หน้าแรก Voice TV หนุ่มสาวจีนหมดไฟแห่ลาออก แต่หางานใหม่ไม่ได้ อัตราว่างงานประเทศพุ่ง

หนุ่มสาวจีนหมดไฟแห่ลาออก แต่หางานใหม่ไม่ได้ อัตราว่างงานประเทศพุ่ง

101
0
หนุ่มสาวจีนหมดไฟแห่ลาออก-แต่หางานใหม่ไม่ได้-อัตราว่างงานประเทศพุ่ง

สำนักข่าว BBC รายงานถึง จูลี่ สาวชาวจีนที่เหนื่อยโหมงานหนัก ก่อนที่เธอจะตัดสินใจลาออกจากการเป็นนักพัฒนาเกมในกรุงปักกิ่ง มาทำหน้าที่ ลูกสาวเต็มเวลาแทน

จูลี่ ในวัย 29 กลับดูแลบ้าน ทำงานบ้านในฐานะลูกสาวอีกครั้ง ไม่ว่าจะล้างจาน ทำอาหาร และงานบ้านอื่นๆ โดยพ่อแม่ของจูลี่ให้ค่าใช้จ่ายให้เธอเดือนละ 2,000 หยวน (ประมาณ 9,400 บาท) แต่เธอกลับปฎิเสธเงินเหล่านั้น

ตอนนี้สิ่งที่จูลี่ให้ความสำคัญมากที่สุดเหนือกว่าสิ่งใด คือการพักหายใจหายคอจากงานก่อนหน้านี้ ที่เธอเคยต้องทำงาน 16 ชั่วโมงต่อวัน เธอได้กล่าวว่า “ฉันใช้ชีวิตเหมือนกับศพเดินได้”

ทั้งชั่วโมงทำงานที่เต็มไปด้วยความเหน็ดเหนื่อย  ตลาดแรงงานที่การแข็งขันสู้บีบบังคับให้หนุ่มสาวจีนไม่มีทางเลือก

จูลี่เป็นหนึ่งคนในกลุ่มคนจำนวนมาก ที่เรียกตัวเองว่าเป็น “ลูกประจำ” คือกลุ่มคนที่กลับมาอยู่บ้านแทนที่จะทำงาน เนื่องจากโหยหาการหยุดพักจากชีวิตการทำงานที่เหน็ดเหนื่อย หรือพูดง่ายๆ คือ พวกเขาเหล่านั้นกำลังตกงาน 

หนุ่มสาวชาวจีนถูกพร่ำสอนอยู่เสมอว่า ถ้าตั้งใจเรียนให้สูง สิ่งเหล่านั้นจะเห็นผลเมื่อเวลาสมัครงาน อย่างไรก็ดี พวกเขารู้สึกสิ้นหวัง และติดกับดัก

จากรายงานระบุว่า มากกว่า 1 ใน 5 ของผู้ที่มีอายุระหว่าง 16 ถึง 24 ปีในประเทศจีนไม่มีงานทำ และอัตราการว่างงานของคนรุ่นใหม่ได้แตะระดับสูงที่สุด ตามตัวเลขอย่างเป็นทางการที่เปิดเผยเมื่อวันจันทร์ (17 ก.ค.) ซึ่งตัวเลขดังกล่าวมีอยู่ที่ 21.3% เป็นจำนวนที่สูงที่สุด นับตั้งแต่ทางการเริ่มเผยแพร่ข้อมูลในปี 2561 ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวไม่ได้รวมถึงตลาดแรงงานในชนบท

กลุ่มคนที่เรียกตัวเอง “ลูกประจำ” กล่าวว่า พวกเขาตั้งใจที่จะอยู่บ้านเป็นเวลาชั่วคราวเท่านํ้น โดยพวกเขามองว่ามันเป็นช่วงเวลาที่จะได้ผ่อนคลาย เพื่อที่จะทบทวนตัวเอง และหางานใหม่ที่ดีกว่า ทว่ามันเป็นสิ่งที่พูดได้ง่ายกว่าที่จะทำ

จูลี่ได้สมัครงานไปมากถึง 40 งานในช่วง 2 อาทิตย์ที่ผ่านมา แต่เธอได้รับการติดต่อกลับจากที่ทำงานแค่ 2 ที่เท่านั้น “ก่อนจะลาออกฉันคิดว่า การหางานมันยากมาก แต่ตอนที่ฉันได้ลาออกแล้ว และงานหายากกว่าที่คิดไว้ซะอีก” จูลี่ กล่าว

ปรากฏการณ์หนุ่มสาวจีนที่หมดไฟจากการทำงาน ต่างพากันเป็น “ลูกประจำ” ไม่ใช่เป็นสิ่งที่แปลกใหม่ เนื่องจากประเทศจีนขึ้นชื่อเรื่องการทำงานหนักที่ทำให้ขาดสมดุลในการใช้ชีวิต ทั้งนี้ วัฒนธรรมการทำงานในจีน มักถูกเรียกว่า “996” ซึ่งผู้คนมองว่าเป็นบรรทัดฐานปกติ คือ เข้าทำงานเวลา 9.00 น. ถึง 21.00 น. เป็นเวลา 6 วันต่อสัปดาห์

