เมื่อ”มติชน”พาดหัวด้วยตัวไม้ “รองประธานสภาเดือด เฉ่ง”ตู่”ซิ่งกระทู้”ประสานเข้ากับโปรยหัวรองที่ว่า “พิธา”เปิดเกมซัด ไม่เคยโผล่”
ตามด้วยพาดหัวหน้า 1 ของ”ข่าวสด”ที่ว่า “ตู่” เบี้ยวกระทู้ รองประธานสภาฉะยับ
อาจสะท้อนถึงภาวะที่เรียกว่า”ไม่ปกติ”หรือ”แอ็บนอร์มอล”ในทางการเมือง ทั้งๆที่ในความเป็นจริงสภาพอย่างที่รองประธาน สภาผู้แทนราษฎรเอ่ยถึง”นายกรัฐมนตรี”เช่นนี้เป็นเรื่องปกติยิ่ง
และหากติดตามบทบาทของรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ท่านนี้ นายสุชาติ ตันเจริญ ก็เคยเตือน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมาแล้ว
ยิ่งกว่านั้น นายชวน หลีกภัย ไม่ว่าจะมองในมุมอันเป็นประ ธานสภาผู้แทนราษฎร ไม่ว่าจะมองในมุมอันเป็นประธานรัฐสภา ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็น”นายกรัฐมนตรี”มาแล้วก็เคย”เตือน”
คำเตือนของ นายสุชาติ ตันเจริญ จึงไม่เพียงแต่นำคำเตือนของ นายชวน หลีกภัย มาย้ำเน้น หากแต่เท่ากับเป็นการยืนยันใน ความเป็นอิสระและศักดิ์ศรีของอำนาจนิติบัญญัติต่อฝ่ายบริหาร
จำเป็นต้องยอมรับว่า”รัฐบาล”อันเป็นตัวแทน”อำนาจบริหาร”ได้ละเลยความหมายของ”อำนาจนิติบัญญัติ”จริง
ไม่จำเพาะแต่ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ซึ่งเป็น ส.ส.จากการเลือกตั้งเมื่อเดือนมีนาคม 2562 จะชี้ว่านายกรัฐมนตรีมิได้ให้ความสำคัญต่อกระทู้ถามจากผู้แทนปวงชนเท่านั้น
คำเตือนจาก นายชวน หลีกภัย เมื่อได้รับการยืนยันจาก นายสุชาติ ตันเจริญ ก็ถือว่าเด่นชัดและมีรูปธรรมอ้างอิง
ความแหลมคมอย่างยิ่งของคำเตือนจึงอยู่ที่บทบาทและความหมายของ”คำสั่ง” นั่นก็คือ การสั่งในแบบ”ทหาร” กับการสั่ง ในแบบ”นักการเมือง”มีความต่าง
รูปธรรมล่าสุดก็คือ สั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก็ไม่ ว่าง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสั่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระ ทรวงการคลังก็ไม่ว่าง
คำสั่งแบบ”ทหาร”ของ”นายกรัฐมนตรี”จึงไม่มี”ความหมาย”
ในสถานการณ์ปกติ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อาจตีหน้าตายปัด ปฏิเสธความรับผิดชอบได้ แต่ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจรุมเร้าโดยรอบและรุนแรงย่อมเกิดคำถามดังกึกก้อง
ยิ่งเปรียบเทียบกับสถานการณ์”ทำงาน ทำงาน ทำงาน”
ยิ่งทำให้รัฐบาลที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐ มนตรีต้องตกเป็น”จำเลย”อย่างเด่นชัด ณ เบื้องหน้าประชาชนซึ่งมีความตื่นตัวมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ
ตกลงมา”รับใช้”หรือมาเป็น”เจ้านาย”ของ”ประชาชน”
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก
Line @Matichon ได้ที่นี่