรวจสอบจริยธรรมเป็นช่องทางควรจะเป็น ไม่ใช่เรื่องบุคลต่อบุลคล แต่เป็นเรื่องของสถาบัน เชื่อว่ากระบวนการนี้จะนำไปสู่ทางที่คลี่คลายได้

นายก่อเขต ระบุว่า กลไกที่มีอยู่คือกฎหมายและองค์กรวิชาชีพได้ทำตามบทบาทหน้าที่ในการปกป้องผู้ประกอบวิชาชีพสื่อฯ พร้อมมองว่าแต่ละฝ่ายควรตระหนักถึงการทำหน้าที่ของตัวเองเพื่อประโยชน์สาธารณะและส่วนรวม

ขณะที่ น.ส.ภคมน หนุนอนันต์ สส.พรรคประชาชน ใรฐานะ กมธ. กล่าวว่า เหตุการณ์คุกคามสื่อเกิดขึ้นอย่างน้อย 3 ครั้งจากบุคคลเดิม วันนี้ (22 ส.ค.) จะหารือมาตรการการทำงานร่วมกันระหว่างนักการเมืองกับสื่อมวลชน เพื่อให้มีขอบเขตและคุ้มครองเสรีภาพของสื่อมวลชน ขณะที่นายวรายุทธ ทองสุข กมธ. ระบุเห็นด้วยว่าต้องหาทางออกปมสื่อถูกคุกคาม หลังเกิดมานานนับ 10 ปี พร้อมถามสื่อมวลชนว่าจะจัดการอย่างไรต่อกรณีดังกล่าว

ตัวแทนสื่อมวลชน น.ส.ฐปณีย์ เอียดศรีไชย ผู้ก่อตั้งเพจ The Reporter ระบุว่า การทำหน้าที่ของนักข่าวคนดังกล่าวเป็นการทำหน้าที่อย่างสุภาพ แต่มองเรื่องความปลอดภัยทางร่างกาย ท่ามกลางการทำหน้าที่ภายใต้สถานการณ์ที่กดดัน จึงต้องวางมาตรฐาน แม้จะไม่สามารถดำเนินคดีกับผู้กระทำได้ แต่ทุกคนต้องปกป้องศักดิ์ศรีของตัวเองและต้องการได้รับความเป็นธรรม รวมถึงการคุ้มครองในการทำหน้าที่ของผู้สื่อข่าว

นักข่าวที่ออกไปทำข่าวไม่มีอะไรที่คุ้มครองเราได้ แม้กระทั่งสิทธิในร่างกายที่เราถูกกระทำ บางทีเราไม่สามารถเรียกร้องในทางคดีอาญาเพราะมีหลายเหตุผลหลายปัจจัย แต่ส่วนตัวมองว่าไม่ควรมีเหตุผลแบบนั้นเพราะทำให้เรารู้สึกกลัว

น.ส.ฐาปณีย์ กล่าวอีกว่า เมื่อมีกรณีเกิดขึ้น แต่ละครั้งจะมีแถลงการณ์จากสมาคมนักข่าวออกมา ซึ่งกรณีนี้จะต้องถามกลับไปยังสภาผู้แทนราษฎร เกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรมที่สภาฯ จะหยิบยกขึ้นมาสร้างความตระหนักให้กับนักการเมืองในการปฏิบัติตน

ส่วนนายสเถียร วิริยะพรรณพงศา ผู้บริหาร PPTV กล่าวว่า นักข่าวภาคสนามยังคงต้องทำหน้าที่ในการสัมภาษณ์ พล.อ.ประวิตร จึงต้องหาวิธีปกป้องผู้สื่อข่าว เพราะเหตุการณ์คุกคามสื่อที่เกิดขึ้นครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก เพราะก่อนหน้านี้ก็เคยมีเหตุการณ์ปาเปลือกกล้วย ซึ่งนักข่าวก็รู้สึกเจ็บปวดกับเรื่องเช่นนี้ จึงต้องสร้างกลไกให้ต่างคนต่างเคารพสิทธิ์ต่อกัน ไม่ให้สื่อถูกกระทำความรุนแรง

ด้านนายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.พรรคประชาชน ในฐานะประธาน กมธ. ระบุว่า มีการยื่นเรื่องต่อประธานสภาฯ แล้ว ซึ่งตามประมวลจริยธรรมมีกรอบเวลาพิจารณา 60 วันและ กมธ.จะติดตามความคืบหน้า พร้อมเห็นว่าจะต้องสร้างวัฒนธรรมการรับผิดชอบทางการเมือง หรืออย่างน้อยที่สุดก็ควรออกมาขอโทษต่อที่สาธารณะ

นอกจากนี้ยังเปรียบกับต่างประเทศว่าหาก สส.กระทำการคุกคามจะต้องลาออก เพื่อแสดงความรับผิดชอบทางการเมือง พร้อมหวังว่าในอนาคตจะมีการกำกับจริยธรรมที่เข้มแข็งขึ้น

อ่านข่าว

ไทยพีบีเอส-ส.นักข่าวฯ ยื่นสภาสอบจริยธรรม “ประวิตร” คุกคามสื่อ

“วันนอร์” เผย กรณีสอบจริยธรรม “ประวิตร” ฝ่ายกฎหมายอยู่ระหว่างพิจารณา

“ประวิตร” ฉุนถูกสื่อถามกรณี “แพทองธาร” เป็นนายกฯ

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่