หน้าแรก Thai PBS รมว.กต.เมียนมา ยืนยันปล่อยตัว 4 ลูกเรือไทยเร็ว ๆ นี้

รมว.กต.เมียนมา ยืนยันปล่อยตัว 4 ลูกเรือไทยเร็ว ๆ นี้

6
0
รมวกต.เมียนมา-ยืนยันปล่อยตัว-4-ลูกเรือไทยเร็ว-ๆ-นี้
รมว.กต.เมียนมา ยืนยันปล่อยตัว 4 ลูกเรือไทยเร็ว ๆ นี้

การประชุมเมื่อวานนี้ (19 ธ.ค.2567) เมียนมาเปิดเผยข้อมูลความคืบหน้าเกี่ยวกับความพยายามจัดการเลือกตั้งเป็นครั้งแรกด้วย นอกจากนี้ ไทยยังมีโอกาสหารือทวิภาคีกับฝ่ายเมียนมาและมีความคืบหน้าในประเด็นที่คนไทยเราสนใจ เกี่ยวกับลูกเรือประมง 4 คนที่ถูกเมียนมาจับกุมตัวไปตั้งแต่ปลายเดือนที่แล้ว

นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รมว.ต่างประเทศ ยังเปิดเผยว่า จากการพูดคุยกับตาน ซเว รมว.ต่างประเทศเมียนมา ทั้ง 2 ชาติ เห็นพ้องร่วมกันที่จะหารือถึงมาตรการการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ขึ้นอีกในอนาคต และควรมีกรอบความร่วมมือในอนาคตเพื่อป้องกันปัญหานี้ด้วย สำหรับการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว นายมาริษ ระบุว่า เกิดขึ้นระหว่างการหารือแบบทวิภาคี กับ รมว.การต่างประเทศเมียนมา

ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างเมียนมาและประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบอีก 5 ประเทศ

ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างเมียนมาและประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบอีก 5 ประเทศ

ขณะที่บรรยากาศการหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างเมียนมาและประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ ลาว จีน บังกลาเทศ อินเดียและไทย ที่ไทยเป็นผู้ริเริ่มและเป็นเจ้าภาพเป็นไปด้วยดี โดยทุกประเทศได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา เปิดเผยและสร้างสรรค์รัฐมนตรีต่างประเทศและเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่เข้าร่วมการประชุมชื่นชมไทยที่จัดการหารือลักษณะนี้

รวมถึงบทบาทของไทยในการเป็นสะพานเชื่อมระหว่างประเทศต่าง ๆ และเห็นสอดคล้องว่า การหารือโดยตรงกับเมียนมาจำเป็นและสำคัญ เพราะประเทศเพื่อนบ้านต่างได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในเมียนมา

ทุกประเทศเห็นพ้องในการยกระดับความร่วมมือ โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนและประสานงานในการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อจัดการกับปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ ทั้งการค้าอาวุธ ยาเสพติด การลักลอบข้ามแดน การค้ามนุษย์และการหลอกลวงออนไลน์ เพื่อส่งเสริมความมั่นคงชายแดน และทุกประเทศต้องการเห็นเมียนมามีเสรีภาพ เสถียรภาพและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พร้อมทั้งขอให้ฝ่ายต่าง ๆ ในเมียนมายุติการใช้ความรุนแรงและพูดคุยหาทางออกอย่างสันติ

ด้านตาน ซเว รองนายกฯ และ รมว.ต่างประเทศเมียนมา ซึ่งเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ ระบุว่า เมียนมาเปิดประตูให้กับทุกฝ่ายเข้าร่วมแก้ปัญหาโดยสันติ และมีความคืบหน้าเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้ง

เมียนมาเผยเตรียมจัดเลือกตั้งปีหน้า

ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้น หลังจากเมื่อช่วงเมื่อเดือน ต.ค.ทางการเมียนมาเริ่มจัดทำสำมะโนประชากร ระหว่างวันที่ 1 – 15 ต.ค. และนอกจากนี้ยังเปิดให้พรรคการเมืองลงทะเบียนแล้ว 53 พรรค

การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวมีขึ้นท่ามกลางข้อกังขาว่า เมียนมาจะจัดการเลือกตั้งตามกรอบเวลาที่วางไว้ในปีหน้า 2025 ได้อย่างเป็นรูปธรรมจริงหรือไม่ ในเมื่อพื้นที่กว่าครึ่งของประเทศยังเผชิญปัญหาความรุนแรง และสัดส่วนพื้นที่ที่เกิดความไม่สงบรวมถึงตกอยู่ในมือกลุ่มต่อต้านยังมีเป็นจำนวนมาก

ขณะที่การหารืออย่างไม่เป็นทางการวานนี้ (19 ธ.ค.) นับเป็นโอกาสในการพบปะกันครั้งที่ 3 ของประเทศเพื่อนบ้านของเมียนมา หลังจากครั้งแรก ในการประชุมคู่ขนานกับการประชุม BIMSTEC ที่กรุงนิวเดลี อินเดีย เมื่อ ก.ค.2024 อินเดีย เมียนมา และไทยได้หารือกันแล้วครั้งหนึ่ง

ต่อมา ส.ค.2024 ไทย เมียนมา ลาว และจีน ได้หารือกันระหว่างการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 9 ซึ่งจัดขึ้นที่ จ.เชียงใหม่ กระทั่งการประชุมวานนี้ (19 ธ.ค.2567) เป็นครั้งแรกที่เพื่อนบ้านเมียนมาทั้งหมดได้หารือกันอย่างพร้อมหน้า

การประชุมวันนี้ (20 ธ.ค.67) เป็นการประชุมแยกต่างหากในกรอบอาเซียน เพื่อผลักดันการแก้ปัญหาวิกฤตในเมียนมา ส่วนหนึ่งคือการบรรลุฉันทามติ 5 ข้อ ที่อาเซียนเห็นชอบร่วมกับเมียนมาตั้งแต่เดือน เม.ย.2021 หลังกองทัพเมียนมาก่อรัฐประหารได้เพียงไม่กี่เดือน แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการปฏิบัติตาม

ทบทวน ฉันทามติ 5 ประการเพื่อสันติภาพในเมียนมา

1. ยุติความรุนแรงในเมียนมาทันที

2. หารือเพื่อหาทางออกโดยสันติวิธี

3. ตั้งผู้แทนพิเศษอาเซียนเป็นผู้ประสานงาน

4. อาเซียนจะให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม

5. ผู้แทนพิเศษอาเซียนจะเยือนเมียนมา เพื่อพบปะทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง

อ่านข่าว : ด่วน! ตัดสิน 4 ลูกเรือประมงโทษหนักคุก 4-6 ปีรุกน่านน้ำเมียนมา 

“ภูมิธรรม” คาด 4 ม.ค.68 ปล่อยตัว 4 ชาวประมงไทยในเมียนมา  

ทหารเคเอ็นยูยึดคืน “มาเนอปลอ” จากทหารเมียนมา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่