Data Center และบริการคลาวด์ (cloud service) เป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญที่สุดของเศรษฐดิจิทัลระดับโลก เพราะปัจจุบันโลกเคลื่อนไปในทิศทางที่ทุกอย่างอยู่บนอินเทอร์เน็ตแทบทั้งหมดแล้ว
- Data Center คือสถานที่ที่ใช้ในการวาง Server ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ค ระบบจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ และโครงสร้างพื้นฐานคอมพิวเตอร์ Datat Center นั้นใช้พลังงานไฟฟ้าสูงมาก ประเทศสิงคโปร์ที่เป็นฮับสำคัญแห่งหนึ่งของโลกใช้ไฟฟ้า 7% ของทั้งประเทศไปในธุรกิจ Data Center นอกจากนี้ Data Center ยังมีหลายประเภทและหลายขนาด แต่ Hyperscale data center นั้นเป็นขนาดใหญ่ที่สุด สำหรับผู้ให้บริการขนาดใหญ่ เช่น Amazon, Meta และ Google
- World Ecomonic Forum ชี้ว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเป็นภูมิภาคที่เศรษฐกิจดิจิทัลเติบโตมาก ภายใน 10 ปีหน้าจะกลายเป็นเขตเศรษฐกิจลำดับ 4 ของโลก โดยเฉพาะช่วงโควิดิ่งทำให้ผู้บริโภคในภาคดิจิทัลเพิ่มขึ้นในอัตราเร่ง โดยในปี 2563 การใช้เวลาในออนไน์ของผู้คนในภูมิภาคนี้เพิ่ม 60% จากปีก่อนหน้า โดยเฉลี่ยใช้เวลากันหน้าจอมือถือ 4.2 ชั่วโมงต่อวัน มากกว่าค่าเฉลี่ยโลก 1.2 เท่า
- เมื่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีศักยภาพในการดึงดูดการลงทุนเรื่องนี้ หลายประเทศขยับผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัลและเชื้อเชิญนักลงทุนก่อนหน้าเราหลายปี เช่น
- 1.อินโดนีเซีย – .รัฐบาลอินโดนีเซียสร้าง Nongsa Digital Park ในบาตัมเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อเพิ่มการลงทุนในกิจการที่มีเทคโนโลยีสูง โดยเมื่อเร็วๆ นี้ บริษัทเทคโนโลยีของจีน GDS ให้คำมั่นที่จะลงทุนสูงถึง 260 ล้านดอลลาร์ ในการสร้าง Data Center ใน Nongsa Digital Park และ Huawei ยังลงทุนในศูนย์ข้อมูลในอินโดนีเซีย เช่นเดียวกับ Google ขณะที่ Amazon Web Services (AWS) ก็วางแผนที่จะลงทุนสูงถึง 5 พันล้านดอลลาร์ในอินโดนีเซียในระยะเวลา 15 ปี
- การส่งเสริมอุตสาหกรรมอย่างแข็งขันของรัฐบาลอินโดนีเซียได้นำไปสู่โครงการสำคัญๆ ที่กำลังดำเนินอยู่ ปัจจัยที่ผลักดันการเติบโตนี้ ได้แก่ ความต้องการบริการคอมพิวเตอร์คลาวด์ที่เพิ่มขึ้น และจำนวนประชากรที่มีขนาดใหญ่และเพิ่มขึ้นของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นตลาดสำหรับแอปพลิเคชันที่ต้องใช้ข้อมูลมาก สิ่งจูงใจของรัฐบาลเพื่อเชื้อเชิญนักลงทุน แต่ความท้าทายที่อุตสาหกรรม Data Center ในอินโดนีเซียต้องเผชิญ ได้แก่ การขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะ, ไฟฟ้าที่ยังไม่เสถียร และการพัฒนากฎระเบียบ
- 2. มาเลเซีย – Knight Frank ตรวจสอบตลาดใน 5 ประเทศสำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA-5) คือ ไทย, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม และพบว่า มาเลเซียคือประเทศอันดับหนึ่งที่มีศักยภาพเกี่ยวกับ Data Center พบว่า มาเลเซีย มีศักภาพเป็นอันดับ 1
- การเติบโตของ GDP ที่แข็งแกร่งของมาเลเซีย (8.7%) และการประกาศตัวจะเป็นผู้นำด้านคลาวด์ในภูมิภาค สำหรับ Amazon Web Services (AWS) และ Google เมื่อเร็วๆ นี้ ได้ทำให้ตำแหน่งของมาเลเซียแข็งแกร่งขึ้น ในขณะที่ตลาดอย่างเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และไทย คาดว่าจะไต่ขึ้นดัชนีเนื่องจากมีความน่าสนใจมากขึ้นสำหรับการลงทุนด้าน Data Center แต่ตัวเลขการครอบครองที่น้อยกว่าและความต้องการระบบคลาวด์ที่จำกัด อย่างไรก็ตาม แนวโน้มก็กำลังเปลี่ยนไปเนื่องจากผู้ให้บริการ Data Center ระดับโลกและผู้ให้บริการระบบคลาวด์เริ่มปรากฏตัวในตลาดเหล่านี้ในปีต่อๆ ไป
