หน้าแรก Voice TV ยกเลิกคำสั่ง คสช. แล้ว 36 ฉบับ เร่งยกเลิกเพิ่มฉบับที่ขัดต่อสิทธิมนุษยชนอีก 17 รายการ

ยกเลิกคำสั่ง คสช. แล้ว 36 ฉบับ เร่งยกเลิกเพิ่มฉบับที่ขัดต่อสิทธิมนุษยชนอีก 17 รายการ

63
0
ยกเลิกคำสั่ง-คสช.-แล้ว-36-ฉบับ-เร่งยกเลิกเพิ่มฉบับที่ขัดต่อสิทธิมนุษยชนอีก-17-รายการ
ยกเลิกคำสั่ง คสช. แล้ว 36 ฉบับ เร่งยกเลิกเพิ่มฉบับที่ขัดต่อสิทธิมนุษยชนอีก 17 รายการ

จาตุรนต์ ฉายแสง ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกคำสั่ง คสช.เผย ยกเลิกคำสั่ง คสช. แล้ว 36 ฉบับ เร่งยกเลิกเพิ่มฉบับที่ขัดต่อสิทธิมนุษยชนอีก 17 รายการ

นายจาตุรนต์ ฉายแสง สส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกคำสั่ง คสช. เผยผ่านโซเชียลมีเดียวันนี้ (11 ต.ค.2567) ว่า

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2567 คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกประกาศและคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คำสั่ง คสช.) บางฉบับที่หมดความจำและไม่เหมาะสมกับกาลปัจจุบัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ได้พิจารณายกเลิกคำสั่ง คสช.โดยใช้ร่าง พ.ร.บ.ของคณะรัฐมนตรีเป็นหลัก ซึ่งมีบัญชีแนบท้าย 23 รายการ รวมทั้งได้พิจารณายกเลิกเพิ่มจากร่างของพรรคการเมืองอื่น ๆ อีก 13 รายการ ได้แก่ คำสั่ง คสช.ที่ 10/2557, 26/2557, 80/2557 และ 22/2561 รวมถึงคำสั่ง หัวหน้า คสช.ที่ 14/2561, 3/2558, 53/2560 และ 13/2561 และ ประกาศ คสช.ที่ 39/2557, 40/2557, 57/2557, 1/2562 และ  2/2562 ทำให้ ณ วันนี้กรรมาธิการพิจารณายกเลิกไปแล้วทั้งหมด 36 ฉบับ

ทั้ง 36 ฉบับนี้สามารถทำได้โดยง่ายเพราะเป็นคำสั่งที่หมดความจำเป็น ไม่ต้องเขียนกฎหมายมารองรับ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นพ้องต้องกันว่ายกเลิกได้ แต่ยังมีอีกหลายฉบับที่ไม่สามารถดำเนินการได้โดยง่าย ซึ่งกรรมาธิการได้จัดกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม ตามความยากง่าย ดังนี้

– กลุ่มที่ยกเลิกได้ง่ายที่สุดคือประกาศ/คำสั่งที่กระทบต่อสิทธิมนุษยชนของประชาชน จำนวน 17 ฉบับ ซึ่งไม่มีความจำเป็นแล้ว และการยกเลิกเพิ่มในร่าง พ.ร.บ.ก็ทำได้โดยง่าย เช่น ไม่ต้องเขียนบทรองรับ หรือถ้าต้องเขียนบทรองรับก็ไม่ได้ซับซ้อน ซึ่งต้องสอบถามความเห็นจากส่วนราชการว่ามีการดำเนินการอะไรที่ค้างคาอยู่หรือไม่ หรือเป็นคดีค้างอยู่หรือไม่ ถ้ามีจะต้องเขียนบทรองรับอย่างไรเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียสิทธิ์  ก็จะพิจารณาได้เร็ว ซึ่งได้แก่

คำสั่ง หัวหน้า คสช.ที่ 39/2559, 14/2561, 22/2561,  3/2558, 5/2558, 2/2559, 13/2559, 25/2559, 41/2559, 75/2559, 7/2561, 7/2562, 5/2560 และ 18 /2561 รวมถึงประกาศ คสช.ที่ 2/2559, 1/2562, และ 2/2562

– กลุ่มที่จะไม่ดำเนินการยกเลิกในกรรมาธิการนี้ เนื่องจากไม่มีอำนาจในการดำเนินการ เพราะการยกเลิกต้องมีการแก้ไขกฎหมายเสียก่อน รวมทั้งอาจเป็นคำสั่งที่เป็นคุณไม่กระทบสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นว่ายังจำเป็นต้องใช้ ได้แก่  คำสั่ง หัวหน้า คสช.ที่ 2/2561, 19/2561, 17/2558, 74/2559, 26/2559, 9/2560, 27/2560, 30/2560, 32/2559 และ 77/2559

– กลุ่มที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ จำนวน 21 ฉบับ ในกลุ่มนี้ถ้าจะยกเลิกในกรรมาธิการนี้จะต้องเป็นประกาศ/คำสั่งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นว่ายกเลิกได้และไม่ต้องเขียนบทรองรับที่ซับซ้อน ส่วนประกาศ/คำสั่งที่จะไม่ยกเลิกในกรรมาธิการนี้เพราะต้องมีการแก้กฎหมายใหม่ หรือต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบจนใช้เวลานานเกินไปเพื่อเขียนเป็นบทรองรับที่ซับซ้อน รวมทั้งมีบางฉบับที่กำลังมีการแก้ไขกฎหมายอยู่แล้ว เช่น พ.ร.บ.ประมง กรือ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ก็จะไม่ยกเลิกในกรรมาธิการนี้เช่นกัน

ผมเคยมีประสบการณ์ในการยกเลิกคำสั่งประเภทนี้มาก่อน (คำสั่ง คสช.ที่14/2559) ซึ่งใช้เวลาพิจารณาคำสั่งหนึ่ง ๆ มากกว่า 3-9เดือน ถ้าทำในกรรมาธิการนี้ทุกฉบับก็จะกินเวลาหลายปี ดังนั้นในกลุ่มนี้กรรมาธิการจะเขียนเป็นข้อสังเกตุเพื่อส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป หรืออาจเสนอให้จัดกลุ่มประกาศ/คำสั่งที่มีความใกล้เคียงกัน และเสนอร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกเป็นกลุ่มประเภทก็ได้

เราพยายามจะทำให้ได้ยกเลิกคำสั่งที่หมดสมัยแล้ว ไม่เหมาะกับสถานการณ์แล้ว และกระทบสิทธิเสรีภาพประชาชนหรือมีไว้จะไม่เป็นประโยชน์ให้ได้มากที่สุด ซึ่งจะเป็นผลดีต่อประชาชนและต่อบ้านเมือง แต่ต้องทำได้ในเวลาที่ไม่ยาวเกินไป ไม่ต้องเขียนบทรองรับที่ซับซ้อนเกินไป ก็คิดว่าการทำงานจะเร็วขึ้นและจะเสร็จสิ้นภายในสมัยประชุมหน้าครับ

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่