หน้าแรก Voice TV ‘ประเสริฐ’ สั่งการ กมช. ขับเคลื่อนมาตรการปกป้องข้อมูลภาครัฐรั่วไหล เสริมแกร่งมาตรฐานไซเบอร์ พร้อมตอบสนองต่อภัยคุกคามทุกมิติ

‘ประเสริฐ’ สั่งการ กมช. ขับเคลื่อนมาตรการปกป้องข้อมูลภาครัฐรั่วไหล เสริมแกร่งมาตรฐานไซเบอร์ พร้อมตอบสนองต่อภัยคุกคามทุกมิติ

30
0
‘ประเสริฐ’-สั่งการ-กมช.-ขับเคลื่อนมาตรการปกป้องข้อมูลภาครัฐรั่วไหล-เสริมแกร่งมาตรฐานไซเบอร์-พร้อมตอบสนองต่อภัยคุกคามทุกมิติ
‘ประเสริฐ’ สั่งการ กมช. ขับเคลื่อนมาตรการปกป้องข้อมูลภาครัฐรั่วไหล เสริมแกร่งมาตรฐานไซเบอร์ พร้อมตอบสนองต่อภัยคุกคามทุกมิติ

‘รองนายกฯ ประเสริฐ’ สั่งการ กมช. ขับเคลื่อนมาตรการปกป้องข้อมูลภาครัฐรั่วไหล เสริมแกร่งมาตรฐานไซเบอร์ พร้อมตอบสนองต่อภัยคุกคามทุกมิติ

วันที่ 30 ตุลาคม 2567  นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) ครั้งที่ 3/2567 โดยสั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เร่งผลักดันการจัดทำแนวทางการดำเนินการสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้กับหน่วยงานของรัฐ สำหรับการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลไม่ให้เกิดการรั่วไหล เพื่อแนวทางป้องกันเหตุรั่วไหล การกำหนดมาตรฐานความปลอดภัย การตรวจสอบและประเมินผลความปลอดภัยระบบอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงบริษัทที่รับงานจากภาครัฐ ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ไซเบอร์และกฎหมาย PDPA อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้การอบรมบุคลากรและผู้พัฒนาเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์และภัยคุกคาม และการนำหลัก Cloud Security Standards และนโยบาย Cloud First Policy มาใช้เพื่อเสริมความมั่นคงปลอดภัยในระดับดิจิทัลรวมถึงเห็นชอบรายงานเหตุการณ์ภัยคุกคาม ผลการดำเนินการเหตุการณ์ที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ 

​นายประเสริฐ กล่าวว่า เพื่อเป็นการผลักดันแนวทางการดำเนินการสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้กับหน่วยงานของรัฐ สำหรับการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลไม่ให้เกิดการรั่วไหล โดยให้ สกมช. ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปสร้างความความเสียหายให้กับพี่น้องประชาชนในวงกว้าง อาทิ การหลอกลวงประชาชนเรื่องเงินบำนาญ และการแจ้งรับเงินคืนค่าประกันมิเตอร์ หรือเรื่องอื่นๆ ให้มีมาตรการป้องกันด้านความปลอดภัยของข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจนให้หามาตรการในการกำกับดูแลแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ที่เข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับการเผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน นับเป็นก้าวอย่างที่สำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดแนวทางป้องกันเหตุรั่วไหลในอนาคตระหว่างกับหน่วยงานต่าง ๆ เพราะปัญหาด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง แต่หากต้องใช้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ก็ขอให้ดำเนินการไปสู่กิจกรรมการปฏิบัติต่าง ๆ อันจะนำมาซึ่งการพัฒนาด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ในฐานะกรรมการและเลขานุการการประชุม กล่าวเพิ่มเติมว่าที่ประชุมได้มอบหมายให้นำสรุปผลการดําเนินงานของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ ประจำปี 2567 เสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป และรับทราบการเตรียมความพร้อมระบบสารสนเทศเพื่อเข้าสู่ยุคควอนตัมของสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ได้รายงานผลการได้รับประกาศเกียรติคุณรางวัลเลิศรัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในรางวัลบริการภาครัฐ ประเภทนวัตกรรมการบริการ กับผลงาน Proactive Protection X Total Defense by NCSA

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่