หน้าแรก Voice TV ไม่ลากเข้ามาร่วมขัดแย้งจีน-สหรัฐฯ ที่ปรึกษา ‘ไบเดน’ ยันไม่ทำแปซิฟิกถือเผือกร้อน

ไม่ลากเข้ามาร่วมขัดแย้งจีน-สหรัฐฯ ที่ปรึกษา ‘ไบเดน’ ยันไม่ทำแปซิฟิกถือเผือกร้อน

95
0
ไม่ลากเข้ามาร่วมขัดแย้งจีน-สหรัฐฯ-ที่ปรึกษา-‘ไบเดน’-ยันไม่ทำแปซิฟิกถือเผือกร้อน

ที่ปรึกษาอาวุโสของ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระบุว่า สหรัฐฯ ทราบดีว่าประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก ไม่ต้องการถูก “เหยียบย่ำด้วยการปะทะกันอย่างรุนแรง” ระหว่างสหรัฐฯ และจีน

ในการสัมมนาผ่านเว็บกับผู้เข้าร่วมจากออสเตรเลียเมื่อวันศุกร์ (26 พ.ค.) เจ้าหน้าที่อาวุโสของสภาความมั่นคงแห่งชาติ (NSC) ของทำเนียบขาวสหรัฐฯ กล่าวว่า ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต้องการให้พันธมิตรและหุ้นส่วนที่ใกล้ชิดอื่นๆ มี “พื้นที่หายใจ” เพื่อมีส่วนร่วมกับจีนอย่างสร้างสรรค์

เอ็ดการ์ด คาแกน ผู้อำนวยการอาวุโสของ NSC ประจำเอเชียตะวันออกและโอเชียเนีย กล่าวว่าไบเดนได้รับฟังถึงข้อกังวลของชาติพันธมิตรในภูมิภาคนี้ “ผมคิดว่าประธานาธิบดีให้ความสำคัญกับข้อเท็จจริงที่ว่า เราไม่สามารถกระชับความสัมพันธ์ของเรากับพันธมิตรและหุ้นส่วนได้ หากเราเพียงแค่พยายามยัดเยียดความคิดเห็นของเราลงไปในความคิดของพวกเขา” คาแกนกล่าว “นั่นไม่ใช่คนที่เขา (ไบเดน) เป็น”

ทางการจีนกล่าวหากลุ่มประเทศ G7 ว่าร่วมมือกัน “ป้ายสีและโจมตี” ในการประชุมสุดยอดเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ณ เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น หลังจากบรรดาผู้นำ G7 ต่างแสดงความกังวลอย่างมาก เกี่ยวกับการกระทำของจีนในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก แต่หลังจากเข้าร่วมการประชุมสุดยอด ไบเดนได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า เขาคาดหวังว่าความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับจีนจะดีขึ้น โดยไบเดนระบุเสริมว่า “ในแง่ของการพูดคุยกับพวกเขา ผมคิดว่าคุณจะได้เห็นการลดโทนความโกรธเกรี้ยวดังกล่าวในไม่ช้า”

คาแกนกล่าวเมื่อวันศุกร์ว่า ไบเดนมีความ “ชัดเจนมานานแล้วว่าเขาไม่ต้องการความขัดแย้ง” กับจีน แม้ว่าจะมี “การแข่งขันที่รุนแรงมาก” ระหว่างสองประเทศก็ตาม “เราทั้งคู่มีความสนใจอันแข็งขัน และความสนใจที่สำคัญ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่สามารถหาวิธีอย่างน้อยที่สุด ในการนั่งลงพูดคุยและทำงานร่วมกัน หากเป็นไปได้” คาแกนกล่าวในการสัมมนาออนไลน์ ที่จัดโดยศูนย์สหรัฐอเมริกาศึกษาที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์

ไมรา ราปป์-ฮูเปอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์อินโดแปซิฟิกของ NSC ยอมรับว่าความคิดเห็นล่าสุดของไบเดน ที่เรียกร้องให้มีการเจรจาอย่างสร้างสรรค์กับจีนนั้นเป็น “เครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการพันธมิตร” เช่นกัน โดยเธอยอมรับว่าพันธมิตรและหุ้นส่วนทั้งในภูมิภาคและทั่วโลก “ไม่ต้องการรู้สึกเหมือนถูกบังคับให้เลือกระหว่างสองมหาอำนาจที่แข่งขันกัน”

“พวกเขาไม่ต้องการรู้สึกเหมือนถูกเหยียบย่ำจากการปะทะกันที่ยืดเยื้อ” ราปป์-ฮูเปอร์กล่าว “เขาเลือกที่จะส่งสัญญาณไปยังส่วนอื่นๆ ของโลกเช่นกัน เพราะสำหรับพันธมิตรและหุ้นส่วนจำนวนมาก ที่มีพื้นที่หายใจเล็กน้อย ซึ่งพวกเขารู้สึกว่าพวกเขาเองก็สามารถมีส่วนร่วมกับจีนในแง่ที่สร้างสรรค์ได้ หากพวกเขาจำเป็นหรือต้องการนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญมาก”

ที่มา:

https://www.theguardian.com/us-news/2023/may/26/joe-biden-pacific-nation-allies-us-china?CMP=Share_AndroidApp_Other&fbclid=IwAR2vYu9H2XLAq1hg3EmjRT5cbLlD1z569wlNBL5uMAMzgLJTOZbeQNAmQBI

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่