หน้าแรก Thai PBS สภาฯ ร้อนฉ่า! เพื่อไทยเสียงแตกโหวตคว่ำนิรโทษกรรม 112

สภาฯ ร้อนฉ่า! เพื่อไทยเสียงแตกโหวตคว่ำนิรโทษกรรม 112

36
0
สภาฯ-ร้อนฉ่า!-เพื่อไทยเสียงแตกโหวตคว่ำนิรโทษกรรม-112
สภาฯ ร้อนฉ่า! เพื่อไทยเสียงแตกโหวตคว่ำนิรโทษกรรม 112

คดีอ่อนไหว ตามรายงานฉบับนี้ คือ คดีอาญามาตรา 110 และ มาตรา 112 เพราะ สส. ส่วนหนึ่งชี้ว่า “เห็นด้วย” กับข้อสังเกตอาจเท่ากับ “นิรโทษกรรมคดีอาญา มาตรา 112” จึง “โหวตคว่ำ” 270 ต่อ 149 เสียง ท่ามกลางข้อสังเกต สส.พรรคเพื่อไทย เป็นส่วนหนึ่งของการ “โหวตคว่ำ” ด้วย 

ประกาศกลางสภาฯ “สมัยหน้า” เริ่มถกร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งเวลานี้บรรจุวาระไว้แล้ว 4 ฉบับด้วยกัน โดย 2 ฉบับแรกของ “ภาคประชาชนกับพรรคประชาชน” ครอบคลุมนิรโทษกรรมคดีอาญา มาตรา 112 แต่อีก 2 ฉบับของพรรครวมไทยสร้างชาติกับพรรคครูไทยเพื่อประชาชน ตั้งกรอบนิรโทษกรรม 20 ฐานความผิด ไม่ครอบคลุมคดีอาญา มาตรา 112 

สมัยนี้ สภาฯ ปิดประชุม “31 ตุลาคม” สมัยหน้า เปิดประชุมอีกครั้ง คาดว่า 12 ธ.ค.2567 ร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ที่ค้างอยู่ในสภาฯ ประกอบไปด้วย ร่างฯ ฉบับของภาคประชาชนและของพรรคก้าวไกลเดิมหรือพรรคประชาชน ซึ่งสาระสำคัญการนิรโทษกรรมจะครอบคลุมคดีอาญา มาตรา 112

แต่สำหรับฉบับของพรรครวมไทยสร้างชาติและพรรคครูไทยเพื่อประชาชน ที่ใช้ชื่อว่า “สร้างเสริมสังคมสันติสุข” เนื้อหาการนิรโทษกรรม จะไม่ครอบคลุมคดีอาญา มาตรา 112 และหลังรัฐบาลได้รับรายงาน ผลการศึกษาแนวทางการตรากฎหมายนิรโทษกรรม จากสภาฯ ก็เชื่อว่า ครม.จะเสนอร่างกฎหมายนิรโทษกรรม เข้ามาประกบ ร่างฯ ที่สภาฯ ค้างพิจารณาอยู่ด้วย

หลังการอภิปราย รายงาน ผลการศึกษาแนวทางการตรากฎหมายนิรโทษกรรม ที่ค้างไว้เมื่อสัปดาห์ก่อน ก็ปิดอภิปราย แต่เมื่อรายงานต้องแนบข้อสังเกตของกรรมาธิการฯ สภาฯ จึงต้อง “เปิดลงมติ” สรุป “โหวตคว่ำ” ไม่ให้ส่งข้อสังเกตแนวทางการนิรโทษกรรคดีอาญา มาตรา 112 ให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หนึ่งเพราะเห็นต่าง สองเพราะอ่อนไหว สามเพราะคลุมเครือ

มติคว่ำ 3 ข้อสังเกตของกรรมาธิการฯ (268 มาขานเพิ่มทีหลังอีก 2) เป็น (270 ต่อ 149) งดออกเสียง 5 เสียง ไม่ลงคะแนน 1 คน เท่ากับไม่เห็นด้วย ที่จะส่งข้อสังเกตของกรรมาธิการฯ แนบท้าย รายงาน การศึกษาแนวทางการตรากฎหมายนิรโทษกรรม เพื่อส่งให้รัฐบาล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใช้พิจารณาประกอบการดำเนินการ

สืบเนื่องจาก สส.ส่วนหนึ่ง นำโดย นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.พรรครวมไทยสร้างชาติ ทักท้วง หากไม่ “เปิดลงมติ” ข้อสังเกต 3 แนวทางของกรรมาธิการฯ อาจถูกตีความว่า สภาฯ เห็นชอบ จึงแนบไปกับรายงานด้วย

สำหรับ 3 ข้อสังเกตที่ว่า คือส่วนที่ 9 ของรายงานฉบับนี้ โดย 8 ส่วนแรก เป็นผลการศึกษา ซึ่งสาระสำคัญคือการนิยามคำว่า นิรโทษกรรม-การจำแนกคดี-สถิติและจำนวนผู้ต้องคดีทางการเมือง แบ่งเป็น คดีหลัก-คดีรองและคดีอ่อนไหว กรอบการนิรโทษกรรมคดีทางการเมือง จะเริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค.2548 ถึงปัจจุบัน

และคดีอ่อนไหว หมายถึงคดีอาญา มาตรา 110 และ มาตรา 112 ซึ่งในส่วนที่ 9 แยกเป็น 3 ข้อสังเกต คือ “ไม่เห็นด้วย” ที่จะนิรโทษกรรมคดีอ่อนไหว และ “เห็นด้วย” ที่จะนิรโทษกรรมแบบไม่มีเงื่อนไข และ “เห็นด้วย” แบบมีเงื่อนไข

และเป็นที่สังเกตว่า สส.ส่วนหนึ่งที่ว่า อาจหมายรวมไปถึง สส.พรรคเพื่อไทยด้วย หลัง นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว แสดงตัวและเสนอแนะข้อปฏิบัติให้ประธานในที่ประชุม

เหตุการณ์นี้ ทำให้เป็นที่สังเกตว่า สส.พรรคเพื่อไทย บางส่วนก็ “ไม่เห็นด้วย” กับข้อสังเกตของกรรมาธิการฯ ผลโหวตจึงออกมา “กระเจิง” เว้นแต่ พรรคประชาชนเห็นชอบ ภูมิใจไทยไม่เห็นชอบ นี่จุดยืนชัดโหวตเป็นเอกภาพ แต่สำหรับ “เพื่อไทย-รวมไทยสร้างชาติ-ประชาธิปัตย์” หรือแม้แต่ “พลังประชารัฐ” เห็นชอบบ้าง-ไม่เห็นชอบบ้างก็มี-งดออกเสียง ไม่ลงคะแนนก็เยอะ แต่ก็เสียหน้าตรงที่ เจ้าของญัตติ คือ สส.พรรคเพื่อไทย ที่เสนอให้สภาฯ ตั้งแต่ 1 ก.พ.2567 กลับเสียงแตก เห็นชอบ 11 ไม่เห็นชอบ 115 เสียง แต่ก็ไม่รู้ว่า นิรโทษกรรมจะเป็นฟืนสุมให้อายุสั้นลงไปไหมนะ ?

อ่านข่าวอื่น :

“ภูมิธรรม” ชี้จบเท่านี้ หลังสภาโหวตคว่ำข้อสังเกต กมธ.นิรโทษกรรม

แตกต่างแต่เท่าเทียม พ.ร.บ.-พ.ร.ก. 2 กฎหมายบทบาทไม่เหมือนกัน

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่