หน้าแรก Thai PBS “แพทองธาร” ขอโทษคดีตากใบ-ชี้ไม่เข้าเกณฑ์ออกพ.ร.ก.

“แพทองธาร” ขอโทษคดีตากใบ-ชี้ไม่เข้าเกณฑ์ออกพ.ร.ก.

6
0
“แพทองธาร”-ขอโทษคดีตากใบ-ชี้ไม่เข้าเกณฑ์ออกพรก.
“แพทองธาร” ขอโทษคดีตากใบ-ชี้ไม่เข้าเกณฑ์ออกพ.ร.ก.

วันนี้ (24 ต.ค.267) น.ส.แพทองธาร​ ชินวัตร​ นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีคดีตากใบที่จะหมดอายุความวันที่ 25 ต.ค.ว่า เรื่องตากใบเกิดขึ้นมาเกือบ 20 ปีแล้ว ที่ผ่านมาได้กลับดูข้อมูลตัวเลข และตัวเองเห็นเหตุการณ์รู้สึกเสียใจกับผู้ที่ได้รับผลกระทบ

ซึ่งในหลายรัฐบาลที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร หรือสมัยพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี รวมถึงน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ออกมาแสดงความเสียใจและขอโทษต่อเหตุการณ์นี้ มีการชดเชยจ่ายค่าเยียวยาไปแล้ว

ในฐานะนายกรัฐมนตรี วันนี้ก็รู้สึกเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างมากและขอโทษในนามของรัฐบาลด้วย ก็จะทำให้ดีที่สุดไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า ส่วนประเด็นเรื่องของตัวกฎหมาย ไม่ได้นิ่งนอนใจ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา ก็มีการส่งคำถามไปถึงคณะกรรมการกฤษฎีกา ในตอนแรกที่มีเรื่องคดีนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยรัฐบาลก็ไม่ได้นิ่งนอนใจเร่งรัดเรื่องนี้ในกระบวนการต่างๆ ที่จำเป็นทุกอย่าง

เมื่อเช้านี้ได้คุยกันเรื่องผลสรุปต่าง ๆ ก็ได้ถามว่ากฎหมายจะทำอย่างไรได้บ้าง โดยเฉพาะการออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ซึ่งตามรัฐธรรมนูญ ทางกฤษฎีกาเห็นว่า กรณีนี้ไม่เข้าหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก) เพื่อต่ออายุความในคดีสลายการชุมนุม

ในส่วนเนื้อหาต่ออายุความ เป็นการเฉพาะไม่ได้มุ่งขยายอายุความทั่วไป จึงไม่สอดคล้องกับมาตรา 26 วรรค 2 และอาจเป็นการเลือกปฏิบัติ ดังนั้นจึงไม่เข้าเกณฑ์ในการออก พ.ร.ก.ตามรัฐธรรมนูญ 

สุดท้ายนี้ก็ขอให้ทุกคนตระหนักถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นนี้ ก็ไม่อยากให้มันเกิดขึ้นอีก อยากให้เกิดเหตุการณ์ที่สงบสุข ไม่อยากให้ทุกฝ่ายต้องเกิดความขัดแย้ง ซึ่งกันและกัน ก็ขอให้ทุกคน พยายามอย่างเต็มที่ในเรื่องนี้ รัฐก็พยายามอย่างเต็มที่เช่นเดียวกัน

เหตุความรุนแรงในพื้นที่อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี

เหตุความรุนแรงในพื้นที่อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี

นายฉัตรชัย บางชวด เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (มสช.)  กล่าวว่า ได้ชี้แจงในเชิงนโยบายต่อที่ประชุม กมธ.ส่วนเรื่องความคืบหน้าทางคดี มีหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบอยู่ ซึ่งถึงการทำงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ต้องขับเคลื่อนไปตามนโยบายรัฐบาล โดยเฉพาะกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข ที่จะต้องดำเนินต่อไป เพื่อคลี่คลายปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่

ทั้งนี้กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข ถือเป็นนโยบายหลักในการบริหารและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่รัฐบาลจะเดินหน้าต่อไปอยู่แล้ว ส่วนรูปแบบ จะเป็นอย่างไรต้องติดตามต่อไป ทั้งนี้จะได้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะพูดคุยหรือไม่ก็ต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาลด้วยเช่นกัน

ส่วนกรณีที่คดีตากใบ หมดอายุความจะกระทบต่อกระบวนการพูดคุยสันติสุขหรือไม่นั้น เลขาธิการ สมช.ระบุว่า 2 เรื่องนี้อาจจะมีความเชื่อมโยงกัน แต่ก็ต้องแยกกัน โดยคดีตากใบต้องเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมในระบบ ส่วนการพูดคุย เป็นเรื่องในเชิงบวกอยู่แล้ว ต้องดำเนินการให้ต่อเนื่องกันต่อไป เพื่อให้เกิดบรรยากาศที่ผ่อนคลาย และนำไปสู่การลดความรุนแรงพื้นที่

เชื่อมั่นว่า กระบวนการพูดคุยจะเป็นช่องทางหนึ่งที่สามารถช่วยคลี่คลายปัญหาได้ แต่ต้องรอข้อสั่งการจากทางรัฐบาล และการเตรียมทีมงานทำหน้าที่คณะพูดคุย 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่