หน้าแรก Thai PBS “ตากใบ” กระบวนการยุติธรรมที่สูญหาย

“ตากใบ” กระบวนการยุติธรรมที่สูญหาย

37
0
“ตากใบ”-กระบวนการยุติธรรมที่สูญหาย
“ตากใบ” กระบวนการยุติธรรมที่สูญหาย

วันนี้ (24 ต.ค.2567) นาง ประธานกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองการมีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิมนุษยชน สิทธิ เสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา และอดีตผู้เชี่ยวชาญสหประชาชาติ กล่าวถึงกรณีคดีตากใบ ที่จะหมดอายุความในวันที่ 25 ต.ค.นี้ ว่า ตลอด 20 ปีที่ผ่านมาชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ได้ติดตาม เรียกร้องความเป็นธรรมมาตลอด ชาวบ้านได้มาหาคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตั้งแต่ชุดที่ 1 จนถึงปัจจุบัน และทาง กมธ.ได้พยายามหาความเป็นธรรมให้กับคนที่เสียชีวิตมาตลอด

อ่านข่าว : ไทม์ไลน์แห่งความเจ็บปวด “ตากใบ” กับ 85 ชีวิตที่ไร้คนรับผิดชอบ

วันนี้ค่อนข้างประหลาดใจความเห็นของกฤษฎีกาที่มองว่าไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนต่อความมั่นคง ทั้งที่เรื่องนี้เกี่ยวพันโดยตรงต่อความสงบเรียบร้อยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นการการปฏิบัติงานของรัฐที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน

อีกทั้งกฤษฎีกายังระบุว่าขัดต่อกฎหมายอาญาสากล ซึ่งในความเป็นจริงกฤษฎีกาควรมองหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เพราะประเทศไทยเองเป็นภาคีอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนหลายฉบับ และคดีที่การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่มีผู้เสียหายจำนวนมากต้องเป็นคดีที่ไม่มีอายุความ

อ่านข่าว : เปิดเอกสารกฤษฎีกา ตอบปมตราพ.ร.ก.”คดีตากใบ” ไม่เข้าเกณฑ์รัฐธรรมนูญ

ทั้งนี้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติแถลงการณ์ โดยระบุว่า อายุความของคดีต้องไม่ปฏิเสธความยุติธรรมที่มีต่อครอบครัวของผู้เสียชีวิตจากกรณีตากใบ ครอบครัวของผู้เสียหายต่างรอคอยเป็นเวลาเกือบสองทศวรรษเพื่อความยุติธรรม เราเรียกร้องให้รัฐบาลกระทำการอย่างเร่งด่วนเพื่อมิให้เกิดความล่าช้าของการรับผิดรับชอบอีกต่อไป และเพื่อให้สิทธิการรับรู้ความจริง ความยุติธรรม และการเยียวยาได้รับการเคารพ

การชดใช้เยียวยาให้เงินเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเยียวยาความยุติธรรมด้วย

อ่านข่าว : ตัวแทนสหประชาชาติหวั่น “คดีตากใบ” สูญเปล่าเมื่อขาดอายุความ

อังคณา นีลไพจิตร

อังคณา นีลไพจิตร

20 ปีที่หายไป

สังเกตว่าหลังจากที่ศาลมีคำสั่งไต่สวน 2552 -2567 เกือบ 15 ปีที่ไม่มีการดำเนินการอะไร ซึ่งอัยการไม่เฉลียวใจที่พนักงานไม่ส่งสำนวน ในคดีที่มีผู้เสียชีวิต 85 คน ระหว่างการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ อัยการไม่เคยเร่งรัดคดี 15 ปีหายไปไหน รัฐไม่ได้ดำเนินการอะไรเลย

นางอังคณา ยังระบุว่าจากเหตุการณ์นี้ทำให้เห็นว่ามีการเลือกปฏิบัติในการใช้กฎหมาย เมื่อเจ้าหน้าที่กระทำผิดเจ้าหน้าที่ไม่เคยได้รับโทษ แม้แต่การนำเจ้าหน้าที่ขึ้นสู่กระบวนการยุติธรรมยังเป็นไปได้ยาก แต่เมื่อประชาชนกระทำผิดกลับต้องรับโทษ เป็นความเหลื่อมล้ำในการปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก และถือว่าเป็นการเยียวยาที่สำคัญที่สุดตามหลักสากล

