“สุดาวรรณ” รมว.วธ. ปลื้มผลสำเร็จปี 67 ยกระดับ 6 เทศกาลประเพณีไทยสู่ระดับชาติ – นานาชาติ สร้างรายได้สู่ชุมชน – ผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม กว่า 152 ล้านบาท – ดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมาก
‘สุดาวรรณ’ ปลื้มผลสำเร็จปี 67 ยกระดับ 6 เทศกาลประเพณีไทยสู่ระดับชาติ – นานาชาติ สร้างรายได้สู่ชุมชน – ผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม กว่า 152 ล้านบาท – ดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมาก
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เปิดเผยว่า ได้รับรายงานว่าสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้จัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการยกระดับเทศกาลประเพณีไปสู่ระดับชาติและนานาชาติของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา วธ. ได้ดำเนินการคัดเลือกเทศกาลประเพณี เพื่อส่งเสริมให้มีการยกระดับให้เป็นที่รู้จักในระดับชาติและนานาชาติ จำนวน 6 เทศกาล/ประเพณี เพื่อกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวสามารถวางแผนการเดินทางท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี ได้แก่
1. เทศกาลร่มบ่อสร้างและหัตถกรรมสันกำแพง ครั้งที่ 39 จังหวัดเชียงใหม่
2. ประเพณีกำฟ้าไทยพวน จังหวัดแพร่
3. มหกรรมวัฒนธรรมสานสัมพันธ์อิ้วเมี่ยนโลก จังหวัดพะเยา
4. เทศกาลลานตาลันตา จังหวัดกระบี่
5. งานวิสาขปุรณมีบูชา สักการะมหาสถูปเจดีย์ เขาคลังนอก จังหวัดเพชรบูรณ์
6. ประเพณีบุญกระธูปออกพรรษา จังหวัดชัยภูมิ
ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการจัดงานเสร็จสิ้นทั้ง 6 เทศกาลประเพณีแล้ว โดยมีผลสัมฤทธิ์จากการรวบรวมข้อมูลรายงานของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด (สวจ.) พบว่า สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างรายได้ต่อชุมชนและผู้ประกอบการทางวัฒนธรรมในพื้นที่รวมกว่า 152 ล้านบาท มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในเทศกาลประเพณีดังกล่าว รวมกว่า 2 แสนคน นอกจากนี้ ยังสร้างการรับรู้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่สามารเข้าถึงเทศกาลประเพณีนั้น ๆ ผ่านระบบออนไลน์ รวมกว่า 6 แสนการเข้าถึงอีกด้วย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม วธ.ได้ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาต่อยอดมรดกศิลปวัฒนธรรรมของชาติแขนงต่าง ฯ ซึ่งถือเป็นทุนทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติ ให้เกิดมูลค่าเห็นทางเศรษฐกิจ โดยเฉพระมรดกศิลปวัฒนธรรมที่มีศักยภาพในการเป็น Soft Power ของประเทศ ด้านเทศกาลประเพณี (Festival) ซึ่งถือว่าประเทศไทยมีความโดดเด่นและหลากหลายด้านเทศกาลประเพณี ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมาเยี่ยมชมและเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลประเพณีนั้น ๆ ได้ตลอดทั้งปี โดย วธ.ได้ให้การสนับสนุนและกระตุ้นส่งเสริมการจัดเทศกาลประเพณีที่สำคัญของอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก สร้างรายได้ให้กับประชาชนและเป็นการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมแขนงต่าง ๆ ของชาติ ที่สำคัญเป็นการขับเคลื่อนและยกระดับเทศกาลประเพณีให้เป็น Soft Power ที่มีศักยภาพของประเทศไทย สู่สายตาชาวโลกอีกด้วย
ทั้งนี้ ในปี 2568 วธ. ยังคงดำเนินการต่อเนื่อง และเป็นการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชนและเครือข่ายวัฒนธรรมที่อยู่ในพื้นที่ในการส่งเสริมเทศกาลประเพณีสู่ระดับชาติและนานาชาติ ซึ่งจะช่วยจูงใจนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เดินทางเข้ามาเที่ยวสัมผัสกับวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม ผ่านงานเทศกาลประเพณีของท้องถิ่นและจังหวัด ซึ่งจะก่อให้เกิดการสร้างงานสร้างรายไปสู่ชุมชนและประเทศ ที่สำคัญเป็นการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลในการผลักดันเทศกาลประเพณีให้เป็น Soft Power ที่มีศักยภาพของประเทศไทยสู่สายตาชาวโลกอีกด้วย