หน้าแรก Thai PBS จับกระแสการเมือง : วันที่ 28 พ.ย.2567 ศึก “เขากระโดง-พลังงาน” รอยร้าวพรรคร่วม นับถอยหลังรัฐบาลเพื่อไทย

จับกระแสการเมือง : วันที่ 28 พ.ย.2567 ศึก “เขากระโดง-พลังงาน” รอยร้าวพรรคร่วม นับถอยหลังรัฐบาลเพื่อไทย

10
0
จับกระแสการเมือง-:-วันที่-28-พย.2567-ศึก-“เขากระโดง-พลังงาน”-รอยร้าวพรรคร่วม-นับถอยหลังรัฐบาลเพื่อไทย
จับกระแสการเมือง : วันที่ 28 พ.ย.2567 ศึก “เขากระโดง-พลังงาน” รอยร้าวพรรคร่วม นับถอยหลังรัฐบาลเพื่อไทย

สัญญาณร้าวรัฐบาล ส่งมารัวๆ นับแต่ศึกตัวแทนข้อพิพาทเขากระโดง ระหว่าง “กรมที่ดิน-การรถไฟ” ที่ยืดเยื้อมานานกว่า 20 ปี กลับมาอยู่ในกระแสอีกครั้ง หลังศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 582/2566 ให้อธิบดีกรมที่ดิน (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ดำเนินการตรวจสอบที่ดินบริเวณพื้นที่ทางแยกเขากระโดง ต.อิสาณ อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ เพื่อหาแนวเขตที่ดินที่เป็นของ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ผู้ฟ้องคดี) ตามคำพิพากษาศาลฎีกา คดีหมายเลขแดงที่ 842-876/2560 และที่ 8027/25531

และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 3 คดีหมายเลขแดงที่ 1112/2563 ได้วินิจฉัยไว้อย่างชัดแจ้งว่า ที่ดินตามแผนที่แสดงเขตที่่ดินของกรมรถไฟแผ่นดินสายนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ตอนแยกที่่ย่อยศิลา ต.เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ กิโลเมตรที่ 375+650 เป็นส่วนหนึ่งของพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสร้างทางรถไฟต่อจากนครราชสีมา ถึงอุบลราชธานี ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน พระพุทธศักราช 2462

อย่างไรก็ตาม แม้ศาลปกครองจะมีคำพิพากษาสั่งให้อธิบดีกรมที่ดินตรวจสอบที่ดิน ให้สอดคล้องกับคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ได้วินิจฉัยให้ที่ดินพิพาทที่เป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย แต่กรมที่ดินได้สวนทางคำพิพากษาศาลฎีกาและอธิบดีกรมที่ดินได้ยุติเรื่อง

จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะทำให้มีการเชื่อมโยงเป็นชนวนความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างพรรคเพื่อไทยและพรรคภูมิใจไทย ด้วยเหตุ “สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ” เป็นรองนายกฯ ที่กำกับดูแลกระทรวงคมนาคม อันหมายรวม “การรถไฟ” ขณะที่ “ ทรงศักดิ์ ทองศรี” รมช.มหาดไทย ของค่ายสีน้ำเงิน กำกับดูแลกรมที่ดิน ขณะที่ปัญหา “เขากระโดง” ยังผูกเชื่อมเมื่อครั้ง “ปู่ชัย ชิดชอบ” บิดาของครูใหญ่ “เนวิน ชิดชอบ” ตั้งแต่ครั้งยังเป็น “กำนันชัย” อยู่ที่ จ.บุรีรัมย์

จึงต้องจับตาดูท่าทีของ “สุริยะ” ที่ประกาศกร้าวว่า “หากเป็นที่ดินของ รฟท.แม้กระทั่งตารางวาก็จะเสียไปไม่ได้” พร้อมสั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทยยื่นต่อศาลปกครองเพื่อให้กรมที่ดินดำเนินการให้สอดคล้องกับคำพิพากษาศาลปกครอง

ขณะที่ ยังไม่พบสัญญาณตอบโต้และการเคลื่อนไหวจากฝั่ง มท.หนู “อนุทิน ชาญวีรกูล” รมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย และ “เนวิน” ครูใหญ่บุรีรัมย์ แต่อย่างใด

ข้องใจเขากระโดง “วิโรจน์ ลักขณาอดิศร” สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ทหาร สภาผู้แทนราษฎร แจ้งว่า การประชุม กมธ.ได้เชิญผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.), ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ , อธิบดีกรมที่ดิน และอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย รวมถึงผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 26 หรือค่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ชี้แจงต่อ กมธ. เหตุมีข้อสงสัย และได้รับการร้องเรียนว่า การอนุญาตก่อสร้างค่ายมณฑลทหารบกที่ 26 หรือ มทบ.26 อาจมีการสร้างผิดที่จากเดิมที่กองทัพเคยขออนุญาตไว้เมื่อปี 2521

