16 สภาองค์การนายจ้าง เตรียมยื่นกระทรวงแรงงาน คัดค้านการเก็บเงินเข้ากองทุนความเสี่ยง มองรัฐบาลออกกฎหมายไม่เป็นธรรม-ซ้ำซ้อน ทำนายจ้างแบกต้นทุนสูง ไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจประเทศ
ที่ห้องเทเวศร์รำลึก สโมสรกองทัพบก สภาองค์การนายจ้าง ร่วมกับภาคีเครือข่ายนายจ้างฯ จัดงานแถลงข่าวคัดค้านการจัดตั้งกองทุนความเสี่ยง โดยกระทรวงแรงงาน ที่มีแนวคิดในการจัดเก็บเงินชดเชยไว้ก่อนล่วงหน้าจากนายจ้าง ซึ่งจะทำให้นายจ้างต้องจัดหาเงินจำนวนมหาศาลมาจ่ายให้กับกองทุนความเสี่ยงนี้ และหากนายจ้างรายใดไม่สามารถจ่ายเงินชดเชยไว้ก่อนลวงหน้าได้ จะเป็นผลให้บริษัท ห้างร้าน หรือ นายจ้างรายนั้นถูกดำเนินคดี และถูกสั่งปิดกิจการ ซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมอย่างแน่นอน
ประสาน ทองทิพย์ ประธานสมาคมนายจ้าง กล่าวว่า รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานพิจารณาบังคับนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยความเสี่ยงในสถานประกอบการให้ลูกจ้างเมื่อธุรกิจต้องเลิกกิจการ จึงเป็นการออกกฎหมาย พ.ร.บ. ไม่เป็นธรรมกับนายจ้างที่ประกอบธุรกิจตามปกติ เป็นการเพิ่มต้นทุนนายจ้าง 3-10 % ทุกเดือน และนายจ้างต้องจ่ายเงินทุกเดือนเหมือนประกันสังคม
แม้ว่าปัจจุบัน นายจ้างรับภาระกฎหมายบังคับหลายฉบับ ดังนี้
- จ่ายเงินประกันสังคมให้ลูกจ้างรายเดือน
- จ่ายเงินกองทุนเงินทดแทนล่วงหน้ารายปี
- จ่ายเงินค่าอบรมพัฒนาฝีมือแรงงานทุกปี
- จ้างลูกจ้างคนพิการ 1 คน ต่อลูกจ้างประจำ 100 คน
- ลูกจ้างเกษียณอายุ 6 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามอายุงานทุกคน
- ค่าจ้างวันลาคลอด 45 วัน
- ค่ารักษาพยาบาลเกินกฎหมายกำหนด
- ค่าชดเชยให้ออกจากงานตามอายุงานตาม พ.ร.บ คุ้มครองแรงาน พ.ศ.2541
ส่วนสิทธิที่ลูกจ้างได้รับอยู่แล้วตามกฎหมายปัจจุบัน คือ
- บำเหน็จ บำนาญ กรณีชราภาพจากประกันสังคม
- เงินว่างงานกรณีออกจากงานหรือนายจ้างหยุดงานจากประกันสังคม
ดังนั้น การออก พ.ร.บ. ค่าชดเชยความเสี่ยง จึงเป็นการออกกฎหมายป้องกัน สมมุติว่า นายจ้าง หยุดกิจการไม่มีเงินให้ลูกจ้างก็จะเอาเงินกองทุนนี้ให้ลูกจ้าง ข้อมูลนี้ ประเทศไทยไม่มีเหตุที่ลุกจ้างไม่ได้รับเงินชดเชยเพราะกฎหมายแรงงานบังคับให้ยึดทรัพย์นายจ้างมาจ่ายค่าชดเชยได้ก่อนหนี้ของนายจ้างอื่นๆ
ผลกระทบที่เกิดขึ้น คือ นายจ้างดีๆ ในประเทศมีมากมาย ส่วนนายจ้างที่ไม่มีเงินจ่ายชดเชยให้ลูกจ้าง เมื่อตรวจสอบแล้วน้อยมากหรือเกือบไม่มี แต่รัฐบาลจะออกกฎหมายค่าชดเชยเพื่อเป็นกองทุนของรัฐเท่านั้น ไม่ได้ออกกฎหมายเพื่อลูกจ้างอย่างจริงจัง เป็นการสมมุติของหน่วยงานรัฐหรือรัฐบาลเอง
ประสาน เห็นว่า การคุ้มครองแรงงาน กับการคุ้มครองนายจ้างต้องควบคู่กันไป ตามคำนิยาม พ.ร.บ.กระทรวงแรงงาน “นายจ้างอยู่ได้ ลูกจ้างอยู่ดี” แต่การมีกฎหมายนี้ เมื่อนายจ้างล้มละลายด้วยต้นทุนสูง ต่อไปลูกจ้างก็ไม่มี เพราะไม่มีนายจ้าง แล้วเราจะออกกฎหมายชดเชยเพื่อใคร ออกมาทำไม
ทั้งนี้ ขออย่าเพิ่มต้นทุนให้นายจ้างจนเป็นเหตุให้นายจ้างต้องล้มละลาย แล้วกลับมาเป็นลูกจ้าง และขอให้คำนึงถึงการลงทุนจากต่างประเทศ หากมีกฎหมายมาก ก็คือต้นทุนมาก ก็จะไม่มีชาติไหนมาลงทุน แม้แต่คนชาติไทยก็หนีไปลงทุนชาติอื่นเช่นกัน
ที่มา: https://www.youtube.com/live/htYQFoENsyg?si=kjHX3-IRU-ZxnWBH