หน้าแรก Voice TV ‘ทวี’ รมว.กระทรวงยุติธรรม ตรวจราชการนราธิวาส มุ่งปลดภาระผู้ค้ำ-พ่อแม่ แก้หนี้ กยศ. สร้างโอกาสให้ประชาชน

‘ทวี’ รมว.กระทรวงยุติธรรม ตรวจราชการนราธิวาส มุ่งปลดภาระผู้ค้ำ-พ่อแม่ แก้หนี้ กยศ. สร้างโอกาสให้ประชาชน

103
0
‘ทวี’-รมวกระทรวงยุติธรรม-ตรวจราชการนราธิวาส-มุ่งปลดภาระผู้ค้ำ-พ่อแม่-แก้หนี้-กยศ.-สร้างโอกาสให้ประชาชน
‘ทวี’ รมว.กระทรวงยุติธรรม ตรวจราชการนราธิวาส มุ่งปลดภาระผู้ค้ำ-พ่อแม่ แก้หนี้ กยศ. สร้างโอกาสให้ประชาชน

พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดนราธิวาส มุ่งปลดภาระผู้ค้ำ-พ่อแม่ แก้หนี้ กยศ. แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสให้ประชาชน

พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดนราธิวาส วันนี้ (22 กรกฎาคม 2567) โดยมีกำหนดการประชุมการแก้ไขบรรเทาความเดือดร้อนของลูกหนี้ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จังหวัดนราธิวาส ณ ห้องประชุม ที่ว่าการอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส โดยมี นายอำเภอระแงะ ตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส ยุติธรรมจังหวัดนราธิวาส ตัวแทน ศอ.บต. ผู้นำท้องถิ่นในพื้นที่นราธิวาส ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมให้การต้อนรับ และเข้าร่วมประชุมด้วย

โดยมี ลูกหนี้ กยศ. ที่อยู่ระหว่างชำระหนี้ บางส่วนถูกดำเนินคดี บางส่วนถูกบังคับคดี มีมากถึง 57,313 ราย เป็นหนี้เงินต้น ประมาณ 6,676 ล้านบาท เป็นดอกเบี้ยกับเบี้ยปรับ 1,581 ล้านบาทเศษ และยังมีผู้ค้ำประกันประมาณ 5 หมื่นคน ส่วนใหญ่เป็นบิดา มารดา หรือญาติ ที่ภายหลังจากแก้กฏหมายใหม่มีผลใช้บังคับ 20 มีนาคม 2566 ลูกหนี้ทุกคน(ประมาณ 6.8 ล้านราย) จะได้รับผลประโยชน์ทุกคน จากการปรับโครงสร้างหนี้แม้มีคำพิพากษาแล้ว หรือถูกบังคับคดี ยึดทรัพย์ และขายทอดตลาด คือ

– เดิมเบี้ยปรับ 18% จะเหลือ 0.5%

– เดิมดอกเบี้ย 7.5% เหลือ 1%

– เดิมเบี้ยปรับ+ดอกเบี้ยรวมกัน 25.5% ตามกฏหมายใหม่จะเหลือ 1.5%

และที่สำคัญเงินที่ลูกหนี้ที่ชำระเดิม จะถูกนำไปหักเป็นเบื้ยปรับ>ดอกเบี้ย>เงินต้น แต่กฎหมายจะเปลี่ยนลำดับเป็น เงินต้น>ดอกเบี้ย>เบี้ยปรับ ซึ่งส่งผลให้มีผู้กู้เงิน กยศ. ได้รับประโยชน์ คือ

กลุ่มที่ 1 ผู้ที่ชำระเงินเกินและต้องรับชำระคืนจาก กยศ. 

กลุ่มที่ 2 ผู้ที่ส่งเงินไปครบแล้วแต่ยังต้องส่งอีกเพราะ กยศ. ไม่คิดหนี้ใหม่และต้องถูกนายจ้างหักเงินเดือนได้รับความเสีย

กลุ่มที่ 3 ผู้ที่ยังส่งไม่ครบ แต่เนื่องจากเงินที่ส่งไปแล้วไปหักเงินต้นก่อน มีเบี้ยปรับและดอกเบี้ยน้อยจึงลดหนี้ลงจำนวนมาก

กลุ่มที่ 4 ผู้ที่ค้ำประกันทุกคนจะยกเลิกทันทีเมื่อลูกหนี้มาปรับโครงสร้างหนี้ ทั้งประเทศมีจำนวนมากถึง 2.8 ล้านคน เฉพาะนราธิวาสมีผู้ค้ำประกันมากกว่า 5 หมื่นคน 

