- “Pride Month 2567” อัปเดต “สมรสเท่าเทียม” กฎหมายถึงขั้นไหน
- สิทธิควรรู้ “สมรสเท่าเทียม” ช่วยคู่รัก LGBTQIA+ อะไรบ้าง ?
วันนี้ (18 ม.ย.2567) ความคืบหน้ากรณีการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ “ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม” หลังได้รับการบรรจุเป็น 1 ในระเบียบวาระการประชุมวุฒิสภาสมัยวิสามัญ
ล่าสุด ที่ประชุมวุฒิสภา มีมติเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.เพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (สมรสเท่าเทียม) ด้วยคะแนนเห็นด้วย 130 เสียง ไม่เห็นด้วย 4 เสียง งดออกเสียง 18
ไม่ลงคะแนนเสียง 0 ผู้ลงมติ 152 เสียง
หลังที่ประชุม วุฒิสภาเห็นชอบ ร่างกฎหมายดังกล่าว โดยไม่มีการแก้ไข ให้ นายกฯ, สส. หรือ สว. ยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างกฎหมายดังกล่าวว่าไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ ก็ให้นายกฯ นำขึ้นทูลเกล้าเพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย จากนั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมาย มีผลบังคับใช้ทันทีหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา 120 วัน
อ่านข่าว : จับตา สว.พิจารณาร่าง กม.สมรสเท่าเทียม เช็กสถานะคู่รักหลากเพศทั่วโลก
เสียงสะท้อนความหลากหลาย ปลุกสังคมไทยเปลี่ยนทัศนคติต่อ LGBTQIAN+
สภาฯ ฉลุย 400 เสียงผ่านร่าง “กฎหมายสมรสเท่าเทียม”