หน้าแรก Voice TV เคลียร์ชัดๆ! ครม.เห็นชอบ 'ลด' ปริมาณครอบครอง 'ยาบ้า-ยาไอซ์' จาก 5 เม็ด เป็น 1 เม็ด เท่ากับ...

เคลียร์ชัดๆ! ครม.เห็นชอบ 'ลด' ปริมาณครอบครอง 'ยาบ้า-ยาไอซ์' จาก 5 เม็ด เป็น 1 เม็ด เท่ากับ 'โทษหนักขึ้น' ?

80
0
เคลียร์ชัดๆ!-ครม.เห็นชอบ-'ลด'-ปริมาณครอบครอง-'ยาบ้า-ยาไอซ์'-จาก-5-เม็ด-เป็น-1-เม็ด-เท่ากับ-'โทษหนักขึ้น'-?

ตัดวงจรยาเสพติด ลดการถือครองยาเสพติดเพื่อค้า รัฐบาลเอาจริง! เห็นชอบกฎกระทรวง ‘ลด’ ปริมาณครอบครองยาบ้า-ยาไอซ์ จาก 5 เม็ด เป็น 1 เม็ด ย้ำ ‘ยาเสพติดผิดกฎหมาย’ ผู้ค้าโทษหนัก ผู้เสพต้องบำบัด

จากที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ที่ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ที่ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ พ.ศ. 2567 เพื่อกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (แอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีน) ที่ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพใหม่ เพื่อให้การกำหนดปริมาณยาเสพติดดังกล่าวสอดคล้องกับสถาณการณ์ยาเสพติดในปัจจุบัน 

IMG_20240611121858000000.jpg

สืบเนื่องมาจาก กฎกระทรวงกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ที่ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ พ.ศ.2567 มีผลให้ใช้บังคับเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมาเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมและมีผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมากไม่เห็นด้วยกับการกำหนดปริมาณแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีน และมีข้อร้องเรียนให้พิจารณาทบทวนปรับปรุงหรือยกเลิกกฎกระทรวงดังกล่าวรวมถึงปัญหาการตีความและการบังคับใช้

เพื่อเป็นหลักให้ผู้ปฏิบัติงานและเป็นแนวทางในการดำเนินการด้านยาเสพติดที่รัดกุม ชัดเจน สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี จึงได้สั่งการให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แก้ไขกฎกระทรวงตามข้อ 2. ให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย และหลักการ ‘เปลี่ยนผู้เสพ เป็นผู้ป่วย’ ให้โอกาสผู้เสพได้เข้ารับการบำบัดรักษา

สธ. จึงแต่งตั้งคณะทำงานทบทวนกฎกระทรวงกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ที่ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ พ.ศ. 2567 โดยที่ประชุมคณะทำงานดังกล่าวได้ประเมินผลกระทบจากกฎกระทรวงดังกล่าวพบว่าเกิดผลกระทบในด้านสังคม กฎหมาย และการแพทย์ จึงมีมติ

‘เห็นชอบให้แก้ไขกฎกระทรวงดังกล่าวโดยแก้ไขเฉพาะ ‘ปริมาณแอมเฟตามีน (ยาบ้า) และเมทแอมเฟตามีน (ยาไอซ์)’ โดยกำหนดให้ ปริมาณแอมเฟตามีน มีปริมาณไม่เกิน 1 หน่วยการใช้ หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่เกิน 100 มิลลิกรัม และเมทแอมเฟตามีน มีปริมาณไม่เกิน 1 หน่วยการใช้ หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่เกิน 100 มิลลิกรัม หรือในกรณีที่เป็นเกล็ด ผง ผลึก มีน้ำหนักสุทธิไม่เกิน 20 มิลลิกรัม’

สธ. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ที่ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพฯ ดังนี้ 

การมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ประเภท 2 หรือประเภท 5 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 ในปริมาณเล็กน้อย ตามที่กำหนดดังต่อไปนี้ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ ได้แก่

1. แอมเฟตามิน มีปริมาณไม่เกินหนึ่งหน่วยการใช้ (1 เม็ด) หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่เกินหนึ่งร้อยมิลลิกรัม (100 มิลลิกรัม)  

(จากเดิมที่ประกาศเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 กำหนดไว้ไม่เกิน 5 เม็ด หรือมีน้ำหนักสุทธิ ไม่เกิน 500 มิลลิกรัม)

2. เมทแอมเฟตามิน มีปริมาณไม่เกินหนึ่งหน่วยการใช้ (1 เม็ด) หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่เกิดหนึ่งร้อยมิลลิกรัม (100 มิลลิกรัม) หรือในกรณีที่เป็นเกล็ด ผล ผลึก มีน้ำหนักสุทธิไม่เกินยี่สิบมิลลิกรัม (20 มิลลิกรัม )

(จากเดิมที่ประกาศเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 กำหนดไว้ไม่เกิน 5 หน่วยการใช้ หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่เกิน 500 มิลลิกรัม หรือในกรณีที่เป็นเกล็ด ผง ผลึก มีน้ำหนักสุทธิไม่เกิน 100 มิลลิกรัม)

ยาบ้า-ยาเสพติด

‘เพื่อให้เจ้าหน้าที่ ตำรวจ ศาล หรือผู้เกี่ยวข้อง มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และเป็นไปเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ต้องการให้โอกาสแก่ผู้ที่ครอบครองยาเสพติดหรือวัตถุออกฤทธิ์ไว้เพื่อการเสพ โดยไม่ถือเป็นโทษความผิดร้ายแรงและได้รับการพิจารณาให้เข้ารับการบำบัดรักษา โดยให้พิจารณาควบคู่กับพฤติกรรมอื่นที่เกี่ยวกับการจำหน่ายยาเสพติด หรือระดับความรุนแรงของการเสพยาเสพติดของบุคคลนั้นร่วมด้วย

รวมทั้งเพื่อป้องกันการแพร่กระจายยาเสพติดและการใช้ยาเสพติดอันเป็นการอำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในการจำแนกระหว่างผู้ค้ากับผู้เสพ ซึ่งการกำหนดปริมาณไม่เกิน 1 หน่วยการใช้หรือ 1 เม็ด จะทำให้ผู้ค้ารายย่อยลดลง ถือเป็นการตัดวงจรการแพร่ระบาดของยาเสพติดและลดการถือครองยาเสพติดเพื่อค้า’ นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเมื่อที่ 11 มิถุนายน 2567

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่