หน้าแรก Thai PBS กมธ.ร่วมฯประชามติ ส่งรายงานให้ 2 สภาฯ พิจารณา

กมธ.ร่วมฯประชามติ ส่งรายงานให้ 2 สภาฯ พิจารณา

14
0
กมธ.ร่วมฯประชามติ-ส่งรายงานให้-2-สภาฯ-พิจารณา
กมธ.ร่วมฯประชามติ ส่งรายงานให้ 2 สภาฯ พิจารณา

วันนี้ (4 ธ.ค.2567) นายนิกร จำนง เลขานุการ คณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ แถลงผลประชุมว่าที่ประชุมเห็นชอบกับรายงานของคณะกรรมการร่วมกันฯ ที่จะทำเสร็จสิ้นและจะยื่นต่อทั้ง 2 สภาในวันที่ 4 ธ.ค.วันนี้ โดยเนื้อหาในรายงานบันทึกผลการพิจารณาของคณะกรรมการร่วมกัน โดยเห็นชอบตามร่างที่วุฒิสภาปรับปรุงแก้ไขซึ่ง วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาร่างของสภาผู้แทนราษฎร ม.7 แก้ไข ม.13

ให้ยกเลิกความใน ม.13 โดยให้ใช้ความต่อไปนี้ “ ม.13 การออกเสียงที่ถือว่ามีข้อยุติ ในเรื่องที่จัดทำประชามติตาม ม.9 (2)(3)(4) หรือ (5) ให้ใช้เสียงข้างมากของผู้มาออกเสียง โดยคะแนนเสียงข้างมากต้องสูงกว่าคะแนนเสียงไม่แสดงความคิดเห็นในเรื่องที่จัดทำประชามตินั้น การออกเสียงที่จะถือว่ามีข้อยุติ ในเรื่องที่จะจัดทำประชามติตามมาตรา 9 (1) หรือ(2) เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์ออกเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ออกเสียง และมีจำนวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้ออกมาใช้สิทธิ์ออกเสียงในเรื่องที่จัดทำประชามตินั้น

นายนิกร เปิดเผยว่า วุฒิสภาจะนำร่างเข้าสู่วาระการพิจารณาให้ความเห็นชอบ ในวันที่ 17 ธ.ค.นี้ ส่วนสภาผู้แทนราษฎรจะนำเข้าสู่วาระพิจารณาในวันที่ 18 ธ.ค.นี้ โดยแสดงความเห็นส่วนตัวคาดว่า วุฒิสภาจะให้ความเห็นชอบรายงานดังกล่าว ส่วนสภาผู้แทนราษฎรจะไม่ให้ความเห็นชอบ ด้วยก่อนสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบโดยใช้หลักการเสียงข้างมาก หรือ Simple Majority 

ขั้นตอนต่อไปจะเข้าสู่การแขวนไว้ 180 วัน หากสภาผู้แทนราษฎรไม่ให้ความเห็นชอบ ก็ไป 180 วันก็ดำเนินการต่อเนื่องไปจนกระทั่งเป็นการยืนยันร่างของ สส.ครั้งหนึ่ง ก็จะสามารถประกาศใช้ได้

นายนิกร ยังกล่าวถึงหากร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติถูกแขวน 180 วันจะทำให้การทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่ทันในรัฐบาลชุดปัจจุบันว่า การทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับเวลา นั้นอายุของรัฐบาลอาจไม่สามารถดำเนินการได้ทัน เพราะเท่ากับว่าขยายเวลาไป 180 วัน รวมกัน 90 วันขั้นตอนต่อจากนี้อีก แต่ธงของรัฐบาลคือจะต้องให้มีการตั้ง ส.ส.ร.ให้ได้ภายในรัฐบาลนี้

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร สมาชิกวุฒิสภาในฐานะโฆษกกรรมาธิการฯ ย้ำถึงการเคารพความเห็นของแต่ละฝ่าย สส.-สว. แต่ยืนยันว่าต่างก็ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน และยังคงเดินเป็นไปตามกลไกของรัฐสภา ซึ่งหากไม่ทันก็ต้องพิจารณาในเรื่องเกี่ยวกับรายมาตรา โดย สว. ไม่ได้ยืนว่าทุกอย่างจะต้องเป็นเสียงข้างมาก 2 ชั้นทั้งหมด ซึ่งหากมีการเสนอแก้ไขรายมาตราวุฒิสภาก็จะต้องพิจารณาทีละประเด็น ภายใต้การมีส่วนร่วมของประชาชน และยังไม่มีความเห็นใดต่อการแก้ไขมาตรา 256

อ่านข่าว : “นันทนา” ค้านประชามติ 2 ชั้น หวั่นบิดเบือนเจตจำนงประชาชน 

“นิกร” เสนอทางสายกลาง “ประชามติชั้นครึ่ง” 

มติสภาฯ เห็นต่าง สว.เกณฑ์เสียงข้างมาก 2 ชั้น ทำประชามติ

 

 

 

 

 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่