หน้าแรก Thai PBS “วันนอร์”​ จ่อหารือ “พริษฐ์” ปมแก้รัฐธรรมนูญ 27 พ.ย.นี้แล้ว​

“วันนอร์”​ จ่อหารือ “พริษฐ์” ปมแก้รัฐธรรมนูญ 27 พ.ย.นี้แล้ว​

24
0
“วันนอร์”​-จ่อหารือ-“พริษฐ์”-ปมแก้รัฐธรรมนูญ-27-พย.นี้แล้ว​
“วันนอร์”​ จ่อหารือ “พริษฐ์” ปมแก้รัฐธรรมนูญ 27 พ.ย.นี้แล้ว​

วันนี้ (13 พ.ย.2567) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธาน​สภาผู้แทนราษฎร ​ กล่าวถึงกรณีที่นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคประชาชน​ ในฐานะประธาน​คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน​ ขอเข้าพบในวันที่​ 27 พ.ย.​67 เพื่อขอให้ทบทวนบรรจุร่างแก้ไข​รัฐธรรมนูญว่า​

ตนได้นัดหมายกับคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน​ ตามร้องขอมา​ ในวันที่​ 27 พ.ย.​67​ แต่ยังไม่ระบุช่วงเวลาใด ​ ​และระบุว่า​ พร้อมเปิดโอกาสอย่างเต็มที่​ ไม่ว่าจะอยู่ใน กมธ.ชุดใด​ หากอยู่ในอำนาจหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็นประธานสภาฯ หรือ รองประธานสภาฯ เรายินดีที่จะพบ​เพราะจะทำงานร่วมกันเพื่อประโยชน์ของประชาชน

ประธานสภาฯ​ ยังระบุอีกว่า​ ทราบจากการให้สัมภาษณ์ของนายพริษฐ์​ เป็นเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ​ ซึ่งทางพรรคประชาชนได้ส่งร่าง มา​ 7-8 ฉบับ และยังมีร่างของรัฐบาลส่งมาอีก​ ซึ่งตนยังไม่ได้ตรวจสอบว่า มีจำนวนเท่าใด

ร่างใดที่ส่งมาแล้ว หากขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญและข้อบังคับ เราก็ยินดีจะบรรจุและพิจารณา แต่การพิจารณาจะผ่านหรือไม่​ เป็นเรื่องของสมาชิกรัฐสภา เพราะตามรัฐธรรมนูญต้องมีการประชุมร่วม​

ทั้งนี้ จะเชิญประชุมร่วมกันของวิป​ 3 ฝ่าย​ หลังจากที่ได้รับร่างฯทุกฉบับเรียบร้อยแล้ว ก่อนเปิดสมัยประชุมสภา โดยนัดไว้ในช่วงต้นเดือนธ.ค. เพื่อดูว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นมีจำนวนกี่ฉบับ จะใช้ระยะเวลาพิจารณาประชุมกี่วัน เพื่อให้เกิดความเรียบร้อยและคุ้มค่า

ส่วนคาดหวังว่า ฝ่ายบริหารจะตอบรับเชิญของ กมธ.และสนับสนุนเรื่องดังกล่าวอย่างไร​ หลังจากที่ฝ่ายนิติบัญญัติได้ตอบรับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว​ ประธานสภาฯ ระบุว่า เรื่องนี้ต้องเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับว่ากรรมาธิการเชิญใครบ้าง หากไม่มาต้องรายงานถึงผู้บังคับบัญชาสูงสุด​ เช่น หากเชิญอธิบดีไม่มาต้องรายงานต่อรัฐมนตรี หรือหากเชิญรัฐมนตรีไม่มาต้องรายงานต่อนายกรัฐมนตรี​ และอาจหารือในที่ประชุมใหญ่ก็ได้ เพื่อขอความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา​

ประธานสภาฯ​ ยังระบุว่า​ เมื่อเปิดสมัยประชุมจะเหลือเวลาอีก 2 ปีกว่า ๆ จะหมดสภาฯ ยุคนี้ อะไรที่ยังค้างคา​ เช่น​ กฎหมายประชามติ กฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งพูดกันว่า มีข้อบกพร่อง​และทุกคนอยากแก้ ฝ่ายสภาพร้อมที่จะให้ความร่วมมือ จะให้กฎหมายเหล่านี้ มาแก้ไขและเป็นประโยชน์ต่อประชาชน แต่จะสำเร็จหรือไม่ อยู่ที่การประชุมและการเตรียมพร้อมของพรรคการเมืองทั้งหลาย จึงต้องพูดคุยกัน​

หากทุกฝ่ายร่วมมือกัน สร้างความเข้าใจ ตนมองว่า อะไรต่าง ๆ ที่เป็นปัญหาจะลุล่วงไปด้วยดี ถ้าหากต่างคนต่างพูดคุยกันคนละทิศคนละทาง เป็นปัญหาที่ไม่เสร็จตามที่ประกาศได้​

พร้อมยืนยันว่า ในส่วนของสภาไม่ต้องห่วง พร้อมที่จะให้ความร่วมมือ จะพบเมื่อใดก็ได้ แต่ทั้งหมดตนไม่อาจทำได้ตามที่ตนต้องการ หรือสิ่งที่ใครเรียกร้องแต่ต้องดูว่า ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ​หรือไม่​ หรือขัดแย้งต่อที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยมาแล้วหรือไม่ หรือผิดกับข้อบังคับหรือไม่ แต่หากดูคร่าว ๆ ตามที่รายงานมา ร่างของพรรคประชาชน พยายามไม่ให้ผิดต่อรัฐธรรมนูญหรือข้อบังคับ คือการแก้ไขเป็นรายมาตรา แต่อย่างไรก็ต้องดูในเนื้อหาและรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง เพราะฉะนั้น อาจจะพิจารณาว่าจะต้องทำประชามติตอนไหน จึงจำเป็นต้องมีการหารือกัน

อ่านข่าว : “ภูมิใจไทย”​ หนุนแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับผ่าน สสร.​ 

เหตุแตะสุดซอย-จริยธรรม “เพื่อไทย” โดนเทถอยแก้รัฐธรรมนูญ  

ดับฝันแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ จั่วลมตาม “รายมาตรา”   

 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่