วันนี้ (10 ธ.ค.2567) นาย วัน มูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีฝ่ายค้านเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีมาตอบกระทู้สด ว่า เรื่องนี้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลและรัฐมนตรีที่จะต้องมาตอบกระทู้สด และกระทู้ทั่วไปด้วย ซึ่งในการประชุมวันที่ 12 ธ.ค. นี้ ก็จะมีผู้แทนวิป 3 ฝ่าย เข้าร่วมซึ่งตนจะแจ้งให้ทราบว่ามีสมาชิกอยากให้ รัฐมนตรีมาต่อกระทู้ทุกครั้ง
โดยสภาผู้แทนราษฎรมีการประชุมทุกวันพุธและพฤหัสบดีคิดว่าหากรัฐบาล สามารถมาต่อกระทู้ได้ทุกครั้ง ก็จะเป็นบรรยากาศที่ดี สภามีหน้าที่ทำและรัฐบาลมีหน้าที่ต่อ หากยังตอบไม่ได้ก็บอกว่าตอบยังไม่ได้และไปหาข้อมูลเพิ่มเติม
อย่าไปซีเรียสเป็นเรื่องเอาเป็นเอาตาย เพราะการตอบกระทู้เป็นเรื่องของการสร้างความเข้าใจ ถ้ารัฐบาลมาตอบก็ถือเป็นโอกาสที่รัฐบาลจะได้ชี้แจงปัญหาที่ประชาชนอยากทราบ
เมื่อถามว่าตัวของนายกรัฐมนตรี จำเป็นต้องมาต่อกระทู้หรือไม่ นายวัน นอร์ กล่าวว่า โดยปกติก็ควรต้องมา เพราะนายกฯที่ผ่านมาส่วนใหญ่ก็มาตอบ บางคนก็บอกว่าติดภารกิจไม่ได้มา แต่ตนก็จะไปขอร้องคณะรัฐมนตรีว่าควรจะมา
โดยเฉพาะวันที่มีกระทู้คือวันพฤหัสบดี ในวันพุธเป็นการประชุมกฎหมายก็อาจจะมอบหมายได้ หากคณะรัฐมนตรีต้องการให้สภาอำนวยความสะดวกอย่างไรก็พร้อม เพื่อให้สมาชิกและรัฐบาลได้ทำงานอย่างเต็มที่
ส่วนกรณีที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เตรียมยื่นหนังสือถึงสภา กรณีการพิจารณา MOU 44 นั้น ประธานสภาฯ ระบุว่า สมาชิกและประชาชนมีสิทธิ์ที่จะยื่น ปัญหาต่างๆมาให้สภาเพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง
ถ้าผิดกฎหมายก็ต้องนำมาพิจารณา ถ้าเป็นเรื่องที่ต้องส่งต่อให้นายกรัฐมนตรี ส่งต่อให้รัฐบาลหรือส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สภาก็พร้อมจะอำนวยความสะดวก เพราะสภาเป็นของประชาชน เราพร้อมที่จะรับข้อเสนอตามระเบียบและตามกฎหมาย
นอกจากนี้ นายวัน มูหะมัดนอร์ ยังกล่าวถึงมาตรการป้องกันการรัฐประหาร โดยเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า ควรจะมีบทบัญญัติในการลงโทษผู้ที่ล้มล้างแล้วจะธรรมนูญด้วยการปฏิวัติหรือฉีกรัฐธรรมนูญที่สามารถใช้ได้จริง
ซึ่งเห็นว่าควรไปศึกษาจากรัฐธรรมนูญของประเทศเกาหลีใต้ ที่บัญญัติไว้และเมื่อเกิดการยึดอำนาจสามารถนำ มาให้สภาใช้ล้มล้างการยึดอำนาจได้ ถือเป็นตัวอย่างง่าย คนไทยเก่งสามารถยกร่างรัฐธรรมนูญได้แต่สิ่งสำคัญคือความร่วมมือของประชาชนเหมือนอย่างประเทศเกาหลี
ส่วนกรณีที่พรรคเพื่อไทยเสนอแก้ไขกฎหมายกระทรวงกลาโหม ถือเป็นคนละเรื่องกัน ซึ่งเป็นเรื่องของพรรคการเมืองที่เสนอเข้ามา แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ไม่รู้ว่าจะสำเร็จหรือไม่ควรจะมีมาตรการป้องกัน ไม่ให้ถูกฉีก ส่วนบทลงโทษ ของผู้ที่ทำการเช็ครัฐธรรมนูญ จะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับคณะกรรมการร่าง รัฐธรรมนูญส่วนตัวไม่อยากชี้แนะ แต่ก็ควรจะสามารถปฏิบัติได้ และประชาชนยอมรับ
แต่ผู้ที่ทำรัฐประหารส่วนใหญ่มักจะเป็นคนที่มีอาวุธในมือ ในขณะที่วันนี้โลกเปลี่ยนแปลงไปเยอะ การเมืองก็เปลี่ยนแปลง เช่น สถานการณ์ในประเทศไนจีเรีย และเกาหลีใต้ก็มีการเปลี่ยนแปลงไป ส่วนประเทศไทยจะอยู่อย่างนี้โดยไม่เปลี่ยนแปลง ประชาธิปไตยของไทยคงล้าหลังมาก
อ่านข่าว:
เพื่อไทยโต้ “สนธิ” อ้าง MOU 44 ยังไม่เข้าสภาฯ อย่าโยง “ทักษิณ”