ย้อนกลับไปดูว่า “เรือดำน้ำ” และ “เรือฟริเกต” มีที่มาอย่างไร
วันที่ 28 เม.ย.2558 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี อนุมัติในหลักการให้กองทัพเรือจัดหาเรือดำน้ำ 3 ลำ ซึ่งก่อนหน้านั้นกองทัพเรือรวบรวมข้อมูลพบว่า ทั่วโลกมีบริษัทต่อเรือดำน้ำ 6 แห่ง แต่ที่ยื่นข้อเสนอดีที่สุดคือจีน
วันที่ 18 เม.ย.2560 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี อนุมัติจัดซื้อเรือดำน้ำ 3 ลำ งบประมาณ 36,000 ล้านบาท ในเวลา 11 ปี ก่อนรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน จะลงนามข้อตกลง จ้างบริษัทต่อเรือดำน้ำ ลำแรก โดยส่งมอบ พ.ศ.2566
วันที่ 7 ต.ค.2562 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เห็นชอบงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ก่อนเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร กองทัพเรือของบฯ จัดซื้อเรือดำน้ำลำที่ 2-3
เดือนพ.ค.2563 ประเทศไทยเกิดวิกฤติโควิด-19 รัฐบาลขอให้แต่ละหน่วยงาน โอนงบประมาณปี 2563 ที่ยังไม่มีแผนการใช้ กลับมายังกองกลาง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาโควิด กองทัพเรือจึงคืนงบประมาณที่เตรียมไว้จัดซื้อเรือดำน้ำ
วันที่ 17 ก.ค.2564 กองทัพเรือเสนอจัดซื้อเรือดำน้ำ 2 ลำ จากงบประมาณประจำปี 2565 มูลค่า 2.2 หมื่นล้าน
วันที่ 19 ก.ค.2564 คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 ในส่วนกระทรวงกลาโหม ขอถอนวาระการจัดซื้อเรือดำน้ำ ออกไปก่อน
วันที่ 28 ก.พ.2565 พล.ร.อ.ปกครอง มนธาตุผลิน โฆษกกองทัพเรือ ระบุว่า การจัดซื้อเรือดำน้ำ จะไม่มีเครื่องยนต์ และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เนื่องจากเยอรมนีไม่ออกใบอนุญาตการขายให้กับจีน
วันที่ 21 ต.ค.2566 นายสุทิน คลังแสง รมว.กลาโหม พิจารณาชะลอการซื้อเรือดำน้ำและเปลี่ยนมาเป็นเรือฟริเกตกับประเทศจีน
วันที่ 22 ต.ค.2566 นายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ โฆษกคณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร ชื่นชม นายสุทิน คลังแสง ที่กล้าตัดสินใจยกเลิกสัญญาการซื้อ-ขายเรือดำน้ำ ของจีน หลังจากยืดเยื้อมานานกว่า 18 เดือน
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
“สุทิน” ย้ำกองทัพเรือเสนอมาเอง เปลี่ยน “เรือดำน้ำ” เป็น “เรือฟริเกต”
“กองเรือฟริเกต” ราชนาวีไทย มีที่มาอย่างไร? ในวงถกการเมืองไทย