โดยการตีความตามตัวอักษรของกฤษฎีกาตีไม่ใช้ข้อเท็จจริงมาเป็นดุลยพินิจในการตีความด้วย ทั้งที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงกับสถานการณ์ความเปราะบาง จึงเป็นข้ออ้างที่ทำให้ไม่สามารถออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ได้ นางอังคณาระบุว่ากรณีนี้ต้องแยกกันระหว่างคดีอาญาปกติ กับคดีละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรง ซึ่งกฎหมายสิทธิมนุษยชนมองเรื่องนี้ต่างกัน อาญาปกติก็ต้องมีอายุความ แต่กฎหมายสิทธิมนุษยชนระบุชัดเจนว่า กรณีที่รัฐเป็นผู้ละเมิดและทำให้เกิดเกิดการสูญเสียของประชาชนผู้คนจำนวนมาก กฎหมายเหล่านี้ไม่มีอายุความ

แนวทางสู้ต้องหลังออก พ.ร.ก.เป็นไปไม่ได้

กลไกระหว่างประเทศ ยังมีอำนาจศาลระหว่างประเทศ Universal Jurisdiction ซึ่งในประเทศสหภาพยุโรปให้กฎหมายนี้อยู่ในหลายประเทศซึ่งหากผู้ต้องหาอยู่ในประเทศ รัฐบาลอังกฤษอาจไม่ส่งตัวผู้ต้องหากลับมา กรณีที่ศาลไทยส่งข้อกล่าวหาไปให้ รัฐบาลอังกฤษสามารถนำตัวผู้ต้องหาขึ้นศาลอังกฤษ และใช้กฎหมายอังกฤษในการพิจารณาตัดสินได้ เช่นเดียวกันหากมีการร้องเรียนจากญาติ หรือผู้มีส่วนได้เสีย อำนาจศาลระหว่างประเทศสามารถพิจารณา และไม่อนุญาตให้เข้าประเทศ

นอกจากนี้นางอังคณา ระบุว่ารู้เสียใจที่นายกรัฐมนตรี ระบุทำนองว่าไม่มีทางทำอะไรแล้ว รัฐบาลทำเต็มที่ เยียวยาแล้ว ซึ่งสิ่งที่นายกรัฐมนตรีแสดงความเห็นอกเห็นใจ สิ่งที่น่าจะทำมากที่สุดคือ อยากให้นายกรัฐมนตรีได้ลงพื้นที่ไปพูดคุยกับคนที่เป็นแม่ ที่ต้องสูญเสียลูก คนพิการจากเหตุการณ์ดังกล่าว ว่าผ่านมา 20 ปี ต้องเผชิญกับอะไรบ้างโดยเฉพาะความทนทุกข์ทรมานทางจิตใจ ซึ่งตนยินดีที่จะพาไป และไปฟังเสียงของชาวบ้านจริงๆ และทำอย่างไรที่จะช่วยเหลือเพื่อให้ได้รับความยุติธรรม

20 ปีต้องไม่สูญเปล่า

นางอังคณา กล่าวว่าถ้าสุดท้ายแล้วคดีหมดอายุความ รัฐบาลมีหน้าที่สำคัญต้องมีการปรับปรุงกฎหมายให้คดีละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรงต้องไม่มีอายุความ รวมทั้งแก้ไขนิยามคำว่า “ผู้เสียหาย” ให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.อุ้มหาย และสร้างกลไกป้องกันโดยการมีกฎหมายว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรงต้องไม่มีอายุความรวมถึงการให้สัตยาบันว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ

เพื่อไม่ให้ 20 ปีต้องสูญเปล่า

อ่านข่าว :

บาดแผล “ตากใบ” สิ้นอายุความตามกฎหมาย ไม่หมดอายุทางสังคม

“แพทองธาร” ขอโทษคดีตากใบ-ชี้ไม่เข้าเกณฑ์ออก พ.ร.ก.

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่