หน้าแรก Voice TV เลขานายกฯ เผยบทความ The Economist “Why is Thai health care so good?” ชื่นชมระบบสาธารณสุขไทย

เลขานายกฯ เผยบทความ The Economist “Why is Thai health care so good?” ชื่นชมระบบสาธารณสุขไทย

68
0
เลขานายกฯ-เผยบทความ-the-economist-“why-is-thai-health-care-so-good?”-ชื่นชมระบบสาธารณสุขไทย
เลขานายกฯ เผยบทความ The Economist “Why is Thai health care so good?” ชื่นชมระบบสาธารณสุขไทย

‘พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช’ เลขานายกฯ เผยบทความ The Economist “Why is Thai health care so good?” ชื่นชมระบบสาธารณสุขไทยมีประสิทธิภาพที่สุดในโลก รากฐานจากนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค

วันนี้ (13 กันยายน 2567) พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นิตยสารด้านเศรษฐกิจโลก The Economist ลงบทความเกี่ยวกับประเทศไทยหัวข้อ Why is Thai health care so good?

Screenshot 2024-09-13 132228.png

(https://www.economist.com/asia/2024/07/04/why-is-thai-health-care-so-good)

ชื่นชมระบบสาธารณสุขของไทย ระบุว่าระบบดูแลสุขภาพของไทยมีประสิทธิภาพมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาท ที่ริเริ่มครั้งใหญ่ นำมาใช้เมื่อปี 2545 ทั้งนี้ หลายประเทศต้องการนำนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทยไปใช้ 

โดยบทความระบุว่า ระบบสุขภาพไทยสามารถทำให้อายุโดยเฉลี่ยคนไทย คาดหวังว่าจะมีชีวิตอยู่ได้ถึง 80 ปี ซึ่งนานกว่าคนในภูมิภาค (ตัวเลขในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือ 73 ปี) ซึ่งมากกว่าคนอเมริกันและยุโรปโดยเฉลี่ยเล็กน้อย (ประมาณ 79 ปี) 

ซึ่งข้อมูลล่าสุดจากองค์การสหประชาชาติ ปีที่แล้ว (2566) ประชากร 99.5% ของประชากร 72 ล้านคนได้รับการคุ้มครองโดยประกันสุขภาพ โดยประเทศไทยประสบความสําเร็จในฐานะประเทศกําลังพัฒนาแม้มีรายได้ต่อคนอยู่ที่ประมาณ 7,000 ดอลลาร์ ซึ่งน้อยกว่ารายได้ของคนอเมริกา 11 เท่า 

The Economist อธิบายถึงประสิทธิภาพของนโยบายสาธารณสุขของไทยว่า รัฐบาลไทยในปี 2545 ริเริ่มครั้งใหญ่ ผลักดันให้ระบบประกันสุขภาพมุ่งเป้าไปที่คนยากจน โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นโครงการที่รัฐบาลให้การสนับสนุนเพื่อดูแลผู้ที่ทํางานนอกระบบ และทำงานเอกชน ซึ่งให้การดูแลสุขภาพแก่คนยากจน และจ่ายค่าธรรมเนียมเพียง 30 บาท (1 ดอลลาร์) ซึ่งมีการศึกษาอ้างอิงพบว่า ระหว่างปี 2543 – 2545 อัตราการเสียชีวิตของทารกลดลงอย่างมีนัยสําคัญ ซึ่งโครงการฯ ครอบคลุมการรักษาโรคที่หลากหลาย เน้นการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน รวมทั้งในปัจจุบันโครงการฯ ได้ขยายความครอบคลุมไปยังการรักษาโรคต่าง ๆ ด้วย ตั้งแต่โรคเอดส์ (HIV/AIDS) ไปจนถึงโรคไต

ซึ่งทำให้โครงการนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก ช่วยเพิ่มความนิยมให้กับนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น โดยเป็นนโยบายที่ไม่มีรัฐบาลใดกล้าที่จะแก้ไข แต่ขยายความครอบคลุมการรักษาโรคออกไป อีกประเด็นที่พิเศษคือ โครงการนี้ได้รับเงินทุนจากรายได้ภาษี แต่มีการควบคุมค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ หลายประเทศพยายามที่จะนำนโยบายหลักประกันสุขภาพของไทยไปใช้ โดยเมื่อต้นปีนี้ (2567) ซาอุดีอาระเบียได้ลงนามในข้อตกลงกับรัฐบาลไทยเพื่อร่วมมือในเรื่องสาธารณสุข รวมทั้ง คณะผู้แทนไทยได้เดินทางไปทั่วเอเชีย แอฟริกา และตะวันออกกลางเช่นกัน ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีความท้าทายที่คนไทยมากกว่า 1 ใน 5 มีอายุมากกว่า 60 ปี ซึ่งสร้างความท้าทายให้กับระบบสาธารณสุขและการเงินของรัฐบาล โดยรัฐบาลพยายามเพิ่มจำนวนแพทย์ในภาครัฐ ในขณะเดียวกันมีการเปิดตัวนโยบายอื่นๆ เฉพาะสําหรับผู้สูงอายุ อย่างไรก็ดี การดูแลสุขภาพของไทยอาจยังคงเป็นแบบอย่างของโลก

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่