- มาเลเซียทำเรื่องนี้มานานแล้ว และ Microsoft ประกาศลงทุนทำ Data Center 1 พันล้านเหรียญสหรัฐในมาเลเซียมาตั้งแต่ปี 2564 การดึงไมโครซอฟท์ให้มาลงทุนนั้นเกิดขึ้นหลังจากมาเลเซียเห็นว่า การลงทุนโดยตรงจากกต่างประเทศ (FDI) ร่วง 68% ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ปี 2563 จึงรีบดำเนินการเรื่องนี้โดยเชื่อว่าจะเป็นตัวเปลี่ยนเกมสำหรับมาเลเซีย ไมโครซอฟท์ยังตกลงให้มีการอบรมเพิ่มทักษะทางดิจิทัลให้คนมาเลเซีย 1 ล้านคน ภายในปลายปีนี้ด้วย
- สำหรับประเทศไทยนั้นแม้จะมีศักยภาพและจุดแข็งมากมาย แต่ในช่วงการครองอำนาจยาวนานของรัฐบาลทหาร เราพลาดโอกาสในการพัฒนาและผลักดันตัวเองให้เป็น ‘ดิจิทัลฮับ’ ของอาเซียนตามที่เขียนไว้ในกระดาษ ปลายปี 2565 ครม.ประยุทธ์ เพิ่งจะอนุมัติตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติ ที่มียุทธศาสตร์ในการวางโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ และแผนพัฒนากำลังคน โดยเพิ่งเริ่มต้นสนับสนุนงานวิจัยให้หน่วยงานต่างๆ วงเงินประมาณ 1,290 ล้านบาท
- ข้อมูลประเทศไทยแสดงให้เห็นว่าเรามีศักยภาพที่จะเติบโตได้อีกมาก สถิติเดือนมกราคม 2564 จัดทำโดย Hootsuite ระบุว่า
- 69.5% ของประชากรเป็นผู้ใช้อินเตอร์เน็ตและตัวเลขนี้ก็จะยังคงอยู่ต่อไป เติบโตไปพร้อมกับการเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตของรัฐบาล
- 88.1% (ของผู้ที่มีอายุ 16 ถึง 64 ปี) ใช้วิธีการออนไลน์เพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์หรือบริการ
- 74.2% (ของผู้ที่มีอายุ 16 ถึง 64 ปี) ซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอพมือถือ
- การใช้จ่ายอีคอมเมิร์ซมีขนาดใหญ่ที่สุดในหมวดการเดินทางและที่พัก เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหาร การดูแลสุขภาพ มีการเติบโตสูงสุดในบรรดาทุกประเภทของธุรกรรมอีคอมเมิร์ซ
- เศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยคาดว่าจะมีสัดส่วน 25% ของ GDP ประเทศ ภายในปี 2570 เศรษฐกิจจะขับเคลื่อนด้วยการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ มีการใช้งานด้วยอินเทอร์เน็ตและมือถือระดับสูงตลอดจนการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
- ความต้องการในการสร้าง Data Center ทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างมาก มีการคาดการณ์ว่าตลาดในอาเซียนในปี 2567 จะมีมูลค่าสูงถึง 5,400 ล้านดอลลาร์
- speedtest.net ระบุว่า ประเทศไทยมีค่าเฉลี่ยความเร็วในการดาวน์โหลดเป็นอันดับ 2 ของโลก สำหรับโครงสร้างภายในตอนนี้เรามี 10 อินเตอร์เน็ตเกตเวย์, 11 จุดแลกเปลี่ยนอินเตอร์เน็ต, และมากกว่า 200 ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) และยังมี 13 เครือข่ายเคเบิลใต้น้ำและสถานีบนบกอีก 3 สถานี
- จากสถานการณ์ซบเซาทางเศรษฐกิจดิจิทัลที่ไทยเผชิญ ปัจจุบันความคึกคักเริ่มกลับมา เมื่อรัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของ ‘เศรษฐา ทวีสิน’ เริ่มสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนระดับโลก และสามารถปิดดีลการสร้างความร่วมมือ 3 บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี ในการเดินทางไปร่วมประชุมผู้นำความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (APEC)ที่สหรัฐอเมริกา ได้แก่
