หน้าแรก Voice TV ‘สมศักดิ์’ เผย พ.ร.บ.สุขภาพจิต ประชาชนเห็นด้วยถึง 98% ส่วน พ.ร.บ. อสม. – ข้าราชการ สธ. รอ ครม.พิจารณา

‘สมศักดิ์’ เผย พ.ร.บ.สุขภาพจิต ประชาชนเห็นด้วยถึง 98% ส่วน พ.ร.บ. อสม. – ข้าราชการ สธ. รอ ครม.พิจารณา

47
0
‘สมศักดิ์’-เผย พรบสุขภาพจิต-ประชาชนเห็นด้วยถึง-98%-ส่วน-พรบ-อสม-–-ข้าราชการ-สธ-รอ-ครม.พิจารณา
‘สมศักดิ์’ เผย พ.ร.บ.สุขภาพจิต ประชาชนเห็นด้วยถึง 98% ส่วน พ.ร.บ. อสม. – ข้าราชการ สธ. รอ ครม.พิจารณา

‘สมศักดิ์’ รมว.สาธารณสุข เผย ความคืบหน้าร่างกฎหมายสำคัญ อาทิ ร่าง พ.ร.บ.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อยู่ระหว่างเสนอความเห็น ‘การจัดตั้งกองทุนหมุนเวียน’ ต่อ ครม. ส่วน ร่าง พ.ร.บ.สุขภาพจิต ประชาชนเห็นด้วยให้มี พ.ร.บ. และจัดตั้ง ‘กองทุนสุขภาพจิตแห่งชาติ’ ถึง 98%

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 8/2567 เมื่อวันที่ (4 กันยายน 2567) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี โดยมี นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และผู้บริหารกระทรวงเข้าร่วม 

นายสมศักดิ์ กล่าวในการประชุมว่า ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานต่างๆ อาทิ ร่างกฎหมายที่สำคัญ ได้แก่

– พ.ร.บ.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ซึ่งอยู่ระหว่างการเสนอความเห็นเกี่ยวกับ การจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนต่อคณะรัฐมนตรี และการพิจารณารายละเอียดตาม ม.25 พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังฯ (การไม่นำ เงินส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน)

– ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข อยู่ระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่พิจารณา 

– ร่างพ.ร.บ.สุขภาพจิต ผ่านขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นแล้ว โดยมีผู้แสดงความคิดเห็น 1,143 คน เห็นด้วยกับการจัดตั้งกองทุนสุขภาพจิตแห่งชาติ 97.99% และเห็นด้วยให้มี พ.ร.บ. 98.69% เตรียมจัดทำรายละเอียดข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเสนอพร้อมกับการขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ต่อไป

นายสมศักดิ์ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังได้รับทราบผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ หรือ ITA ซึ่งหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขผ่านเกณฑ์การประเมินถึง 94.12% และ มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นจาก 86.09 ในปี 2566 เป็น 89.01 ในปี 2567

โดยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีคะแนน ITA สูงสุด คือ 93.92 และรับทราบการพัฒนาระบบดิจิทัลเพื่อรายงานโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ทางระบาดวิทยา (Digital Disease Surveillance : DDS) ในรูปแบบ dashboard ซึ่งสามารถเข้าไปดูข้อมูลของพื้นที่และวิเคราะห์ข้อมูลได้ถึงระดับอำเภอ จัดทำรายงานสถานการณ์โรคได้อย่างสะดวกรวดเร็ว โดยมีการรายงานโรค  ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 จากโรงพยาบาลภาครัฐ ทั้งในสังกัดและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลเอกชน

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่