หน้าแรก Voice TV ดีอี จับมือ กรมอุตุฯ เปิดศูนย์อำนวยการติดตามสถานการณ์ ‘พายุโซนร้อนซูลิก’ พร้อมแจ้งเตือนประชาชน 24 ชั่วโมง

ดีอี จับมือ กรมอุตุฯ เปิดศูนย์อำนวยการติดตามสถานการณ์ ‘พายุโซนร้อนซูลิก’ พร้อมแจ้งเตือนประชาชน 24 ชั่วโมง

37
0
ดีอี-จับมือ-กรมอุตุฯ-เปิดศูนย์อำนวยการติดตามสถานการณ์-‘พายุโซนร้อนซูลิก’-พร้อมแจ้งเตือนประชาชน-24-ชั่วโมง
ดีอี จับมือ กรมอุตุฯ เปิดศูนย์อำนวยการติดตามสถานการณ์ ‘พายุโซนร้อนซูลิก’ พร้อมแจ้งเตือนประชาชน 24 ชั่วโมง

‘ประเสริฐ’ เปิดศูนย์อำนวยการติดตามสถานการณ์ ‘พายุโซนร้อนซูลิก’ เพิ่มประสิทธิภาพรับมือภัยธรรมชาติ ‘อุตุนิยมวิทยา’ คาด 19-23 ก.ย.2567 ไทยมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้น พร้อมแจ้งเตือนประชาชน 24 ชั่วโมง

วันที่ 19 กันยายน 2567 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานเปิดศูนย์อำนวยการติดตามสถานการณ์พายุโซนร้อนซูลิก ณ ห้องปฏิบัติการพยากรณ์อากาศ ชั้น 11 อาคาร 50 ปี อุตุนิยมวิทยา โดยมีนางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ว่าที่ร้อยตรี ธนะสิทธิ์ เอี่ยมอนันชัย รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ฝ่ายบริหาร , นาวาตรี สมนึก สุขวณิช รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาฝ่ายปฏิบัติการ ร่วมกับศูนย์อุตุนิยมวิทยาภูมิภาค ทั้ง 5 ศูนย์ ประกอบด้วย ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จังหวัดขอนแก่น ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จังหวัดอุบลราชธานี ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก จังหวัดสงขลา และศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันตก จังหวัดภูเก็ต เพื่อรายงานสภาพอากาศในพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบและเตรียมพร้อมรายงานข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้อย่างทันท่วงที  

460653570_827741092867993_871966804523761252_n.jpg

โดยนายประเสริฐ กล่าวว่า การทำงานของศูนย์อำนวยการฯ จะมีการ Conference กับสถานีอุตุนิยมวิทยาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ ร่วมกันประเมินสถานการณ์ของพายุ เพื่อจะได้ข้อมูลช่วยในการประเมินสถานการณ์ให้มีความแม่นยำมากขึ้น 

นายประเสริฐ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 16 กันยายนที่ผ่านมา นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 312/2567 แต่งตั้งคณะกรรมคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยเฉพาะอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในประเทศไทย ชุดแรก เป็นคณะกรรมการอำนวยการและบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (คอส.) พร้อมทั้งจัดตั้ง ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เพื่อรับมือกับภัยพิบัติที่กำลังเกิดขึ้นในหลายจังหวัดทั่วประเทศ ทำหน้าที่เป็นหน่วยบัญชาการหลักในการประสานงานระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

ด้าน นางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยว่า กรมอุตุนิยมวิทยาได้จับตาพายุลูกนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2567 ได้ออกประกาศฉบับแรกแจ้งให้ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบและเฝ้าระวัง เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง พื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่ม ทั้งนี้ การเคลื่อนที่ของพายุดีเปรสชัน เมื่อเวลา 04.00 น.วันนี้ (19 กันยายน 2567) พายุกำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และคาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลางในช่วงวันที่ 19-20 กันยายน 2567 หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ ประกอบกับร่องมรสุมกำลังค่อนข้างแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นในช่วงวันที่ 19-23 กันยายน 2567 และมีฝนตกหนักถึงหนักมาก กับมีลมแรงในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง  

460435629_827741162867986_4603525127219627809_n.jpg

ในส่วนการดำเนินการเบื้องต้น จะมีเฝ้าระวัง และติดตามความเคลื่อนไหวของพายุโซนร้อนซูลิก ซึ่งกำลังคาดว่าจะเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลางในช่วงวันที่ 19-20 กันยายน 2567 นี้ หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ โดยจะมีผลกระทบต่อประเทศไทยทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรงในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ดังนั้นจึงขอแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มได้

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่