หน้าแรก Voice TV ‘จาตุรนต์’ มองหลังการเลือกตั้งผู้นำสหรัฐฯ ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ จะยังคงแน่นแฟ้น และมีแนวโน้มจะดีขึ้นได้ด้วย

‘จาตุรนต์’ มองหลังการเลือกตั้งผู้นำสหรัฐฯ ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ จะยังคงแน่นแฟ้น และมีแนวโน้มจะดีขึ้นได้ด้วย

7
0
‘จาตุรนต์’-มองหลังการเลือกตั้งผู้นำสหรัฐฯ-ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ-จะยังคงแน่นแฟ้น-และมีแนวโน้มจะดีขึ้นได้ด้วย
‘จาตุรนต์’ มองหลังการเลือกตั้งผู้นำสหรัฐฯ ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ จะยังคงแน่นแฟ้น และมีแนวโน้มจะดีขึ้นได้ด้วย

‘จาตุรนต์’ มองหลังการเลือกตั้งผู้นำสหรัฐฯ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสหรัฐฯ จะยังคงแน่นแฟ้น และมีแนวโน้มจะดีขึ้นได้ด้วย แต่ไทยต้องปรับตัวเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่ม

นายจาตุรนต์ ฉายแสง สส.พรรคเพื่อไทย วิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ หลังการเลือกตั้งผู้นำสหรัฐฯ โดยเผยแพร่โซเชียลมีเดียวันนี้ (10 พฤศจิกายน 2567) ระบุว่า หลังการเลือกตั้งผู้นำสหรัฐฯ ในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสหรัฐฯ จะยังคงแน่นแฟ้น และมีแนวโน้มจะดีขึ้นได้ด้วย

แต่ต้องยอมรับว่านโยบายทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจจะมีผลกระทบต่อทั่วโลกและประเทศไทย โดยเฉพาะสงครามการค้าที่จะสหรัฐฯจะสกัดสินค้าจากจีนอย่างเข้มข้น มีผลต่อทั้งการลงทุน การย้ายฐานการผลิต รวมถึงซัพพลายเชน หลายคนกังวลว่าสินค้าเหล่านั้นจะทะลักมาที่ประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมาบ้านเรามีจุดอ่อนในการควบคุมคุณภาพและปริมาณสินค้าจากจีนอยู่แล้ว ในจุดนี้เราจึงต้องเตรียมรับมือรอบด้านเพื่อปกป้องผู้ประกอบการของไทย 

ในทางกลับกันเราต้องมองหาโอกาสท่ามกลางวิกฤตนี้ ทั้งการดึงนักลงทุนที่จะถอนตัวจากจีนเข้ามาที่ไทย หรือส่งออกสินค้าไทยออกไปแทนที่ แต่ทั้ง 2 โอกาสนี้ไทยจำเป็นที่ต้องพัฒนาสินค้าที่มีคุณภาพให้ได้ หรือเน้นอุตสาหกรรมที่ไทยมีจุดแข็งอย่างภาคบริการ และเพิ่มสินค้าที่เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงและดิจิตอล แม้เราจะไม่ใช่ประเทศต้นน้ำในเรื่องนี้แต่เราควรเตรียมตัว เพราะหลังจากนี้จะมีโอกาสทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิกส์

ในด้านความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) ที่หลายนโยบายมีแนวโน้มที่ดี เช่น การประกาศยุติสงครามยูเครนภายใน 24 ชั่วโมง แต่เมื่อยังไม่เห็นแผนที่เป็นรูปธรรมและยังไม่มีความชัดเจนในนัยยะทางหลักการเกี่ยวกับการเมืองระหว่างประเทศ เราจึงยังต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด ซึ่งที่ผ่านมาความขัดแย้งเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบมายังไทยโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจรวมถึงการวางจัดวางบทบาทอย่างเหมาะสมของไทยในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ

และสิ่งที่ไทยเราละเลยไม่ได้คือการเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือของนโยบายโลกร้อนและเศรษฐกิจสีเขียวของสหรัฐฯ ทำให้ในเวทีโลกผู้นำเรื่องนี้จะตกอยู่ที่ประเทศในยุโรปรวมถึงจีนที่มีตลาดพลังงานหมุนเวียนที่ขยายตัวเร็วที่สุดในโลก ดังนั้นการวางจุดยืนของไทยบนเวทีโลก โดยเฉพาะ COP29 ที่เกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ที่สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน จึงต้องหาความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยให้มากที่สุด

ดังนั้นสิ่งที่ประเทศไทยควรเตรียมการและปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รองรับโอกาสที่อาจจะเกิดขึ้นรวมทั้งผลกระทบที่จะมีขึ้น โดยเฉพาะการร่วมกันพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั่วไป โครงสร้างพื้นฐานทางดิจิตอล และที่สำคัญคือการเตรียมการพัฒนาคนเพื่อเตรียมประเทศให้ไปสู่เศรษฐกิจสังคมดิจิตอล โดยไทยมีต้นทุนที่ดีอยู่แล้วจากการร่วมมือกับบริษัทใหญ่ของสหรัฐฯ ขยายโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลโดยการลงทุนในศูนย์ข้อมูลก็จะช่วยให้ปลดล็อกทางเศรษฐกิจของไทยและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยได้มากขึ้นครับ แต่ก็ยังจำเป็นที่เราต้องมองหาโอกาสและมองให้ขาดหลังจากที่โลกจะเปลี่ยนแปลงไปหลังจากได้ผู้นำสหรัฐฯ คนใหม่ให้ได้

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่