หน้าแรก Voice TV รวมอภิปรายครั้งสุดท้าย 7 : กอ.รมน.รัฐซ้อนรัฐ รัฐประหารวางรากฐานจนปัจจุบัน

รวมอภิปรายครั้งสุดท้าย 7 : กอ.รมน.รัฐซ้อนรัฐ รัฐประหารวางรากฐานจนปัจจุบัน

97
0
รวมอภิปรายครั้งสุดท้าย-7-:-กอรมน.รัฐซ้อนรัฐ-รัฐประหารวางรากฐานจนปัจจุบัน

16 ก.พ.2566 ที่อาคารรัฐสภา มีการอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ ตามมาตรา 152 วันสุดท้าย มีการอภิปรายทั้งจากพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกลเกี่ยวกับ ความเปลี่ยนแปลงและความยิ่งใหญ่ของ กอ.รมน.

รัฐซ้อนรัฐที่ไม่จางหายแม้มีเลือกตั้ง : สงวน พงษ์มณี พรรคเพื่อไทย
  • พลเอกประยุทธ์ ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ 2560 วันที่ 6 เม.ย. 2560 ต่อมา 21 พ.ย.2560 พลเอกประยุทธ์ออกคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 51/2560 แก้ไข พ.ร.บ.ความมั่นคง 2551 เพื่อเพิ่มอำนาจให้กับกองอำนวยรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เข้ามามีบทบาทในกิจการพลเรือนมากขึ้น พร้อมทั้งแก้ไขโครงสร้างการบริหารจัดการเพิ่มเติม โดยแก้ไขมาตรา 9 เพื่อให้หน่วยงานรัฐต่างๆ จัดส่งเจ้าหน้าที่ของรัฐไปปฏิบัติหน้าที่ใน กอ.รมน.
  • พลเอกประยุทธ์ ยังแก้ไขมาตรา 13 โดยเพิ่มกระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นั่นหมายความว่า ภายใต้สภาความมั่นคงและรัฐสภา มีรัฐสองรัฐซ้อนกันอยู่
  • การบริหารราชการแผนดินภายใต้ พ.ร.บ.ความมั่นคง พบว่า ผู้ว่าทุกจังหวัด, ข้าราชการพลเรือน และหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม รวมถึงตำรวจและอัยการต้องขึ้นตรงกับแม่ทัพภาค ทั้งที่ฝ่ายอัยการควรจะต้องถือว่าเป็นหน่วยงานอิสระในกระบวนการยุติธรรม
  • อีกทั้งอัยการที่ขึ้นตรงกับแม่ทัพภาค ต้องเป็นระดับอธิบดีอัยการ ซึ่งมีอาวุโสสูงสุดของภาคนั้นๆ ด้วย นี่คือโครงสร้างของรัฐพันลึก รัฐทหาร หรือที่เรียกว่า รัฐความมั่นคง จากนั้น แม่ทัพภาคทั้งหลายก็ต้องรายงานแก่ผู้บัญชาการทหารบก สุดท้ายก็ต้องขึ้นตรงไปสู่สภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยมีพลเอกประยุทธ์นั่งเป็นประธาน
  • หลังเลือกตั้งปี 2562 พลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี และได้ใช้โครงสร้างของ กอ.รมน. มากำกับผู้เห็นต่างทางการเมือง
  • ข้อสังเกตสำคัญคือ คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 51/2560 ของพลเอกประยุทธ์ ในการการขยายบทบาทและอำนาจของ กอ.รมน.ในคำสั่งฉบับนี้ ชัดเจนว่า มีเจตนนาเพื่อกำกับรัฐบาลของประชาชนที่จะขึ้นรับตำแหน่งหลังการเลือกตั้งในอนาคต
  • กล่าวได้ว่า กอ.รมน. ซึ่งเป็นองค์กรของฝ่ายทหาร ที่เข้ามาควบคุมงานความมั่นคงของประเทศทั้งหมด ทั้งในระดับชาติ และในระดับภาค ลงไปถึงระดับจังหวัดด้วยและยังมีโครงสร้างลักษณะนี้อยู่จนปัจจุบัน
กอ.รมน. ภัยต่อระบอบประชาธิปไตย : อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล พรรคก้าวไกล
