หน้าแรก Voice TV แจกเงินหมื่นฟื้นเศรษฐกิจได้จริง คลังชี้โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มเปราะบาง กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากได้อย่างทั่วถึง

แจกเงินหมื่นฟื้นเศรษฐกิจได้จริง คลังชี้โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มเปราะบาง กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากได้อย่างทั่วถึง

29
0
แจกเงินหมื่นฟื้นเศรษฐกิจได้จริง-คลังชี้โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มเปราะบาง-กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากได้อย่างทั่วถึง
แจกเงินหมื่นฟื้นเศรษฐกิจได้จริง คลังชี้โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มเปราะบาง กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากได้อย่างทั่วถึง

การกระจายตัวของกลุ่มเป้าหมายโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ ช่วง 25 27 และ 30 ก.ย.2567 ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตจากเศรษฐกิจฐานราก ผ่านกลุ่มคนเปราะบางได้อย่างทั่วถึง

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยการวิเคราะห์ข้อมูลโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ (โครงการฯ) ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายจำนวน 14.55 ล้านคน ระหว่างวันที่ 25-27 และ 30 กันยายน 2567 ในมิติของการกระจายตัว โดยมีรายละเอียดดังนี้

462066515_851929500460003_4351693450247571300_n.jpg

1. ภาพรวมการกระจายตัวกลุ่มเป้าหมายโครงการฯ จำนวน 14.55 ล้านคน แบ่งเป็นผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 12.40 ล้านคนและคนพิการ 2.15 ล้านคน โดยได้รับเงินคนละ 10,000 บาท ผ่านบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชนหรือช่องทางเดิมในการรับเงินเบี้ยความพิการ ตั้งแต่วันที่ 25-27 และ 30 กันยายน 2567 โดยเงินจำนวน 1.45 แสนล้านบาท ที่โอนให้กับผู้ได้รับสิทธิถูกกระจายสู่ภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ  อย่างทั่วถึง ซึ่งนอกจากช่วยแบ่งเบาภาระค่าครองชีพจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันแล้วยังสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจทั่วประเทศไปพร้อม ๆ กัน โดยพบว่า

ภาคที่มีจำนวนผู้ได้รับสิทธิมากที่สุด ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (5.8 ล้านคน) รองลงมา ได้แก่ ภาคเหนือ (3.3 ล้านคน) ภาคใต้ (2.2 ล้านคน) กรุงเทพฯ และปริมณฑล (1.0 ล้านคน) ภาคตะวันตก (0.75 ล้านคน) ภาคตะวันออก (0.73 ล้านคน) และภาคกลาง (0.62 ล้านคน) 

จังหวัดที่มีจำนวนผู้ได้รับสิทธิมากที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ จ.นครราชสีมา (5.4 แสนคน) จ.อุบลราชธานี (4.4 แสนคน) จ.ศรีสะเกษ (4.0 แสนคน) จ.เชียงใหม่ (3.9 แสนคน) และ จ.บุรีรัมย์ (3.7 แสนคน) 

จังหวัดที่มีจำนวนผู้ได้รับสิทธิน้อยที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ จ.ระนอง (2.7 หมื่นคน) จ.ภูเก็ต (2.8 หมื่นคน) จ.ตราด (3.1 หมื่นคน) จ.สมุทรสงคราม (3.3 หมื่นคน) และ จ.พังงา (4.2 หมื่นคน)

2. หากพิจารณาเฉพาะผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 12.40 ล้านคน จะพบว่า จังหวัดที่มีจำนวนผู้ได้รับสิทธิมากที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ จ.นครราชสีมา (5.3 แสนคน) กรุงเทพฯ (4.4 แสนคน) จ.อุบลราชธานี (4.3 แสนคน) จ.เชียงใหม่ (3.9 แสนคน) และ จ.ศรีสะเกษ (3.8 แสนคน) 

จังหวัดที่มีจำนวนผู้ได้รับสิทธิน้อยที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ จ.ระนอง (2.7 หมื่นคน) จ.ภูเก็ต (2.8 หมื่นคน) จ.ตราด (3.1 หมื่นคน) จ.สมุทรสงคราม (3.3 หมื่นคน) และ จ.พังงา (4.2 หมื่นคน) และหากพิจารณาเฉพาะคนพิการ 2.15 ล้านคน จะพบว่า จังหวัดที่มีจำนวนผู้ได้รับสิทธิมากที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ กรุงเทพฯ (9.9 หมื่นคน) จ.นครราชสีมา (8.5 หมื่นคน) จ.บุรีรัมย์ (6.8 หมื่นคน) จ.อุบลราชธานี (6.2 หมื่นคน) และ จ.ขอนแก่น (5.9 หมื่นคน) 

จังหวัดที่มีจำนวนผู้ได้รับสิทธิน้อยที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ จ.ระนอง (3.9 พันคน) จ.ตราด (4.5 พันคน) จ.สมุทรสงคราม (6.1 พันคน) จ.ภูเก็ต (6.8 พันคน) และ จ.สิงห์บุรี (7.0 พันคน)

3. เมื่อพิจารณาข้อมูลในระดับตำบล พบว่าเงินจำนวนดังกล่าวกระจายไปถึงผู้ได้รับสิทธิครบทุกตำบลทั่วประเทศ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคใต้ และในกรุงเทพฯ ซึ่งพื้นที่เหล่านี้มีจำนวนผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการกระจายตัวอยู่เป็นวงกว้าง สะท้อนว่า การกระตุ้นเศรษฐกิจให้ความสำคัญกับการเติบโตจากเศรษฐกิจฐานรากผ่านกลุ่มคนเปราะบางได้อย่างทั่วถึง (Inclusive)

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่