เฉินตูตู กำลังทำหน้าที่ “ลูกสาวเต็มเวลา” โดยเธอเพิ่งลาออกจากงานอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้ เพราะเธอรู้สึกหมดไฟ และไม่มีคุณค่า “ฉันแทบไม่เหลืออะไรเลย” หลังจากจ่ายค่าเช่า หญิงสาววัย 27 ปี กล่าวกับ BBC

เมื่อเธอกลับบ้านพ่อแม่ที่อยู่ทางจีนตอนใต้ เฉินกล่าวว่า “เธอกำลังใช้ชีวิตในช่วงเกษียณ” แต่ก็ยังมีความกังวลที่ยังคอยตามหลอกหลอนเธออยู่ เธอ กล่าวว่า เธอมักได้ยินเสียงที่กำลังตีกันในหัว “ความคิดแรกพูดว่า มันเป็นช่วงเวลาที่หายากมากนะ อยู่แบบมีความสุขกับช่วงเวลานี้สิ แต่อีกความคิดหนึ่งก็กำลังกดดันให้ฉันคิดว่า ฉันควรจะต้องทำอะไรกับชีวิตต่อไป”

เฉินซึ่งเริ่มทำธุรกิจของตัวเองกล่าวว่า “ถ้าเป็นเช่นนี้ไปนานๆ ฉันคงกลายเป็นปรสิตไปแล้ว”

แจ็กเจิ้ง ซึ่งเพิ่งออกจากบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของจีนอย่างเทนเซนต์ กล่าวว่า เขาต้องตอบข้อความเกี่ยวกับงานเกือบ 7,000 ข้อความนอกเวลาทำงานในแต่ละวัน ชายวัย 32 ปีเรียกสิ่งนี้ว่า “การทำงานล่วงเวลาที่มองไม่เห็น” เพราะเขาไม่ได้รับการชดเชย ในที่สุดเขาก็ลาออกหลังจากความเครียดที่เกิดการทำงาน ส่งผลให้เขาเป็นโรครูขุมขนอักเสบ

เจิ้งได้โอกาสทำงานที่ดีกว่า แต่เขาบอกว่าคนรอบข้างหลายคนไม่โชคดีเท่าเขา เพราะคนเหล่านั้นต้องเผชิญกับสิ่งที่เรียกว่า “คำสาปของคนอายุ 35” ซึ่งเป็นความเชื่อที่แพร่หลายในวงกว้างของจีน เนื่องจากนายจ้างไม่เต็มใจที่จะรับคนอายุมากกว่า 35 ปีเข้าทำงาน โดยพวกเขามักจะเลือกจ้างหนุ่มสาวเข้าทำงานมากกว่า เพราะเงินเดือนของเด็กหนุ่มสาวนั้น “จ่ายถูกกว่า” 

ดาบสองคมของการเลือกปฏิบัติทางอายุ และโอกาสในการทำงานที่แทบจะมองไม่เห็น เป็นความท้าทายสำหรับผู้ที่อยู่ในช่วงวัย 30 กลางๆ ซึ่งมีภาระหนี้สินท่วมหัว หรือกำลังคิดที่จะสร้างครอบครัวของจีน

หมู่นักศึกษามหาวิทยาลัยรู้สึกสิ้นหวังอย่างมาก จนบางคนใช้วิธีสอบตก เพียงเพื่อที่จะสำเร็จการศึกษาช้าลง

ในช่วง2-3สัปดาห์ที่ผ่านมา สื่อสังคมออนไลน์ของจีนเต็มไปด้วยรูปถ่ายรับปริญญาที่ดูไม่เป็นปกติ ซึ่งบ่งบอกถึงความท้อแท้ของบัณฑิตหน้าใหม่ บัณฑิตบางคนถ่ายรูปในท่า “นอนราบ” ซึ่งสวมชุดรับปริญญา และใบหน้าเต็มไปด้วยกระดานปูน บางคนทำท่าถือใบรับรองการสำเร็จการศึกษาเหนือถังขยะพร้อมที่จะทิ้งมันขยะ

มหาวิทยาลัยเคยเป็นที่ไต่ชนชั้นในจีน แต่ระหว่างปี 2555 ถึง 2565 อัตราการลงทะเบียนเรียนมีเพิ่มขึ้นจาก 30% เป็น 59.6% เนื่องจากคนหนุ่มสาวจำนวนมากขึ้นมองว่า ใบปริญญาจากวิทยาลัยเป็นใบเบิกทางสู่โอกาสที่ดีกว่า ในตลาดแรงงานที่มีการแข่งขันสูง แต่ความทะเยอทะยานกลับแปลงเปลี่ยนเป็นความผิดหวังให้กับตลาดแรงงาน ทั้งนี ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการว่างงานของหนุ่มสาวมีแนวโน้มที่จะเลวร้ายลงเนื่องจากมีนักศึกษาจบใหม่เข้าสู่ตลาดแค่ 11.6 ล้านคน

