หน้าแรก Voice TV ‘สุริยะ’ กลับคืนสู่การปฏิบัติหน้าที่กระทรวงคมนาคม เดินหน้าทุกโครงการ – นโยบาย ดันไทยสู่ “ศูนย์กลางด้านคมนาคมในภูมิภาค”

‘สุริยะ’ กลับคืนสู่การปฏิบัติหน้าที่กระทรวงคมนาคม เดินหน้าทุกโครงการ – นโยบาย ดันไทยสู่ “ศูนย์กลางด้านคมนาคมในภูมิภาค”

67
0
‘สุริยะ’-กลับคืนสู่การปฏิบัติหน้าที่กระทรวงคมนาคม-เดินหน้าทุกโครงการ-–-นโยบาย-ดันไทยสู่-“ศูนย์กลางด้านคมนาคมในภูมิภาค”
‘สุริยะ’ กลับคืนสู่การปฏิบัติหน้าที่กระทรวงคมนาคม เดินหน้าทุกโครงการ – นโยบาย ดันไทยสู่ “ศูนย์กลางด้านคมนาคมในภูมิภาค”

“สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ” กลับคืนสู่การปฏิบัติหน้าที่กระทรวงคมนาคม เดินหน้าทุกโครงการ – นโยบาย ดันไทยสู่ “ศูนย์กลางด้านคมนาคมในภูมิภาค” มั่นใจประชาชน – ประเทศชาติต้องได้ประโยชน์สูงสุด

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า วันนี้ (10 กันยายน 2567) ได้เข้าปฏิบัติหน้าที่ที่กระทรวงคมนาคมอย่างเป็นทางการ ภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่ พร้อมด้วย นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และนายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม โดยมี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณตนก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา

โดยก่อนหน้านี้ตนได้เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อย่างเป็นทางการตั้งแต่เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 จนถึงปัจจุบัน ได้ครบ 1 ปีของการปฏิบัติภารกิจและดำเนินนโยบายต่าง ๆ ด้านการคมนาคมขนส่งและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ยกระดับการให้บริการในระบบคมนาคมขนส่งทุกด้าน เพื่อต้องการให้เศรษฐกิจประเทศไทยเติบโตได้อย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม ทั้งทางบก ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้พี่น้องประชาชนอยู่ดีมีสุขทุกภาคส่วน

“ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ได้ดำเนินโครงการและนโยบายต่างๆ ของกระทรวงคมนาคมให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างครบถ้วน สนับสนุนการผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางด้านคมนาคมในภูมิภาค อย่างยั่งยืน” นายสุริยะ กล่าว

“ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ได้ดำเนินโครงการและนโยบายต่างๆ ของกระทรวงคมนาคมให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างครบถ้วน สนับสนุนการผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางด้านคมนาคมในภูมิภาค อย่างยั่งยืน”

นายสุริยะ กล่าวต่อว่า สำหรับการดำเนินงานของกระทรวงคมนาคมที่ผ่านมาได้ดำเนินไปแล้วหลายโครงการ ประกอบด้วย ด้านคมนาคมทางราง โดยได้ผลักดันนโยบายรถไฟฟ้าในอัตรา 20 บาท ตลอดสายนำร่องรถไฟชานเมืองสายสีแดง และ MRT สายสีม่วง มาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 และได้รับการตอบรับอย่างดีจากประชาชน โดยในช่วงที่ผ่านมานั้นปริมาณผู้โดยสารรวมทั้ง 2 สาย เพิ่มขึ้นถึง 26.39% และในระยะต่อไปมั่นใจว่าปริมาณผู้โดยสารจะใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น คาดว่าจะมีรายได้เท่ากับก่อนเริ่มนโยบายภายในปี 2568 เร็วกว่าแผนที่กำหนดไว้ จากเดิมที่คาดว่าภายในระยะ 2 ปี 7 เดือนหลังจากเริ่มนโยบาย และหลังจากนี้โครงการรถไฟฟ้าสีอื่น ๆ จะผลักดันนโยบายรถไฟฟ้าในอัตรา 20 บาทตลอดสาย เพื่อลดต้นทุนและลดระยะเวลาการเดินทาง บนอัตราค่าบริการที่มีความเหมาะสม ซึ่งจะเป็นสร้างโอกาสในการเดินทางอย่างเท่าเทียมของคนทุกกลุ่ม รวมถึงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ ได้ดำเนินการเร่งรัดติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ประชาชนได้ใช้บริการโดยเร็วที่สุด

สำหรับด้านคมนาคมทางบก อาทิ เร่งรัดการก่อสร้างบนถนนพระราม 2 เพื่อปิดตำนาน “ถนน 7 ชั่วโคตร” พร้อมเดินหน้าแก้ไขอุปสรรคทั้งหมดให้สำเร็จลุล่วงตามแผนงานที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน รวมทั้งเร่งรัดโครงการมอเตอร์เวย์ M6 สายบางปะอิน – สระบุรี – นครราชสีมา ที่มีปัญหาสะสมมาหลายรัฐบาลให้แล้วเสร็จจนสามารถกำหนดการให้บริการประชาชนเพิ่มเติมได้ อีกทั้งเร่งรัดโครงการมอเตอร์เวย์ M81 สายบางใหญ่ – กาญจนบุรี รวมถึงในส่วนการเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้มอบกรมทางหลวง (ทล.) เร่งรัดการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ – บอลิคำไซ) เพื่อให้สามารถเปิดบริการได้ทันภายในปี 2568 เป็นต้น

ส่วนด้านคมนาคมทางน้ำ ได้มอบให้กรมเจ้าท่า (จท.) และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้บริการ Smart Pier เพื่อส่งเสริมการเชื่อมต่อ “ล้อ – ราง – เรือ” อย่างมีประสิทธิภาพ และให้ศึกษารายงาน PPP การพัฒนาท่าเรือ Cruise Terminal ฝั่งอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ให้สามารถเสนอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจพิจารณาได้ภายในต้นปี 2568 และด้านคมนาคมทางอากาศ ได้ขับเคลื่อนนโครงการ Aviation Hub ตามนโยบายของรัฐบาลโดยกำหนดเป้าหมายให้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นท่าอากาศยานอยู่ใน 20 อันดับของโลก ภายในปี 2572 พร้อมทั้งจะพัฒนาท่าอากาศยานทั่วประเทศให้มีความทันสมัย รองรับการเติบโตของภาคการท่องเที่ยวในอนาคต

ในส่วนของโครงการ Landbridge ล่าสุดอยู่ในช่วงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์รูปแบบโมเดลต่าง ๆ เบื้องต้นคาด พ.ร.บ. SEC จะเริ่มประกาศใช้ในช่วงปี 2568 และจะดำเนินการก่อสร้างระยะที่ 1 ภายในปลายปี 2573 ต่อไป

นายสุริยะ กล่าวทิ้งท้ายว่า กระทรวงคมนาคมยังคงมุ่งเน้นด้านความปลอดภัยในทุกโครงการโดยล่าสุดได้ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยระหว่างการก่อสร้างกำหนดเป็นนโยบายให้จัดทำสมุดพกผู้รับเหมาเพื่อกำกับคุณภาพด้านความปลอดภัย จนปัจจุบันได้เริ่มใช้ในโครงการก่อสร้างของกระทรวงคมนาคมแล้ว และอยู่ระหว่างประสานกรมบัญชีกลางเพื่อนำไปสู่มาตรการด้านการลดชั้น หรือตัดคะแนนผู้รับเหมาสู่การตัดสิทธิ์การเข้าร่วมประมูลงานของกระทรวงคมนาคม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่