หน้าแรก Voice TV ‘วราวุธ’ รมว.พม. ขึ้นเวที ยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล ปี 67 ประกาศ ‘ให้ทุกเสียงมีพลัง ยุติความรุนแรงด้วยความเท่าเทียม’

‘วราวุธ’ รมว.พม. ขึ้นเวที ยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล ปี 67 ประกาศ ‘ให้ทุกเสียงมีพลัง ยุติความรุนแรงด้วยความเท่าเทียม’

24
0
‘วราวุธ’-รมวพม.-ขึ้นเวที-ยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล-ปี-67-ประกาศ-‘ให้ทุกเสียงมีพลัง-ยุติความรุนแรงด้วยความเท่าเทียม’
‘วราวุธ’ รมว.พม. ขึ้นเวที ยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล ปี 67 ประกาศ ‘ให้ทุกเสียงมีพลัง ยุติความรุนแรงด้วยความเท่าเทียม’

‘วราวุธ ศิลปอาชา’ รมว.พม. เปิดงานวันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล ประจำปี 2567 ‘ความเหลื่อมล้ำ ความยากจน : ผลกระทบความรุนแรงต่อสตรีและเด็กในสังคมไทย’ ประกาศ ‘ให้ทุกเสียงมีพลัง ยุติความรุนแรงด้วยความเท่าเทียม’

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในพิธีเปิดงานวันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล ประจำปี 2567 “ความเหลื่อมล้ำ ความยากจน : ผลกระทบความรุนแรงต่อสตรีและเด็กในสังคมไทย” “ให้ทุกเสียงมีพลัง ยุติความรุนแรงด้วยความเท่าเทียม” จัดโดย สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย (สสรท.) โดยมี ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ อาคารสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางชื่อ) จตุจักร กรุงเทพฯ

IMG_20241125113947000000.jpg

นายวราวุธ กล่าวว่า ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหาความรุนแรงในสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงต่อเด็ก สตรี หรือความรุนแรงในครอบครัว ยังคงมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ในปี 2567 พบผู้ถูกกระทำความรุนแรง เฉลี่ยวันละ 42 ราย ซึ่งเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจากปี 2566 จำนวน 8 รายต่อวัน จากข้อมูลศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน หรือ ศรส. สายด่วน พม. 1300 พบว่า มีผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว จำนวน 4,833 ราย ส่วนใหญ่เป็นบุคคลในครอบครัว จำนวน 3,421 ราย (71%) และภายนอกครอบครัว จำนวน1,412 ราย (29%) โดยความรุนแรงที่พบ

อันดับหนึ่ง คือ ถูกทำร้ายร่างกาย 3,532 ราย (73.08)

รองลงมา คือ ถูกล่วงละเมิดทางเพศ 814 ราย (16.84%)

และอื่นๆ เช่น ถูกกระทำอนาจาร ถูกทอดทิ้ง 487 ราย (10.07%)

และผู้ที่กระทำความรุนแรงส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ประมาณ 3,500 ราย (72%) เพศหญิง 1,333 ราย (28 %) (หมายเหตุ 1 เคสมีถูกกระทำความรุนแรง ได้มากกว่า 1 รูปแบบ เช่น กระทำความรุนแรงทางร่างกายและทางจิตใจ) ซึ่งสาเหตุหรือปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดความรุนแรง

อันดับหนึ่ง คือ ยาเสพติด

รองลงมาคือ บันดาลโทสะ ความรู้สึกเชิงอำนาจ การหึงหวง ปัญหาสุขภาพจิต หรือความเครียดทางเศรษฐกิจ ก็ล้วนเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งผู้ที่กระทำความรุนแรงส่วนใหญ่เป็นเพศชาย สถานะเป็นสามี หรือเป็นพ่อ 

IMG_20241125114056000000.jpg

กระทรวง พม. ขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล โดยให้ความสำคัญกับประเด็นปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ประเด็นปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) และมีความพยายามผลักดันนโยบายและมาตรการหลายด้าน เพื่อปกป้อง คุ้มครอง คนทุกเพศ ทุกวัย และขจัดปัญหาความรุนแรงในทุกรูปแบบ ซึ่ง พม. ได้มีการผลักดันและขับเคลื่อนนโยบาย 5×5 ฝ่าวิกฤตประชากร จากความร่วมมือกับทุกภาคส่วน โดยผ่านการเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567 ซึ่งนโยบายดังกล่าวประกอบด้วย 5 ข้อเสนอ 5 มาตรการ ได้แก่

1 เสริมพลังผู้สูงอายุ 

2 เพิ่มคุณภาพและผลิตภาพของเด็กและเยาวชน

3 สร้างพลังผู้สูงอายุ

4 เพิ่มโอกาสและเสริมสร้างคุณค่าคนพิการ

5 สร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาความมั่นคงของครอบครัว เพื่อให้ประชาชนทุกช่วงวัย เสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างครอบคลุมทุกมิติ ทั่วถึง เป็นธรรม

กระทรวง พม. มีศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน หรือ ศรส. ทำงานร่วมกับสหวิชาชีพ โดยเริ่มตั้งแต่การรับแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือหากเกิดความรุนแรงในครอบครัว การเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย การวางแผน การดำเนินงานช่วยเหลือ ประสานงานให้เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ช่วยเหลือคุ้มครอง โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวและผู้ที่ได้รับผลกระทบเป็นสำคัญ

IMG_20241125113957000000.jpg

พฤศจิกายนเป็นเดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว กระทรวง พม. ในฐานะหน่วยงานหลักที่ขับเคลื่อนภารกิจด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ได้ดำเนินการร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในการจัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์สร้างความตระหนักต่อสังคม เพื่อชี้ให้เห็นถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความรุนแรงในครอบครัว และสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อประเด็นปัญหา สร้างการมีส่วนร่วมในสังคม เพื่อรับมือกับปัญหา และขอรับความช่วยเหลือกรณีเกิดเหตุขึ้น

นอกจากการรณรงค์ยุติความรุนแรงที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปีแล้ว ยังมีเรื่องการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับสถานการณ์และสภาพปัญหาความรุนแรงในสังคมปัจจุบัน การสร้างระบบ Family Line “เพื่อนครอบครัว” ผ่าน Application Line และเว็บไซต์เพื่อนครอบครัว เพื่อเป็นพื้นที่ให้คำปรึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และให้องค์ความรู้แก่สมาชิกครอบครัว การสื่อสารสังคมเชิงรุก การร่วมลงนาม MOU และประกาศเจตนารมณ์ระหว่างภาคีเครือข่ายและสมาคมกีฬานําร่อง รวมกว่า 40 หน่วยงาน เพื่อสร้างความตระหนักรู้และส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ โดยเฉพาะการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงทางเพศในวงการกีฬา

และมีช่องทางการติดต่อขอรับความช่วยเหลือกรณีถูกกระทำความรุนแรง หรือพบเห็นเหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัว หากพบเห็นหรือถูกกระทำความรุนแรงขออย่านิ่งเฉย สามารถแจ้งมาได้ที่ ศรส. โทร 1300 โทรฟรี 24 ชั่วโมง หรือระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินทางสังคม ESS Help Me ผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์แจ้งเหตุเชื่อมโยงกับสถานีตำรวจตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันการกระทำความรุนแรงในครอบครัวทั้ง 77 จังหวัด

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่