“สถานการณ์ค่อนข้างเลวร้าย ผู้คนต่างเหนื่อย และหลายคนพยายามที่จะไม่เข้าร่วม มีความรู้สึกสิ้นหวังอย่างมาก” มิเรียม วิคเคิร์ทไชม์ ผู้จัดการทั่วไปของบริษัทจัดหางาน ไดเรก เฮชอาร์ กล่าว

ในขณะที่ บรูซ ปัง หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ เกทส์เทอร์ ไชน่า ที่ โจนส์ แลง ลาซาล ระบุว่าการฟื้นตัวเองเศรษฐกิจในจีนช้ากว่าที่คาดไว้ นับเป็นปัจจัยสำคัญของอัตราการว่างงานสูง

แม้ว่ารัฐบาลจีนตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ แต่ในขณะเดียว พวกเขากลับพยายามมองข้ามปัญหาเหล่านี้

ในเดือน พ.ค. หนังสือพิมพ์ People’s Daily ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน รายงานอ้างคำพูดของสี โดยเชิญชวนให้คนหนุ่มสาว “กินความขมขื่น” ซึ่งเป็นสำนวนภาษาจีนกลางที่หมายถึงการอดทนต่อความยากลำบาก

ในขณะเดียวกัน สื่อรัฐบาลจีนได้กำหนดคำนิยามใหม่ของการว่างงาน ในหนังสือพิมพ์ Economic Daily ด้วยการใช้คำว่า “การเลือกที่จะเริ่มทำงานช้า” ในขณะที่ความเป็นจริง คือ คนหนุ่มสาวชาวจีนบางคนว่างงานจริง นอกจากนี้ หนังสือพิมพ์ดังระบุว่า คนเหล่านั้น ๆ “เลือกที่จะเริ่มทำงานช้า”

ที่มาของวลีนี้ไม่ชัดเจน แต่บทความในปี 2561 ของ China Youth Daily ระบุว่า มีผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยจำนวนมากใช้เวลาอย่างมาก ในการตัดสินใจเลือกงาน และหลายคนเลือกที่จะเดินทาง ท่องเที่ยว หรือรับงานสอนสั้นๆ แทน โดยชาวจีนเรียกสิ่งนี้ว่า “การเลือกที่จะเริ่มทำงานช้า”

คำจำกัดความนี้ ยังครอบคลุมไปถึงคนที่ยังหางานทำไม่ได้ หรือคนเลือกที่จะศึกษาต่อ เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ หรือใช้เวลาช่วงนี้ไปกับการค้นหาตัวเอง หนังสือพิมพ์ยังแนะนำผู้คนว่า ไม่ว่าตลาดแรงงานจะยากเย็นแค่ไหน พวกเขาต้อง “ทำงานหนักต่อไปเรื่อยๆ” และตราบใดที่พวกเขายังทำงานหนัก พวกเขาไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องการตกงาน

อย่างไรก็ดี เมื่อพูดถึงสถานะการตลาดแรงงานจีนในปัจจุบัน วลีและคำแนะนำดังกล่าวยังห่างไกลจากการตอบรับที่ดี บางคนรู้สึกประหลาดใจที่รัฐบาลของพวกเขา “ปฏิเสธที่จะยอมรับเกี่ยวสถานการณ์การว่างงาน” ในขณะที่คนอื่นๆ ตอบกลับวลีนี้ด้วยการประชดประชัน

“การเขียนในภาษาจีนนั้นลึกซึ้งมาก” ผู้ใช้คนหนึ่งบนเว็บไซต์เว่ยป๋อของจีนระบุ “เห็นได้ชัดว่าเราว่างงาน แต่ (ทางการ) กลับคิดค้นคำว่า ‘การเลือกที่จะเริ่มทำงานช้า’ มันจะช้าแค่ไหนกัน ไม่กี่เดือนหรือไม่กี่ปี”

ผู้ใช้อีกคนในแอปพลิเคชันเซียวฮงชูของจีน กล่าวว่า “ผลักภาระหน้าที่ความรับผิดชอบไปที่คนหนุ่มสาวทันทีเลยนะ”

“หากอิงจากคำอธิบายนี้ อัตราการจ้างงานในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในสหรัฐฯ ช่วงปลายทศวรรษ 1920 ควรอยู่ที่ 100% เนื่องจากคนส่วนใหญ่ตกงาน นี่หรอวิธีแก้ปัญหาระดับโลก!” 

“การว่างงานคือการว่างงาน เราควรเรียกมันตามสภาพความเป็นจริง” เนียรื่อหมิน นักวิจัยจาก สถาบันการเงินและกฎหมายเซี่ยงไฮ้ กล่าว

“อาจมีคนหนุ่มสาวที่ต้องการหยุดพักผ่อน ก่อนที่จะเริ่มงานใหม่ก็จริง แต่ฉันคิดว่าคนว่างงานส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้ เขาเฝ้ารอที่จะทำงานแต่หางานทำไม่ได้”

ที่มา:

https://www.bbc.com/news/world-asia-china-66172192

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่