หน้าแรก Voice TV อัยการสั่งฟ้อง 4 ผู้ต้องหาคดีเหมืองทองอัครา ส่งตัวฟ้องศาล 24 ม.ค.-ขอออกหมายจับจำเลยที่ 3

อัยการสั่งฟ้อง 4 ผู้ต้องหาคดีเหมืองทองอัครา ส่งตัวฟ้องศาล 24 ม.ค.-ขอออกหมายจับจำเลยที่ 3

92
0
อัยการสั่งฟ้อง-4-ผู้ต้องหาคดีเหมืองทองอัครา-ส่งตัวฟ้องศาล-24-มค.-ขอออกหมายจับจำเลยที่-3

ฟ้องเหมืองทองอัคราสำนวนเเรก ‘วิรุฬห์’ อธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษเผยคณะทำงานอัยการคดีพิเศษสั่งฟ้อง 4 ผู้ต้องหา คดีอัครารีซอร์สเซส กับพวกทุกข้อหา ยึดที่ดินรัฐ-ครอบครองป่า-สร้างตะแกรงรุกทางหลวง นัดส่งตัวฟ้อง 24 ม.ค.ปีหน้า ขอศาลออกหมายจับจำเลยที่ 3 หลบหนีเเล้ว

เมื่อวันที่ 31 ธ.ค. วิรุฬห์ ฉันท์ธนนันท์ อธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษได้เปิดเผยความคืบหน้าขั้นตอนภายหลังพนักงานอัยการสำนักงานคดีพิเศษ รับสำนวนจากพนักงานสอบสวนพนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เป็นคดีพิเศษที่ 17 /2559ที่มีการกล่าวหา บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน)กับพวกรวม 4 คน ผู้ต้องหา ในความผิดฐาน

 1. ร่วมกันยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นความผิด ตามมาตรา 9 ประกอบมาตรา 108 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน, ร่วมกันทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สินที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณะประโยชน์ อันเป็นความผิดตามมาตรา 360 , 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

2.ร่วมกันยึดถือครอบครองพื้นที่ป่าไม้ถาวรโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตามมาตรา 54, 55, 72ตรี แห่ง พรบ.ป่าไม้ พ.ศ.2484

3. ร่วมกันก่อสร้างตะแกรงรุกล้ำเข้าไปในเขตทางหลวงโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตามมาตรา 47 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 72 แห่ง พรบ.ทางหลวง พ.ศ.2535 และร่วมกันทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สินที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณะประโยชน์ อันเป็นความผิดตามมาตรา 360 , 83แห่งประมวลกฎหมายอาญา

คดีนี้ทางดีเอสไอได้นำสอบสวนมาตั้งแต่ปี 2559 และส่งมาทางให้พนักงานอัยการคดีพิเศษเมื่อปี 2561

ซึ่งภายหลังจากที่ได้มีการส่งสำนวนให้ทางสำนักงาน อัยการคดีพิเศษก็ได้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาตรวจพิจารณา โดยอธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษและคณะทำงานก็มีการเปลี่ยนเเปลงคณะทำงาน เนื่องจากมีการโยกย้ายกันตามวาระ แต่คดีนี้ได้มีการสอบสวนเพิ่มเติมมาหลายครั้ง ซึ่งต้องใช้เวลาในการสอบสวนเนื่องจากมีการขอความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายมาโดยตลอด

ไม่ว่าจะเป็นจากชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบในละแวกที่เกิดเหตุ และทางฝั่งผู้ต้องหาก็มีการขอความเป็นธรรมด้วยเมื่อได้พิจารณาตรวจสำนวนโดยคณะทำงานดูแล้วพนักงานอัยการก็มีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนดีเอสไอทำการสอบสวนเพิ่มเติมเรื่อยมาเฉพาะในประเด็นที่สำคัญที่สามารถบ่งชี้ได้ว่าผู้ต้องหากระทำความผิดหรือบริสุทธิ์ ซึ่งมีการสอบสวนเพิ่มเติมมาโดยตลอดเลยเมื่อจนเมื่อเร็วๆนี้ ทางคณะทำงานอัยการก็ได้รับผลการสอบสวนเพิ่มเติม จากนั้นเราก็ได้มีการร่วมพิจารณาพยานหลักฐานโดยคณะทำงานก็คืออัยการสำนักงาน คดีพิเศษฝ่าย4 เจ้าของสำนวน โดยมีรองอธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษเป็นหัวหน้าคณะทำงาน และตนในฐานะอธิบดีอัยการคดีพิเศษก็ได้ร่วมพิจารณาประชุมกันในสำนวนคดีนี้ด้วย เมื่อได้พิจารณาตรวจสำนวนแล้วปรากฏว่าสำนวนหลักฐานที่ส่งมาฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 4 คนตามข้อกล่าวหาทั้งหมด 3 ข้อหา 

จึงมีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนมีการเรียกตัวผู้ต้องหา 3 คนมาพบพนักงานอัยการในวันที่ 24 ม.ค. 2567 เวลา 10.00น. เพื่อนำตัวยื่นฟ้องศาล ในส่วนมีผู้ต้องหา 1 รายคือผู้ต้องที่ 3 ที่หลบหนี ทางพนักงานอัยการก็ให้พนักงานสอบสวนไปดำเนินการขอออกหมายจับมาภายในอายุความ 10 ปีซึ่งทราบว่าได้มีการออกหมายจับเเล้ว

อยากเรียนว่าสำหรับคดีนี้เป็นคดีที่มีพยานเอกสารจำนวนมาก มีประเด็นที่มันสลับซับซ้อน เป็นประเด็นสำคัญที่เป็นคดีระดับประเทศ ดังนั้นพนักงานอัยการจึงต้องพิจารณาสำนวนนี้อย่างรอบคอบและละเอียดถี่ถ้วนด้วยความอุตสาหะและความตั้งใจ ซึ่งสังกัดพนักงานอัยการสำนักงานคดีพิเศษ 4 โดยมีการร่วมพิจารณาสำนวนกับหัวหน้าคณะทำงาน คือรองอธิบดีอัยการคดีพิเศษและตนร่วมประชุมจนสั่งคดีนี้ได้ ต้องขอขอบคุณอัยการทุกคนที่ได้ร่วมกันทำงานเเละเร่งรัดติดตามมาโดยตลอดอย่างแข็งขัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับคดีนี้เป็นคดีเหมืองทองอัคราสำนวนเเรกที่ทางอัยการพิจารณาเเล้วเสร็จ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการสอบสวนเพิ่มเติมมาเป็นเวลานานและมาเสร็จสิ้น พร้อมกับมีการสั่งคดีในสมัยของ วิรุฬห์ เป็นอธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ

โดยมีผู้ต้องหาทั้งหมด 4 รายประกอบด้วย

1.บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ผู้ต้องหาที่ 1

2.ปกรณ์ สุขุม ผู้ต้องหาที่ 2

3.ไมเคิล แพรทริค โมโนกาน ผู้ต้องหาที่ 3

4. เชิดศักดิ์ อรรถอารุณ ผู้ต้องหาที่ 4

โดยในส่วนความผิดกรณีการเข้ายึดถือครอบครองที่ป่า และออกเอกสารสิทธิ์โฉนดที่ดินทับที่ป่า ในแปลงประทานบัตร 26920/15807และแปลงประทานบัตรที่ 26922/15805ได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาดำเนินการ และกรณีความผิดเกี่ยวกับ พรบ.โรงงาน พ.ศ.2535และ พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535และความผิดที่เกี่ยวข้อง ได้อนุมัติให้แยกเลขคดีพิเศษ เพื่อทำการสอบสวนต่อไป

ทั้งนี้  เหมืองแร่ทองคำชาตรี หรือที่เรียกกันว่า เหมืองทองอัครา ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่คาบเกี่ยว 3 จังหวัด ได้แก่ พิจิตร เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก

บริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดทเต็ด ลิมิเต็ด ของออสเตรเลีย ได้สัมปทานตั้งแต่ปี 2543 ยุครัฐบาลชวน หลีกภัย และมอบให้บริษัทลูก บ.อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) (ชื่อเดิม อัคราไมนิ่ง) เป็นผู้ดำเนินการเหมืองทอง

ก่อนหน้านี้คิงส์เกตมีการฟ้องร้องต่ออนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศเรียกร้องให้รัฐบาลไทยชดเชยค่าเสียหายกว่า 750 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 26,000 ล้านบาท หลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลงนามในคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่ง ชาติที่ 72/2559 สั่งปิดเหมืองทอง เมื่อเดือน พ.ค. 2559 หลังดำเนินการมาหลายปี และมีชาวบ้านร้องเรียนเรื่องผลกระทบ คดีดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดเช่นกัน

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่