มีการขออนุญาตจาก จ.บุรีรัมย์ ผู้ที่ขออนุญาตคือจังหวัดทหารบกสุรินทร์ (แยกบุรีรัมย์) ที่ขอสร้างค่ายทหารใน จ.บุรีรัมย์ ชื่อกองพันทหารราบเบา ปรากฏว่าได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ขณะนั้นให้สร้างตามหนัง สือสำคัญที่หลวง นสล.4130 และมีการก่อสร้างจนกลายเป็น ร.23 พัน.4 คือค่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกในปัจจุบัน และเมื่อไปดูที่ตั้งค่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเทียบกับหนังสืออนุญาตของผู้ว่าจังหวัดบุรีรัมย์ขณะนั้น

วิโรจน์ บอกว่า มีข้อสงสัยจะมีการสร้างค่ายทหารผิดที่ และที่ควรจะสร้างเป็นที่ข้อพิพาทเขากระโดง เพราะมีบุคคล คนหนึ่งอ้างว่าซื้อที่มาจากตระกูลใหญ่ตระกูลหนึ่ง แล้วไปฟ้องร้องต่อการรถไฟ ปรากฏว่าการรถไฟก็ฟ้องแย้ง จนศาลฎีกามีคำพิพากษาว่าที่ตรงนั้นเป็นที่รถไฟจริง และที่แปลงนั้นควรจะเป็นที่ตั้งค่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ในปัจจุบัน

แต่เหตุใดทำไมค่ายฯกษัตริย์ศึก ถึงไปอยู่อีกที่หนึ่ง ที่ห่างจากพื้นที่ที่ขออนุญาตไว้ 2 กิโลเมตร …อยากถามว่า หมุดหมายของใบอนุญาตอยู่ตรงไหนกันแน่

ปมร้าวรัฐบาล ไม่ได้เกิดเฉพาะศึกเขากระโดงระหว่างพรรคเพื่อไทยและภูมิใจไทยเท่านั้น แต่ยังมีปมขัดแย้งของพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ภายใต้การนำของ “พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค” รองนายกฯ และ รมว.พลังงาน ในฐานะหัวหน้าพรรค รทสช.และ “แพทองธาร ชินวัตร” นายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในเรื่องพลังงานด้วยเช่นกัน

เมื่อ “พีระพันธุ์” สั่งเบรกนโยบายด้านพลังงาน ถึง 5 โครงการ ประกอบด้วย การระงับการสรรหากรรมการสำนักงานกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ที่ทดแทนกรรมการที่ครบวาระ 4 คน โดยทำหนังสือถึงเลขาธิการคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานให้ระงับการสรรหาไปก่อน

การระงับการจัดซื้อจัดจ้างงานจ้างเหมาขุด-ขนถ่านหินที่เหมืองแม่เมาะสัญญาที่ 8/1 โดยทำหนังสือด่วนที่สุดให้ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ระงับการดำเนินการ ซึ่งเป็นการเสนอวิธีพิเศษในวงเงินงบประมาณ 7,250 ล้านบาท ของบริษัท สหกลอิควิปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SQ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ชนะการประมูลงานมูลค่าสัญญา 7,170 ล้านบาท หลังบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ยื่นอุทธรณ์ขอความเป็นธรรม

การเก็บภาษี Carbon Tax ในเชื้อเพลิงน้ำมัน โดยกรมสรรพสามิต ยกตัวอย่าง น้ำมันดีเซล ภาษีสรรพสามิตตามปริมาณ 6.44 บาท/ลิตร และเมื่อปรับเป็นภาษีสรรพสามิตเมื่อปรับให้มี Carbon Price 6.44 บาท/ลิตร (รวมภาษีคาร์บอน 0.55 บาท) ซึ่งกระทรวงพลังงานเห็นว่าเป็นการเก็บภาษีซ้ำซ้อน

การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา โดยเห็นว่าการเจรจาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และต้องหาทางออกกรณีบริษัทต่างชาติได้รับสัมปทานต่อเนื่อง

การระงับประมูลรับซื้อพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน Feed-in Tariff เฟส 2 กำลังการผลิต 3,600 เมกะวัตต์ กลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิงและขยะอุตสาหกรรม โดยต้องเปิดประมูลเป็นการทั่วไปแทนการให้สิทธิผู้ยื่นประมูลเฟส 1 ซึ่งได้ส่งคณะกรรมการกฤษฎีกาตีให้ความระงับการประมูล และการประมูลมีการโต้แย้งจากบุคคลภายนอก

ทั้ง 2 ประเด็นใหญ่ เป็นเรื่องที่ต้องจับตามองว่า จะเป็นชนวนสำคัญที่ทำให้รัฐบาลแพทองธาร ต้องนับถอยหลังหรือไม่

อ่านข่าว :

“นักกฎหมาย” ตอบคำถาม ทำไมข้อพิพาท “ที่ดินเขากระโดง” ยังไม่จบ

“กมธ.ที่ดิน” ลุยสอบต่อ หลัง “รฟท.-กรมที่ดิน” ชี้ไร้แผนที่แสดงสิทธิ “เขากระโดง”

ราษฎรคัดค้าน! กรมที่ดินยันทำตามคำสั่งศาลปมรังวัดเขากระโดง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่