- 1.Amazon Web Services (AWS) จับมือพัฒนา Digital Transformation ลงทุนก่อสร้าง AWS Asia Pacific (Bangkok) Region ในประเทศด้วยงบประมาณกว่า 1.9 แสนล้านบาท เป็นระยะเวลากว่า 15 ปี เพื่อทำให้ไทยเป็นผู้นำในเศรษฐกิจดิจิทัล และฮับนวตกรรม ผ่านการมาลงทุนของเทคโนโลยีคลาวนด์ (AI, ML, data analytics, IoT) ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางด้านดิจิทัลที่สำคัญ
- นายกฯ ระบุว่าจะสนับสนุนให้เกิดการใช้คลาวน์ให้ครบทุกภาคส่วน เพื่อขับเคลื่อนประสิทธิภาพการพัฒนาบริการทางดิจิทัลให้แก่ประชาชนทั้งของรัฐและเอกชน รวมไปถึงในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และทักษะเรื่องคลาวน์เทียบเท่ามาตรฐานโลก
- 2. Google – มีการลงนาม MOU กับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) โดย Google พิจารณา ไทยเป็นหนึ่งในที่ตั้ง Data Center เพราะบริษัทมีแผนที่จะลงทุนสร้าง Data Center เพิ่มเติมในอาเซียน โดยเป็นแห่งที่ 4 ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
- “ความร่วมมือกับ Google เป็นก้าวสำคัญเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ของรัฐบาลในการปรับปรุงภาคส่วนต่างๆ ที่มีความสำคัญกับประชาชนชาวไทย ธุรกิจ และนักลงทุน ด้วยการลงทุนผ่านนโยบายการใช้งานระบบคลาวด์เป็นหลัก (Cloud-First Policies) พร้อมกับการสร้างไซเบอร์สเปซที่ปลอดภัย ความเชี่ยวชาญและการลงทุนจาก Google ในด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล รวมถึงการวิจัยทางด้านการใช้ AIอย่างมีความรับผิดชอบ การพัฒนาทักษะทางดิจิทัล และการรักษาความปลอดภัยของแพลตฟอร์มในระดับโลกจะช่วยให้ประเทศไทยทะยานสู่การเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เพิ่มโอกาสสร้างงานที่มีมูลค่าสูง และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน” นายกฯ กล่าว
- 3.Microsoft – มีการลงนาม MOU กับรัฐบาลไทยเพื่อปรับปรุงการให้บริการสาธารณะด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล โดยบริษัท Microsoft อยู่ระหว่างการศึกษาแผนการลงทุน Data Center ขนาดใหญ่ในประเทศไทย ทั้งนี้ ขอให้มั่นใจว่า การมาลงทุนในไทย จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยอย่างเต็มที่ ไทย ทราบว่า พลังงานสะอาดเป็นหนึ่งในปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญสำหรับธุรกิจของ Microsoft ในการบรรลุเป้าหมาย ESG โดยประเทศไทยทราบดีว่า พลังงานสะอาดเป็นหนึ่งในปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญสำหรับธุรกิจของ Microsoft ในการบรรลุเป้าหมาย ESG จึงเตรียมกลไกใหม่ที่เรียกว่า Utility Green Tariff (UGT) นำเสนอพลังงานหมุนเวียนพร้อมแหล่งที่ตรวจสอบย้อนกลับได้ มาพร้อมกับ REC (ใบรับรองพลังงานทดแทน) ไว้รองรับการลงทุน
อ้างอิง :
https://thediplomat.com/2023/09/southeast-asias-data-center-boom/
https://www.ey.com/en_ph/strategy/five-trends-for-data-center-transformation-in-southeast-asia
https://ai.in.th/wp-content/uploads/2023/08/AI-Thailand-Annual-2023-1.pdf
https://www.boi.go.th/upload/content/Infopack_CloudandDataCenter.pdf