หน้าแรก Voice TV ‘นิกร’ เรียกร้อง กธม.สว. ศึกษาปัญหาการเลือก สว.ชุดใหม่ เพื่อนำไปแก้ไขในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มิใช่เพื่อสกัด สว.ชุดใหม่

‘นิกร’ เรียกร้อง กธม.สว. ศึกษาปัญหาการเลือก สว.ชุดใหม่ เพื่อนำไปแก้ไขในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มิใช่เพื่อสกัด สว.ชุดใหม่

84
0
‘นิกร’-เรียกร้อง-กธมสว-ศึกษาปัญหาการเลือก-สวชุดใหม่-เพื่อนำไปแก้ไขในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่-มิใช่เพื่อสกัด-สว.ชุดใหม่
‘นิกร’ เรียกร้อง กธม.สว. ศึกษาปัญหาการเลือก สว.ชุดใหม่ เพื่อนำไปแก้ไขในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มิใช่เพื่อสกัด สว.ชุดใหม่

‘นิกร’ เรียกร้อง กธม.สว.ชุดรักษาการ ศึกษาตรวจสอบการเลือก สว.ชุดใหม่ ในปัญหาหลักที่มาจากรัฐธรรมนูญปี 2560 และจาก พรป.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย “การได้มา” ซึ่งวุฒิสมาชิกปี 2561 เพื่อเสนอให้ สสร.นำไปแก้ไขในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มิใช่มีเป้าหมายเพื่อ “การทำให้เสียไปซึ่งวุฒิสมาชิกชุดใหม่”

นายนิกร จำนง ในฐานะโฆษกคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางการทำประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ให้ความเห็นต่อกรณีการที่วุฒิสภาชุดรักษาการได้มีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาตรวจสอบการเลือกวุฒิสภาว่า ‘แม้ว่าส่วนตัวตนไม่เห็นด้วยกับการดำเนินการดังกล่าวเพราะมีเวลาไม่เพียงพอที่ทำให้เกิดเป็นผลขึ้น เพราะตนเชื่อว่าอีกไม่ช้าหลังจาก กกต. ตรวจสอบเพียงพอตามสมควรแล้วก็จะประกาศรับรอง เพราะ กกต. มีหน้าที่ต้องทำหน้าที่ตามพรป.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย “การได้มา” ซึ่งวุฒิสมาชิกปี 2561 ที่ใช้บังคับอยู่มิอาจทำหน้าที่ “ทำให้เสียไป” ซึ่งวุฒิสมาชิก เพราะจะนำมาซึ่งปัญหาในเชิงระบบการเมืองทั้งระบบ ทั้งจะถูกฟ้องร้องว่ามิปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยตรงจากผู้ที่ผ่านการเลือกมาอย่างแน่นอน นอกจากนั้นอีกมุมหนึ่งการดำเนินการตั้งกรรมาธิการขึ้นมาครั้งนี้อาจสุ่มเสี่ยงต่อการถูกมองว่าเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ในการดำรงตำแน่งวุฒิสมาชิกต่อไปอีกโดยไม่จำเป็น’

‘แต่ด้วยความเคารพในมติของที่ประชุมวุฒิสภา ในเมื่อตั้งขึ้นมาแล้วก็ควรทำให้เกิดประโยชน์ขึ้นจากเวลาที่เหลืออยู่ให้มากที่สุด นั่นคือ สรุปปัญหาหลักที่มาจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญปี 2560 ในหมวดที่ 7 รัฐสภา ในส่วนที่ 3 ว่าด้วยวุฒิสมาชิก ซึ่งปรากฏเป็นที่ชัดเจนจากการปฏิบัติจริงแล้วว่ามีปัญหา โดยเฉพาะในมาตรา 107 เพื่อเสนอให้ สสร.นำไปแก้ไขในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กันต่อไป และจาก พรป.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งวุฒิสมาชิกปี 2561 ที่มิได้ยกร่างมาจากระบบสภาปกติ ซึ่งมีความคุมเครือไม่ชัดเจนทั้งขั้นตอนและวิธีการในการเลือก สว. ตามที่ได้เห็นกันชัดแจ้งแล้วว่ามีอยู่หลายประเด็นมาก ทั้งความชัดเจนในคุณสมบัติ กลุ่มอาชีพของผู้สมัคร การเลือกไขว้จากต่างกลุ่มอาชีพที่ไม่รู้จักกัน แม้แต่วันประกาศผลการได้มาของการเลือกก็ปล่อยลอยไว้อย่างไม่มีกำหนดว่าเป็นเมื่อใด อย่างไรก็ตามก็เป็นเรื่องดีที่ในคณะกรรมาธิการของวุฒิสภาที่ตั้งขึ้นชุดนี้มีอดีตกรรมาธิการยกร่าง พรป. ฉบับเจ้าปัญหานี้อยู่ด้วย ในเมื่อท่านเองเป็นคนผูกปมปัญหาขึ้นมา ก็เชื่อว่าท่านย่อมรู้ว่าจะแก้ปมปัญหานั้นอย่างไร แล้วชี้ให้คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมาย พรป. ชุดหน้านำไปออกกฎหมายใหม่ให้ดีกว่านี้

นายนิกร จำนง กล่าวในที่สุดว่า ‘มนุษย์เรานั้นในเมื่อไม่สามารถหมุนย้อนเวลากลับมาเพื่อแก้ปัญหาที่ทำกันมาในอดีตได้ ก็ต้องเรียนรู้และยอมรับข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นแล้วแก้ไขกันต่อไป กรณีนี้ควรใช้เวลาที่มีศึกษาแนวทางแก้ไขสรุปเตรียมเสนอไปยัง สสร.ชุดใหม่ให้จัดทำบทบัญญัติที่ดีกว่าในส่วนที่ว่าด้วยวุฒิสภาของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะมีขึ้นและนำเสนอแนวทางการบัญญัติกฎหมายลูกว่าด้วยการได้มาซึ่งวุฒิสมาชิกเกี่ยวกับกับปัญหาที่อยู่ซึ่งหน้านี้เสียใหม่ เราต้องลุกขึ้นแล้วเดินหน้าต่อไปให้ดีที่สุดเท่าที่พึงกระทำได้ มิใช่หมุนวนจมอยู่กับปัญหานี้แล้วดึงประเทศชาติและประชาชนซึ่งกำลังยากลำบากอยู่ให้จมลงไปด้วยกัน’

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่