452234225_467014472744689_2837119932690444393_n.jpg

การจัดกิจกรรมมหกรรมแก้หนี้ฯ ที่ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ในวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม 2567 ผ่านมา มีลูกหนี้มาขอปรับโครงสร้างหนี้มากจนทำไม่ทัน จำนวนหลายพันคนต้องลงทะเบียนไว้ ดังนั้นเพื่อนำความยุติธรรมเข้าหาประชาชน กระทรวงยุติธรรม จะมอบให้ยุติธรรมจังหวัด กรมบังคับคดี กรมคุ้มครองสิทธิฯ  กองทุน กยศ. ศอ.บต. และจังหวัดนราธิวาส ร่วมกันช่วยเหลือผู้ค้ำประกันในจังหวัดนราธิวาสให้ปลดผู้ค้ำทั้งหมด 5 หมื่นกว่าคน และให้ลูกหนี้ทั้งหมดได้ปรับโครงสร้างหนี้ วางแผนให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2567 นี้ 

452273468_467014502744686_8282077742142624720_n.jpg

โดยในวันที่ 17-19 สิงหาคม นี้ จะให้ กระทรวงยุติธรรม ศอ.บต. และ กยศ. ลงมาบริการลูกหนี้ กยศ. และปลดผู้ค้ำประกันให้มากที่สุด ส่วนที่เหลือ กยศ. จะมอบอำนาจให้ ศอ.บต. อำนวยการให้สำนักงานยุติธรรมจังหวัด กรมบังคับคดี หรือหน่วยงานผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่เป็นศูนย์บริการแก้หนี้ กยศ. ต่อไป โดยเป้าหมายสิ้นธันวาคม 2567 ต้องปลดผู้ค้ำประกันให้หมด หรือเหลือ 0 คน

ต่อมา พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้เดินทางต่อยังไปโรงเรียนดารุสลาม เขตเทศบาลตำบลตันหยงมัส อ.ระแงะ เพื่อไปร่วมงานการจัดงานสมทบทุนการก่อสร้างอาคารต่วนฆูรูฮัจญีเปาะซู ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาที่ถือว่าใหญ่ที่สุดของ จังหวัดนราธิวาส 

โดย พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้กล่าวชื่นชมการศึกษาของโรงเรียนดารุสสาลาม ที่เป็นสถานที่สมัยดำรงตำแหน่ง เมื่อครั้งเป็นเลขาธิการ ศอ.บต ได้มาเยี่ยมโรงเรียนแห่งนี้เป็นแห่งแรก ยังจำได้ว่าท่านฟัครุดดีน บอตอ ผู้บริหารโรงเรียนได้กล่าวว่า ‘การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องให้การศึกษานำการเมืองการทหาร โดยเฉพาะโรงเรียนแห่งนี้เป็นโรงเรียนที่จัดการศึกษาดีมีคุณภาพ มีศิษย์ที่ประสบความสำเร็จมากมาย ที่ศึกษาต่อในประเทศและต่างประเทศ การศึกษาระหว่างโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา กับโรงเรียนของรัฐบาล 

แม้เงินอุดหนุนให้โรงเรียนเอกชนน้อยกว่าโรงเรียนของรัฐบาลอยู่มาก ถือว่าเป็นความเหลื่อมล้ำในการส่งเสริมการศึกษา แต่ประชาชนก็นิยมส่งลูกหลานให้เรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา เพราะสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ การศึกษามีความสำคัญมาก เป็นเครื่องชี้อนาคตที่ดีของประเทศ 

ยกตัวอย่างในเรือนจำจังหวัดนราธิวาส มีผู้ต้องราชทัณฑ์ ที่ถูกขังมากกว่า 4,000 คน พบว่ามากกว่า 80% เป็นผู้ไม่ได้รับการศึกษา มีการศึกษาระดับประถมศึกษา หรือมีการศึกษาระดับมัธยมต้น ที่ต่ำกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ ม. 6 ที่รัฐบาลให้เรียนฟรี ซึ่งผู้มีการศึกษาต่ำส่วนใหญ่จะเป็นผู้กระทำผิดยาเสพติดอีกด้วย 

ดังนั้นถือว่าโรงเรียนแห่งนี้ได้สร้างคุณประโยชน์มากมาย เพราะนอกจากสร้างอนาคตที่ดีแล้ว ผู้ที่จบการศึกษาจากสถาบันแห่งนี้ไม่มีการเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ผมมีความเชื่อมั่นเช่นเดียวกับบาบอที่การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ และการแก้ปัญหาความยากจน จะต้องแก้ที่การศึกษา โดยส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกคนได้รับการศึกษาที่ดีมีคุณภาพ และเป็นการศึกษาที่รัฐสนับสนุนให้เรียนฟรี 

ผมในฐานะรัฐบาล พยายามที่จะพยุงการดำรงชีวิตของชาวนราธิวาสให้ลืมตาอ้าปาก และลบคำสบประมาทว่า คนนราธิวาสยากจนที่สุดของประเทศ ให้จงได้

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่