หน้าแรก Voice TV เลขาธิการ สกพอ. รับลูกหอการค้าไทย เตรียมเสนอ ครม.ออกกฎหมาย นำ ‘ปราจีนบุรี’ เข้า EEC

เลขาธิการ สกพอ. รับลูกหอการค้าไทย เตรียมเสนอ ครม.ออกกฎหมาย นำ ‘ปราจีนบุรี’ เข้า EEC

22
0
เลขาธิการ-สกพอ-รับลูกหอการค้าไทย-เตรียมเสนอ-ครม.ออกกฎหมาย-นำ-‘ปราจีนบุรี’-เข้า-eec
เลขาธิการ สกพอ. รับลูกหอการค้าไทย เตรียมเสนอ ครม.ออกกฎหมาย นำ ‘ปราจีนบุรี’ เข้า EEC

‘จุฬา สุขมานพ’ เลขาธิการ สกพอ. รับลูกหอการค้าไทย เตรียมเสนอ ครม.ออกกฎหมาย นำ ‘ปราจีนบุรี’ เข้า EEC ชี้มีความพร้อมทั้งพื้นที่และสาธารณูปโภค

ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กล่าวบรรยายพิเศษ “EEC UPDATE” ภายในงานสัมมนา หอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 42 โดยระบุว่า การขับเคลื่อนแผนงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ภายใต้ พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ปี 2561 ผ่าน 6 แผนปฏิบัติการพัฒนา เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบาย EEC เกิดความต่อเนื่อง ทำให้ไทยก้าวสู่ประเทศพัฒนาโดยเร็วที่สุด 

พร้อมทั้งขับเคลื่อน 5 Cluster อุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ ประกอบด้วยการแพทย์และสุขภาพ, ดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์, ยานยนต์, BCG และอุตสาหกรรมบริการ รองรับการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มการลงทุนโลก

โดย มูลค่าการออกบัตรส่งเสริมการลงทุนใน EEC ระหว่างปี 2561 จนถึงไตรมาส 3 ปี 2567 มีมูลค่า กว่า 1.73 ล้านล้านบาท โดย 5 ประเทศ/เขตปกครอง ที่ได้รับการออกบัตรสูงสุดได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฮ่องกง และสหรัฐฯ ซึ่ง สกอพ. ได้ชักชวนนักลงทุน 139 ราย (1 ม.ค.66 – 20 ก.ย.67) มูลค่าลงทุนรวมกว่า 2.4 แสนล้านบาท

S__22069263.jpg

ดร. จุฬา กล่าวเพิ่มเติม กรณีหอการค้าไทย เสนอเพิ่มจังหวัดปราจีนบุรี เข้าเป็นพื้นที่ EEC หลังศึกษาพบว่าเหมาะสมทั้งในแง่ระบบสาธารณูปโภคเช่นน้ำ ถนน และยังมีพื้นที่อุตสาหกรรม รวมถึงอุตสาหกรรมบริการอื่น

นอกจากนี้ ยังมีโครงการก่อสร้างทางหลวง พื้นที่อำเภอเมือง และบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ระยะทาง 11.8 กิโลเมตร จะเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งระหว่างกรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี

ทั้งนี้การผนวกจังหวัดปราจีนบุรี เข้าพื้นที่ EEC จะต้องออกเป็น พ.ร.ฎ. ขยายพื้นที่ EEC คาดว่าจะเริ่มกระบวนการภายในปีหน้า 

“ไม่ได้มองเฉพาะให้เกิดการลงทุนใหม่เท่านั้น แต่มีเป้าหมายปรับเปลี่ยนการลงทุนเดิม สู่อุตสาหกรรมใหม่สีเขียว โดยเฉพาะภาคบริการ เช่น บริการที่รองรับสังคมผู้สูงอายุ สุขภาพ การแพทย์ และการท่องเที่ยวคุณภาพสูง ถือเป็นประโยชน์โดยเฉพาะพื้นที่ที่เพิ่มมากขึ้น เหมาะสมกับนักลงทุนระยะยาวที่ต้องการพื้นที่เยอะ จัดการระบบขนส่งได้ดีขึ้น และมีสาธารณูปโภคพร้อม”

ดร.จุฬา ยังระบุว่า ในปี 2568 พื้นที่ EEC จะมีกิจกรรม ที่มืความคืบหน้าชัดเจน คือ การขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ภายใต้เงินลงทุนรวมกว่า 6.8 แสนล้านบาท ใน 4 โครงการขนาดใหญ่ ได้แก่

1. โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เชื่อมโยงการเดินทางระหว่าง สนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินอู่ตะเภา ให้มีความรวดเร็วและสะดวกสบาย ด้วยความเร็ว 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง

2. โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 เพิ่มขีดความสามารถในการรองรับตู้สินค้าเป็น 18 ล้านตู้ต่อปี และรถยนต์จำนวน 3 ล้านคันต่อปี พร้อมทั้งติดตั้งระบบจัดการตู้สินค้าแบบอัตโนมัติ (Automation) เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าของภูมิภาคอินโดจีน และประตูการค้าที่สำคัญของภูมิภาค พร้อมก้าวสู่การเป็นท่าเรือระดับโลก (World-Class Port)

3. โครงการสนามบินอู่ตะเภา โดยยกระดับสนามบินอู่ตะเภาเป็นสนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลัก แห่งที่ 3 เชื่อมสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิ ด้วยรถไฟความเร็วสูง ทำให้ทั้ง 3 สนามบินรองรับผู้โดยสารรวมกันได้มากถึง 200 ล้านคนต่อปี (อยู่ระหว่างการแก้ไขสัญญาให้โครงการฯ เพื่อดำเนินการต่อได้ และเสนอ ครม.เพื่อพิจารณาและเริ่มก่อนสร้างรถไฟในปี 2568)

4. โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและความจุในการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติและสินค้าเหลว สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพื่อรักษาความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ และเมื่อพัฒนาแล้วเสร็จ จะสามารถรองรับการขนส่งได้ 31 ล้านตันต่อปี

S__22077448.jpgS__22077450.jpgS__22077447.jpg

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่