หน้าแรก Voice TV ใต้ยังอ่วม!! ศปช.สั่งทยอยติดตั้งเครื่องสูบน้ำ-ผลักดันน้ำ 170 เครื่อง ใน 23 จุดเสี่ยง ภาคใต้ เพิ่มศักยภาพการระบายน้ำ ลดผลกระทบประชาชน

ใต้ยังอ่วม!! ศปช.สั่งทยอยติดตั้งเครื่องสูบน้ำ-ผลักดันน้ำ 170 เครื่อง ใน 23 จุดเสี่ยง ภาคใต้ เพิ่มศักยภาพการระบายน้ำ ลดผลกระทบประชาชน

6
0
ใต้ยังอ่วม!!-ศปช.สั่งทยอยติดตั้งเครื่องสูบน้ำ-ผลักดันน้ำ-170-เครื่อง-ใน-23-จุดเสี่ยง-ภาคใต้-เพิ่มศักยภาพการระบายน้ำ-ลดผลกระทบประชาชน
ใต้ยังอ่วม!! ศปช.สั่งทยอยติดตั้งเครื่องสูบน้ำ-ผลักดันน้ำ 170 เครื่อง ใน 23 จุดเสี่ยง ภาคใต้ เพิ่มศักยภาพการระบายน้ำ ลดผลกระทบประชาชน

ภาคใต้ยังอ่วม!! ศปช.สั่งทยอยติดตั้งเครื่องสูบน้ำ-ผลักดันน้ำ 170 เครื่อง ใน 23 จุดเสี่ยง ภาคใต้ เพิ่มศักยภาพการระบายน้ำ ลดผลกระทบประชาชน ขณะที่อุทกภัยลำพูนเข้าสู่ภาวะปกติเกือบ 100 % แล้ว

วันนี้ (16 ตุลาคม 2567) เวลา 17.00 น. นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม หรือ ศปช. และ ศปช. ส่วนหน้ากล่าวว่า สถานการณ์อุทกภัยและดินโคลนถล่มในพื้นที่ภาคใต้บางแห่งขณะนี้ หลายหน่วยงานลงพื้นที่เข้าให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผอ.ศปช.ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมสั่งการหน่วยงานที่มีเครื่องจักรเครื่องมือเข้าสำรวจเส้นทางตามแนวเขา ที่อาจมีดินสไลด์หรือดินถล่ม เพื่อป้องกันการเกิดเหตุ เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน ขณะที่กรมชลประทาน โดย สำนักงานชลประทานที่ 15 มีแผนเผชิญเหตุและป้องกันอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ 5 จังหวัด ได้แก่ จ.นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงาและภูเก็ต โดยมีพื้นที่เฝ้าระวังทั้งหมด 23 จุด ทยอยติดตั้งเครื่องสูบน้ำและเครื่องผลักดันน้ำในพื้นที่รวม 170 เครื่อง 

“ศปช.ได้เน้นย้ำให้สำนักงานชลประทานที่ 15 ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง พร้อมจัดเตรียมเครื่องจักร – เครื่องมือ และเจ้าหน้าที่ประจำจุดเสี่ยง พร้อมพร่องน้ำในพื้นที่กรณีที่มีแนวโน้วฝนตกหนักต่อเนื่อง และเมื่อเกิดเหตุให้สามารถเข้าช่วยเหลือประชาชนได้ทันท่วงที เพื่อลดผลกระทบให้ได้มากที่สุด” นายจิรายุ กล่าว 

ส่วนสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ จ.ลำพูน นายจิรายุ กล่าวว่า ได้รับรายงาน จากนายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 6 ตำบลของอำเภอเมืองลำพูน ภาพรวมสถานการณ์น้ำเข้าสู่ภาวะปกติเกือบ 100% คงเหลือน้ำขังตามที่ลุ่มต่ำ โดยที่ต.หนองช้างคืน ระดับน้ำลดลงอยู่ในลำน้ำเดิม เหมืองกู่แดง เหมืองสองร้อง เหมืองลึก น้ำไหลระบายลงแม่ปิงเก่าต่อเนื่อง , ต.เหมืองง่า บ้านป่าขาม บ้านหลุก ระดับน้ำลดลง ยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ ถนนสามารถใช้งานได้ 100% และต.อุโมงค์ ระดับน้ำลดลง เพิ่มเครื่องสูบน้ำจาก ปภ. ระบายน้ำตามที่ลุ่มต่ำลงสู่เหมืองเก้าศอก ก่อนลงน้ำปิงห่าง แต่ยังมีน้ำจากทางเหนือที่มาจากอ.สารภี จ.เชียงใหม่ระบายลงสู่พื้นที่ต่อเนื่อง ยังต้องสูบน้ำระบายออกจากพื้นที่และเพิ่มเครื่องสูบน้ำขนาดเล็กในพื้นที่ลุ่มต่ำที่ไม่สามารถระบายน้ำออกเองได้ เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ยังช่วยดำเนินการอย่างเต็มที่

พร้อมกันนี้ นายจิรายุ กล่าวเพิ่มเติมว่า ศปช. ส่วนหน้า ได้รายงานความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 ขณะนี้ได้ดำเนินการไปแล้วทั้งสิ้นคิดเป็นวงเงิน 36,413,093 บาท ขณะที่เงินในส่วนของการชดเชยเยียวยาตามมติคณะรัฐมนตรี 17 กันยายน 2567 นั้น มีประชาชนยื่นคำร้องในระบบรวม 57 จังหวัด รวม 200,330 ครัวเรือน โดยเฉพาะที่ จ.เชียงราย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.)ได้รับคำร้องจำนวน 31,456 ครัวเรือน และส่งข้อมูลให้กับธนาคารออมสินไปแล้ว 20,719 ครัวเรือน และโอนเงินสำเร็จไปแล้ว 16,722 ครัวเรือน คิดเป็นเงินให้ความช่วยเหลือ ไปแล้วประมาณ 150 ล้านบาท

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่