หน้าแรก Thai PBS กมธ.ทหาร เรียก “รฟท.-มทบ.26” ชี้แจง กรณีสร้างค่ายทหารผิดจุดเลี่ยงพื้นที่ “เขากระโดง”

กมธ.ทหาร เรียก “รฟท.-มทบ.26” ชี้แจง กรณีสร้างค่ายทหารผิดจุดเลี่ยงพื้นที่ “เขากระโดง”

3
0
กมธทหาร-เรียก-“รฟท-มทบ.26”-ชี้แจง-กรณีสร้างค่ายทหารผิดจุดเลี่ยงพื้นที่-“เขากระโดง”
กมธ.ทหาร เรียก “รฟท.-มทบ.26” ชี้แจง กรณีสร้างค่ายทหารผิดจุดเลี่ยงพื้นที่ “เขากระโดง”

วันนี้ (27 พ.ย.2567) นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการทหาร สภาฯ เปิดเผยถึงการประชุมกรรมาธิการการทหาร ในวันพรุ่งนี้ (28 พ.ย.) ว่า กรรมาธิการฯ ได้เชิญผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ผู้ว่า รฟท.) , ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์, อธิบดีกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย และอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย

รวมถึงผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 26 หรือ ค่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก มาชี้แจงต่อกรรมาธิการฯ เนื่องจาก มีข้อสงสัย และได้รับการร้องเรียนว่า ในการอนุญาตสร้างค่ายมณฑลทหารบกที่ 26 (มทบ.26) นั้น อาจมีการสร้างผิดที่จากเดิมที่กองทัพ เคยขออนุญาตไว้เมื่อปี 2521 ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ติดกับเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ แต่กลับไปสร้างอีกที่หนึ่งซึ่งติดกับที่ดินของเอกชน และห่างจากพื้นที่ที่ขออนุญาตไว้ 2 กม. แต่ไม่ได้มีการขออนุญาต

นายต่อพงษ์ จีนใจน้ำ อดีตผู้สมัคร สส.บุรีรัมย์ พรรคก้าวไกล ในฐานะที่ปรึกษาประจำกรรมาธิการฯ ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า พบข้อสงสัยต่อกรณีที่ กองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 23 (ร.23 พัน.4 มทบ.26) ในขณะนั้น ได้มีการขออนุญาต จ.บุรีรัมย์ ในการสร้างค่ายทหารกองพันทหารราบเบา เมื่อวันที่ 30 เม.ย.2521 ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ได้อนุญาตให้มีการสร้าง เมื่อวันที่ 1 พ.ค.2521 จนเป็น (ร.23 พัน.4) ในปัจจุบัน

แต่เมื่อพิจารณาที่ตั้งของค่ายในปัจจุบัน และเปรียบเทียบกับหนังสืออนุญาตการก่อสร้างแล้ว พบข้อสงสัย ที่ค่ายทหารฯ ดังกล่าวอาจสร้างผิดที่ เพราะเดิมที่ที่ได้รับอนุญาตให้มีการก่อสร้างนั้น เป็นพื้นที่ที่ทางเหนือติดกับเขากระโดง ที่มีผู้ซื้อที่ดินต่อจากบ้านใหญ่บุรีรัมย์ไป และมีการฟ้องร้องกับ รฟท.จนสุดท้ายศาลฎีกา ได้พิพากษาให้เป็นที่ดินของ รฟท. และค่ายทหารฯ ดังกล่าว ก็ได้ไปสร้างในอีกพื้นที่หนึ่ง ซึ่งไม่ได้มีการขออนุญาต และอยู่ห่างจากที่ที่ได้รับอนุญาตไป 2 กม.รวมถึงยังเป็นที่ที่มีราษฎรอาศัยอยู่ จนเกิดการฟ้องร้องขับไล่กันต่อมา

ดังนั้น จึงเชื่อว่า ที่ที่กองทัพก่อสร้างค่ายทหารฯ ดังกล่าวผิดที่ตั้งแต่แรก และไม่ทราบว่า กองทัพ ได้มีการขออนุญาตก่อสร้างบนที่ดินดังกล่าวตั้งแต่เมื่อใด รวมถึงเหตุใดกองทัพจึงไม่สร้างค่ายทหารฯ ดังกล่าว บนที่ดินที่มีการขออนุญาตตั้งแต่แรก

ปรึกษาประจำกรรมาธิการฯ ยังระบุด้วยว่า ในจังหวัดบุรีรัมย์ มักมีเรื่องแปลก ๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ โดยเฉพาะการเปลี่ยนหลักหมุดที่ดินในจังหวัดถึง 3 ครั้ง ดังนั้น ในวันพรุ่งนี้ (28 พ.ย.) กรรมาธิการฯ ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาชี้แจงข้อเท็จจริงกับกรรมาธิการฯ ต่อไป

อ่านข่าว : “มท.-อธิบดีกรมที่ดิน ” ชี้ดินแจงปม “ที่ดินเขากระโดง” 

ราษฎรคัดค้าน! กรมที่ดินยันทำตามคำสั่งศาลปมรังวัดเขากระโดง

รฟท.ปฏิเสธเลือกปฏิบัติ กรณี “เขากระโดง” ยืนยันทำตามขั้นตอน

 

 

 

 

 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่