  • กอ.รมน. คือหน่วยงานที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อปราบคอมมิวนิสต์เมื่อ 50-60 ปีก่อน ด้วยวิธีคิดแบบทหาร
  • ผลงานของ กอ.รมน. ในอดีต เช่น เหตุการณ์ ‘ถีบลงเขาเผาลงถังแดง’ ที่จังหวัดพัทลุง มีผู้เสียชีวิตราว 3,000 คน และเหตุการณ์เผาหมู่บ้านนาทราย จังหวัดหนองคาย ปี 2517
  • หลังจบสงครามกับคอมมิวนิสต์ กอ.รมน. ก็ไม่มีภารกิจหลักจนแทบสิ้นสภาพ แต่ กอ.รมน. ก็สามารถดำรงอยู่ได้ เพราะกองทัพไทยเข้ามาแทรกแซงการเมืองโดยใช้ กอ.รมน. เป็นตัวขับเคลื่อน จนทำให้ปัจจุบัน การบริหารราชการแผ่นดินมีลักษณะ ‘รัฐซ้อนรัฐ’
  • หลังรัฐประหารปี 2549 มีการเพิ่มบทบาทให้ กอ.รมน. โดยใช้ พ.ร.บ. ภัยความมั่นคง ปี 2551 โดยนำ ผบ.ทบ. / เสธ.ท.บ. รอง / เลขาฯ กอ.รมน. / แม่ทัพภาค ผอ.รมน. ภาค มาแทรกเเซงในโครงสร้างของ กอ.รมน.
  • มีการยกระดับ กอ.รมน. ภูมิภาคและระดับจังหวัด มีสำนักงานของ กอ.รมน. ประจำที่ศาลากลางทุกจังหวัด ชัดเจนว่า นี่คือโครงสร้างที่ถูกทำให้ทับซ้อนกับการบริหารราชการแผ่นดิน
  • โครงสร้างของ กอ.รมน. มีตำรวจและข้าราชการพลเรือนปะปนอยู่บ้างเล็กน้อย เพื่อเป็นข้ออ้างว่า ‘ได้สร้างความชอบธรรมและบูรณาการแล้ว’ ทั้งที่ตำรวจและข้าราชการพลเรือนไม่มีอำนาจใดๆ ถูกจัดอยู่ปลายแถวของโครงสร้างนี้
  • พลเอกประยุทธ์ ใช้อำนาจอันล้นเหลือ และการตีความภัยความมั่นคงที่คลุมเครือ เพื่อขยายขอบเขตอำนาจให้ครอบคลุมทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเรื่อง ท่องเที่ยว กีฬา รักษาป่า รักษาสิ่งแวดล้อม มลภาวะ และความเห็นต่างทางการเมือง เรียกว่าเข้าไปแทรกแซงทุกเรื่องที่ไม่ใช่หน้าที่ของตน
  • จริงๆ แล้ว กอ.รมน. มีฐานะเทียบเท่า ‘กรม’ เท่านั้น แต่การมีอำนาจสั่งการข้าราชการพลเรือน ทำให้ กอ.รมน. มีฐานะราวกับ ‘ซูเปอร์กระทรวง’
  • พลเอกประยุทธ์ ใช้ กอ.รมน. เป็นเครื่องมือสอดส่อง ควบคุม ติดตาม คุกคามนักกรรมทางการเมือง และนัการเมืองฝั่งตรงข้าม
  • กอ.รมน. มีทั้งงบประมาณส่วนตัว กำลังพลส่วนตัว และยังมีอำนาจสั่งการเพื่อใช้งบประมาณของทุกกระทรวง ทบวง กรม เช่น หาก กอ.รมน. สั่งการให้กระทรวงศึกษาธิการพานักเรียนมาเข้าอบรม ก็จะใช้งบของกระทรวงศึกษาธิการ
  • ถึง กอ.รมน. จะมีกำลังพลและงบประมาณมากมาย แต่หน้าที่หลักของ กอ.รมน. คือการ ‘ดับไฟใต้’ ใน 3 จังหวัดชายแดน อย่างไรก็ตาม การละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ชายแดนใต้ ก็ไม่เคยเบาบางลง มีแต่จะรุนแรงขึ้น
  • การรัฐประหารปี 2557 ของพลเอกประยุทธ์ได้มีการปรับปรุง พ.ร.บ. ภัยความมั่นคงอีกครั้ง โดยดึงอัยการจังหวัดเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างนี้ คำถามคือ อัยการที่ควรจะเป็นองค์กรอิสระ แต่พลเอกประยุทธ์กลับดึงเข้ามาในโครงสร้าง กอ.รมน. แล้วแบบนี้ หากมีคดีความสั่งฟ้อง ประชาชนจะเชื่อถือความอิสระของอัยการได้อย่างไร
  • โครงสร้างแบบ ‘รัฐซ้อนรัฐ’ เช่นนี้ จะส่งผลในระยะยาวต่อประเทศ แม้ในอนาคต ประเทศจะมีนายกรัฐมนตรีพลเรือนแล้วก็ตาม แต่โครงสร้างที่ถูกกองทัพครอบไว้ ก็จะตามหลอกหลอนการเมืองไทยอยู่ตลอดเวลา
