หน้าแรก Voice TV ‘ดีอี’ เดินหน้า 4 ภารกิจขับเคลื่อน ‘นโยบายเศรษฐกิจ-สังคมดิจิทัล’ ผลักดันไทยสู่ Digital Hub เร่งวางระบบ e-Document

‘ดีอี’ เดินหน้า 4 ภารกิจขับเคลื่อน ‘นโยบายเศรษฐกิจ-สังคมดิจิทัล’ ผลักดันไทยสู่ Digital Hub เร่งวางระบบ e-Document

34
0
‘ดีอี’-เดินหน้า-4-ภารกิจขับเคลื่อน-‘นโยบายเศรษฐกิจ-สังคมดิจิทัล’ ผลักดันไทยสู่-digital-hub-เร่งวางระบบ-e-document
‘ดีอี’ เดินหน้า 4 ภารกิจขับเคลื่อน ‘นโยบายเศรษฐกิจ-สังคมดิจิทัล’ ผลักดันไทยสู่ Digital Hub เร่งวางระบบ e-Document

‘ดีอี’ เดินหน้า 4 ภารกิจขับเคลื่อน ‘นโยบายเศรษฐกิจ-สังคมดิจิทัล’ ผลักดันไทยสู่ Digital Hub เร่งวางระบบ e-Document หน่วยงานภาครัฐ อำนวยความสะดวก-ดูแลประชาชน

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจคถและสังคม (ดีอี) เป็นประธานการประชุมผู้บริหารกระทรวงดีอี (Top Executives) ครั้งที่ 12/2567 โดยมีศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดีอี นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดีอี นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ รองปลัดกระทรวงดีอี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัล เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 801 ชั้น 8 อาคารสำนักงานใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT และผ่านระบบ Video Conference

นายประเสริฐ กล่าวว่า จากการหารือร่วมกับ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีข้อสั่งการให้กระทรวงดีอี ดำเนินการขับเคลื่อนการใช้งานระบบ e-Document ในหน่วยงานภาครัฐ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกด้านการให้บริการประชาชน ซึ่งปัจจุบันกระทรวงดีอี ได้ดำเนินการบูรณาการการใช้งานระบบ e-Document ร่วมกับหน่วยงานรัฐในหลายภาคส่วนด้วยกัน 

ขณะเดียวกันนายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำให้หน่วยงานต่างๆ ให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ ให้กับประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัย ซึ่งในส่วนของกระทรวงดีอี ขอให้กรมอุตุนิยมวิทยาดูแลเรื่องของการแจ้งเตือนภัย และขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดูแลเรื่องของสัญญาณการสื่อสารให้สามารถใช้งานได้ปกติในทุกพื้นที่ ซึ่งขณะนี้ขอให้เฝ้าระวังเหตุอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ที่กำลังเข้าสู่ช่วงฤดูมรสุม 

นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการเตรียมความพร้อมและพัฒนาระบบแอปพลิเคชัน ‘ทางรัฐ’ เพื่อใช้เป็นแอปพลิเคชันหลัก (ซุปเปอร์แอปฯ) รองรับการให้บริการต่างๆ ที่ภาครัฐจะให้บริการกับประชาชนอย่างครอบคลุม อาทิ การใช้งานด้านสิทธิสวัสดิการต่างๆ หรือการใช้งานตามมาตรการเยียวยาในสถานการณ์อุทกภัยหรือเหตุการณ์ต่างๆ 

ทั้งนี้ในการประชุมหารือร่วมกับผู้บริหารกระทรวงดีอี มีวาระสำคัญในการร่วมพิจารณา 4 ประเด็นสำคัญ ได้แก่

1.ความพร้อมการเป็นเจ้าภาพการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล (ADGMIN) ประเทศไทยจะรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล (ASEAN Digital Ministers Meeting: ADGMIN) ครั้งที่ 5 ในช่วงวันที่ 13 – 17 มกราคม 2568 ซึ่งเป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน ประกอบด้วยประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ สำนักเลขาธิการอาเซียน ร่วมด้วยติมอร์-เลสเต ในฐานะผู้สังเกตการณ์ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือด้านดิจิทัล การดำเนินการตามแผนแม่บท ASEAN Digital Masterplan 2025 

นอกจากนี้ยังมีการประชุม ADGMIN ร่วมกับคู่เจรจา ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี สหรัฐอเมริกา อินเดีย และสหภาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union: ITU) เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นที่สำคัญด้านความร่วมมือด้านดิจิทัล การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รวมถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่เพื่อสนับสนุนด้านเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล 

