หน้าแรก Voice TV ‘ดีอี’ ล้างบาง SMS แนบลิงก์หลอกลวง-ดูดเงินประชาชน วางมาตรการจัดระเบียบ สั่งลงทะเบียน ‘Sender Name’ ทั้งระบบ

‘ดีอี’ ล้างบาง SMS แนบลิงก์หลอกลวง-ดูดเงินประชาชน วางมาตรการจัดระเบียบ สั่งลงทะเบียน ‘Sender Name’ ทั้งระบบ

4
0
‘ดีอี’-ล้างบาง-sms-แนบลิงก์หลอกลวง-ดูดเงินประชาชน-วางมาตรการจัดระเบียบ-สั่งลงทะเบียน-‘sender-name’-ทั้งระบบ
‘ดีอี’ ล้างบาง SMS แนบลิงก์หลอกลวง-ดูดเงินประชาชน วางมาตรการจัดระเบียบ สั่งลงทะเบียน ‘Sender Name’ ทั้งระบบ

‘ดีอี’ ล้างบาง SMS แนบลิงก์หลอกลวง-ดูดเงินประชาชน วางมาตรการจัดระเบียบ สั่งลงทะเบียน ‘Sender Name’ ทั้งระบบ พร้อมกำหนด ‘ผู้ให้บริการ’ ตรวจสอบลิงก์ก่อน หากพบผิดปกติแจ้ง ‘ตำรวจ’ เอาผิดตามกฎหมาย

วันที่ 23 ตุลาคม 2567 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยว่า กระทรวงดีอี ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งมาตรการป้องกันและปราบปรามการก่ออาชญากรรมออนไลน์ โดยเฉพาะกรณีของ SMS แนบลิงก์หลอกลวงจากการก่ออาชญากรรมออนไลน์ของมิจฉาชีพ ที่ผ่านมา พบว่ามีการใช้ช่องทางของ SMS หรือข้อความแนบลิงก์ ในโทรศัพท์มือถือของประชาชนเป็นจำนวนมาก โดยลิงก์ดังกล่าว อาจเป็นช่องทางที่มิจฉาชีพใช้ในการติดตั้งระบบดึงข้อมูลส่วนบุคคล หรือดูดเงินในบัญชีของประชาชน ซึ่งสร้างผลกระทบและความเสียหายให้กับประชาชน กระทรวงดีอี จึงร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคม เร่งดำเนินมาตรการป้องกันการส่ง SMS แนบลิงก์หลอกลวง ดังนี้

1. การลงทะเบียน Sender Name ใหม่ทั้งระบบ ภายในปี 2567 นี้ และต้องมีการลงทะเบียนทุกๆ ปี เพื่อให้สามารถระบุว่า ผู้ให้บริการ และ ผู้ส่ง SMS คือใคร 

2. มาตรการความปลอดภัยสำหรับการส่ง SMS แนบลิงค์ ดังนี้ 

2.1 ผู้ส่งข้อความ (Sender Name) SMS แนบลิงก์ จะต้องลงทะเบียนกับผู้ให้บริการเครือข่ายทุกครั้ง 

2.2 สำหรับการลงทะเบียนการส่ง SMS แนบลิงก์ จะต้องระบุรายละเอียดของข้อความ และลิงก์ เพื่อให้ ผู้ให้บริการเครือข่าย ตรวจสอบลิงก์ ก่อนที่จะส่ง SMS ไปยังผู้ใช้บริการ (End user) 

2.3 หากกรณีที่มีการตรวจพบ ข้อความแนบลิงก์หลอกลวง ข้อความแนบลิงก์ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน หรือ ข้อความอื่นที่สามารถใช้เป็นช่องทางในการติดต่อถึงบุคคลอื่น เช่น ไอดี Line 

ทั้งนี้มอบหมายให้ตำรวจดำเนินการ โดยใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ.2566 โดยให้ดำเนินการแจ้งผู้ให้บริการเครือข่ายยกเลิกสัญญาบริการกับผู้ส่งข้อความ (Sender Name) และผู้ให้บริการต้องแจ้งข้อมูลการลงทะเบียนของผู้ส่งข้อความให้กับทางตำรวจเพื่อดำเนินคดีตากฎหมายกับผู้ส่งข้อความต่อไป

“สำหรับมาตรการ Cleansing Sender Name ดังกล่าวจะเป็นการป้องกันและปราบปรามมิจฉาชีพในการส่งข้อความ SMS แนบลิงก์หลอกลวงเพื่อใช้ในการติดตั้งระบบดูดเงิน หรือข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะช่วยลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับประชาชนได้เป็นจำนวนมาก โดยกำหนดลงทะเบียนให้ผู้ส่งข้อความจบภายในปี 2567 นี้” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอี กล่าว 

นายประเสริฐ ย้ำว่า กระทรวงดีอีห่วงใยพี่น้องประชาชน โดยขอให้ตรวจสอบอย่างละเอียด หากมีการส่ง SMS แนบลิงก์ เข้ามาจากผู้ส่งข้อความ (เบอร์โทร) ที่น่าสงสัย หากมีการแอบอ้างในข้อความว่าเป็นหน่วยงานรัฐ เจ้าหน้าที่รัฐ หรือธนาคาร ขอให้ตั้งข้อสังเกตว่าหน่วยงานราชการ และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจต่างๆ ไม่มีนโยบายในการให้ ข้าราชการ พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ ส่ง SMS ผ่านเบอร์โทรส่วนตัวถึงประชาชน

โดยหากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามผ่านสายด่วน 1111 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมกันนี้ขอให้ประชาชน ยึด ‘หลัก 4 ไม่ คือ 

1. ไม่กดลิงก์ 

2.ไม่เชื่อ 

3.ไม่รีบ 

4.ไม่โอน’

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่