หน้าแรก Thai PBS วิเคราะห์ นับถอยหลังสู่วัน “ยุบสภาฯ”

วิเคราะห์ นับถอยหลังสู่วัน “ยุบสภาฯ”

93
0
วิเคราะห์-นับถอยหลังสู่วัน-“ยุบสภาฯ”

ตามปฏิทินการเมืองสมัยประชุมสภาจะปิดประชุมในช่วงวันที่ 28 ก.พ.25 ขณะที่การประกาศยุบสภาฯนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ บอกว่า มีวันเวลาที่คิดอยู่ในใจแต่ยังไม่ขอบอก โดยสื่อได้ถามนายกฯ ล่าสุดในวันที่ 16 ก.พ.วันสุดท้ายของการอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ ตามมาตรา 152 

จากนั้นวันที่ 17 ก.พ. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอาชา นายกฯ ได้เรียกนายวิษณุเครืองาม รองนายกฯ ไปพูดคุย

นายวิษณุ ยอมรับว่า ได้ขึ้นรายงานแนะแนวทางสิ่งที่ทำได้และไม่ได้นับจากนี้ก่อนวันยุบสภาและไล่ยาวกว่าจะถึงวันเลือกตั้งจนถึงวันจัดตั้งรัฐบาล มันเป็นสัญญาณว่าคงจะเตรียมความพร้อมแล้วก็คิดคำนวณถึงวันยุบสภาและวันเลือกตั้ง

อย่างไรก็ตาม หากไล่ดูวันฤกษ์ดี ตามโหราศาสตร์ไทย เช่น “วันธงชัย” เมื่อตรวจสอบดูแล้วว่า ช่วงเดือน มี.ค.จะมีวันที่ 15 มี.ค.ซึ่งเป็นวันธงชัย และวันที่ 21 มี.ค.เป็นอีกวันหนึ่งที่ถูกจับตาเพราะเป็นวันคล้ายวันเกิดของ พล.อ.ประยุทธ์

และอีกวัน คือวันที่ 22 มี.ค.ซึ่งเลข 22 ก็มีความผูกพันกับ พล.อ.ประยุทธ์ เพราะเป็นวันที่ตรงกับวันที่ 22 พ.ค.57 ซึ่งเป็นวันยึดอำนาจ

หากคาดการณ์ หรือ เดาใจ พล.อ.ประยุทธ์ ว่า 3 วันที่เป็น 3 ตัวเลขอยู่ในใจ คือ วันที่ 15 มี.ค., วันที่ 21 มี.ค. และ วันที่ 22 มี.ค. ถ้าไปตรวจสอบวันตามปฏิทินวันธงชัยนั้นในเดือน มี.ค.ถึง 5 วันด้วยกัน 1 มี.ค., 8 มี.ค. ,15 มี.ค. ,22 มี.ค. และ 29 มี.ค.

นอกจากนี้ ยังมีวันที่เป็นฤกษ์งามยามดีของเดือน มี.ค.อีกหลายวัน ทั้งนี้ เงื่อนเวลาของการสังกัดพรรคการเมืองของบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่กำหนดกรอบเอาไว้ไม่ต้องสังกัดพรรคไม่น้อยกว่า 90 วัน ก่อนเลือกตั้งซึ่งทำให้มีการยุบสภาจะครบกำหนดไปแล้วตั้งแต่วันที่ 7 ก.พ.66 ถ้าอยู่ครบวาระถึงวันที่ 23 มี.ค.66

แต่ถ้าดูจากสถานการณ์ปัจจัยทางการเมืองแวดล้อมการย้ายพรรคของ ส.ส.ยังคงจำเป็นและคงต้องมีการย้ายออกอีกล็อตหนึ่ง

การยุบสภาต้องตราเป็น พ.ร.ฎ.แล้วบังคับใช้ หากมีการยุบสภาจะต้องกำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 45 วันแต่ไม่เกิน 60 วันนับแต่วันที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับ

ย้อนไปตามประวัติศาสตร์การเมืองไทยครั้งล่าสุด การยุบสภาเกิดขึ้นในวันที่ 9 ธ.ค.2556 สมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขยับไปก่อนหน้านั้นคือสมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ วันที่ 10 พ.ค.2554 และ 24 ก.พ.2549 สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ซึ่ง 3 ครั้ง ล่าสุด ต่างก็มีวิกฤตการณ์ทางการเมืองเกิดขึ้นทั้งสิ้น

ส่วนวันเลือกตั้งในวันที่ 7 พ.ค.เป็นวันที่ถูกพูดถ งมากที่สุดแต่ต้น เพราะตามไทม์ไลน์ที่นับได้แบบนี้แต่ก็ยังมีวันที่ 14 พ.ค.

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่