2. การเชื่อมโยงระบบข้อมูลสุขภาพโครงการ ’30 บาท รักษาทุกที่’ ในพื้นที่ กทม. โดยสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) หรือ BDI เป็นผู้ดำเนินการในการพัฒนาและขับเคลื่อนแพลตฟอร์มกลางในการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพระหว่างหน่วยงาน ผ่านแพลตฟอร์ม Health Link เพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพของประชาชนที่ใช้บริการในหน่วยบริการของกทม. หน่วยบริการในสังกัด สปสช. ร้านยา และคลินิกชุมชน จำนวน 1,564 แห่ง สอดรับกับนโยบายรัฐบาล ’30 บาทรักษาทุกที่’ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว

สำหรับการเชื่อมโยงระบบระหว่างหน่วยงานให้บริการสุขภาพดังกล่าวทจะสามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพของประชาชน เพื่อเพิ่มความสะดวกในการให้บริการประชาชน เพิ่มความแม่นยำในการตรวจวินิจฉัยรักษาโรคของแพทย์ การจ่ายยารักษาโรคที่ตรงตามใบสั่งยาจากแพทย์ ปัจจุบันหน่วยงานที่สังกัด สปสช. ส่วนใหญ่มีการเชื่อมโยงระบบ Health Link สำเร็จแล้ว 

3.โครงการแพลตฟอร์มข้อมูลอัจฉริยะด้านท่องเที่ยวแห่งชาติ (National Tourism Intelligent Data Platform: Travel Link)

โดยสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) หรือ BDI ได้ดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ เชื่อมโยงข้อมูล ตลอดจนวิเคราะห์ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว และแสดงผลข้อมูลเชิงลึกในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการใช้ประโยชน์ข้อมูลในการวางแผนนโยบายด้านการท่องเที่ยวของภาครัฐ และการตัดสินใจทางธุรกิจและการตลาดด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทย โดยมี 4 พื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดพังงา และพื้นที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า ความต้องการของภาครัฐและภาคธุรกิจ ต้องการมากที่สุด คือ พฤติกรรมการเคลื่อนตัวของนักท่องเที่ยว 

ทั้งนี้โครงการ Travel Link ได้ดำเนินวิเคราะห์พฤติกรรมนักท่องเที่ยวจากข้อมูลเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ เพื่อเผยแพร่ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการใช้ผลการวิเคราะห์สำหรับงานด้านนโยบาย ผ่านการแสดงผลในรูปแบบรายงาน (Report) ที่จะทำให้เกิดการใช้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวในประเทศ โดยปัจจุบันได้มีการนำข้อมูลเสาสัญญาณมือถือในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดพังงา มาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลประชากรที่เข้ามาในพื้นที่ ซึ่งทำให้สามารถวิเคราะห์ผลการกระจายตัว การเดินทาง ระยะเวลาการอยู่หรือพำนักในพื้นที่ การท่องเที่ยวเมืองรอง ของนักท่องเที่ยวที่มาจากจังหวัดอื่น ๆ นอกพื้นที่ที่สนใจได้ในระดับรายวัน ก่อนขยายผลไปในระดับชั่วโมง โดยขณะนี้เริ่มดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมแล้วใน 2 จังหวัดคือ นครราชสีมาและพังงา

4. ความคืบหน้าการเตรียมจัดงาน The Global Forum on the Ethics of Artificial Intelligence in 2025 รัฐบาลไทย โดย กระทรวงดีอี (สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงการต่างประเทศ (กต..) และ ยูเนสโก (UNESCO) เตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดงาน ซึ่งจะจัดขึ้นประมาณเดือนมิถุนายน 2568 โดยในเดือนตุลาคม 2567 นี้จะมีการเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบให้มีการลงนาม Host Country Agreement

 สำหรับงาน The Global Forum on the Ethics of AI in 2025 ประเทศไทย จัดขึ้นภายใต้แนวคิด ‘AI Governace in Action’ เพื่อต่อยอดแพลตฟอร์ม และข้อเสนอแนะ AI Ethics Recommendation ของยูเนสโก ไปสู่การปฏิบัติ โดยมุ่งพัฒนาศักยภาพของบุคลากร AI โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งคาดว่าภายในงานจะมีรัฐมนตรี เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จาก 70 ประเทศ กว่า 800 คนเข้าร่วม 

“การประชุมผู้บริหารฯ ได้ครั้งนี้ เป็นการติดตามภารกิจการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญของกระทรวงดีอี ทั้งในระดับโลก ภูมิภาคอาเซียน และภายในประเทศ เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล การพัฒนาทักษะทรัพยากรบุคคลดิจิทัล ด้าน AI การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมเพื่อใช้สนับสนุนในภาคธุรกิจเศรษฐกิจดิจิทัล การใช้งานและการสร้างความเชื่อมั่นในการใช้งานดิจิทัลในชีวิตประจำวันของประชาชน ซึ่งเป็นไปตามการมุ่งมั่นส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของรัฐบาล เพื่อการก้าวสู่การเป็น Digital Hub ของภูมิภาค ” นายประเสริฐ กล่าว

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่