  • งบประมาณของ กอ.รมน. ในแต่ละปี มีตัวเลขเกือบหมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่ถูกใช้ไปกับการแก้ปัญหาชายแดนใต้ แม้ กอ.รมน. จะมีข้าราชการในสังกัดแค่ 1,200 กว่าคน แต่กลับมีอำนาจสั่งการเรียกข้าราชการพลเรือนเข้ามาช่วยงานได้อย่างไม่จำกัด เช่นขณะนี้ มีจำนวนเกือบ 5 หมื่นคนแล้ว
  • สิ่งที่ตามมาคือ ‘บัญชีผี’ ยกตัวอย่างกรณีข่าวเมียน้อย ส.ว. ที่ดันมีไปช่วยราชการ กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า แต่ตัวกลับอาศัยอยู่ที่ราชบุรี และได้รับเบี้ยเลี้ยงฟรีๆ ทั้งที่ไม่ได้ปฏิบัติงานจริง
  • กล่าวได้ว่า กอ.รมน.เป็นหน่วยงานที่อันตรายต่อระบบรัฐสภา แะการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
  • ยกตัวอย่างความเลวร้ายของ กอ.รมน.ในยุคของพลเอกประยุทธ์ เช่น ใช้ กอ.รมน. ทวงคืนผืนป่า ทำให้ชาวบ้านถูกดำเนินคดีไปกว่า 40,000 คดี กลุ่มชาติพันธ์ถูกขับไล่ออกจากที่อยู่อาศัยเหมือนหมูหมาด้วยวิธีการทางทหาร
  • คสช.สั่งให้ กอ.รมน.ปฏิบัติการล้างสมอง เพื่อปูทางการเลือกตั้งปี 2562 โดยการใช้งบประมาณของ กอ.รมน.จัดชุดวิทยากร 100 ชุด ตระเวนไปกว่า 83,000 หมู่บ้าน เพื่ออบรมและปลูกฝังให้ชาวบ้าน เลือก ‘คนดี’ อย่างพลเอกประยุทธ์ เป็นนายกฯ
  • กอ.รมน.ใช้งบ 20 ล้านบาทจัดคอนเสิร์ตที่ห้างพารากอน เพื่อให้กลุ่มคนที่มีลักษณะตัดผมเกรียน 3 ด้าน มาร่วมสนุกสนานในคอนเสิร์ต เป็นการใช้งบประมาณที่ไม่สร้างประโยชน์ต่อส่วนรวม
  • กอ.รมน. เข้าไปทำโครงการอบรมเยาวชนทางสายใหม่ต้านภัยยาเสพติดในโรงเรียน ให้นักเรียนเดินถือป้ายต้ายยาเสพติดบนถนนกลางแดด คำถามคือ การทำแบบนี้จะต้านยาเสพติดได้อย่างไร
  • กอ.รมน. ยังเข้าไปติดตามนักเรียนที่ ‘ชูสามนิ้ว’ ถึงในโรงเรียน คำถามคือ เดี๋ยวนี้ภัยความมั่นคงอยู่ในโรงเรียนหรืออย่างไร?
  • กอ.รมน. เข้าไปแทรกแซงการเรียนการสอนในโรงเรียนด้วยการสร้างวิชาประวัติศาตร์แนวใหม่ คำถามคือ ใช่หน้าที่หรือไม่?
  • กอ.รมน. บุกไปในร้านกาแฟแห่งหนึ่งในในตลาดบันนังสตา เพื่อเข้าไป​ยึดบอร์ดเกม​ Patani​ Colonial​ Territory​ อ้างว่าอาจหมิ่นเหม่​ผิดกฎหมาย​ โดยไม่แสดงหมายค้นใดๆ ต่อเจ้าของร้าน
  • กอ.รมน. ยังได้ขยายเครือข่ายมวลชนจัดตั้งกลุ่ม ‘ไทยอาสาป้องกันชาติ’ หรือ ทสปช. ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล (เหมือนที่เคยทำในสมัยสงครามเย็นยุคขวาพิฆาตซ้าย) โดยงานนี้มีพลเอกประยุทธ์เป็นผู้ริเริ่มแนวคิด ปัจจุบันสมาชิกกลุ่มไทยอาสาป้องกันชาติ มีจำนวน 233,000 คน ที่พร้อมออกมาปลุกระดมเพื่อตอบสนองความต้องการของรัฐบาล ด้านงานวิจัยของอาจารย์ พวงทอง ภวัครพันธุ์ ระบุว่า มวลชนที่ถูก กอ.รมน. จัดตั้ง มีเกือบ 6 แสนคนแล้ว
  • สรุปว่างานของ กอ.รมน. คือการสร้างอารมณ์ ความรู้สึก ความเข้าใจผิด และการเกลียดชังในหมู่ประชาชนใช่หรือไม่

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่