หน้าแรก Voice TV รมว.ยุติธรรม แสดงความเสียใจกรณีผู้ต้องขังเรือนจำพิเศษมีนบุรี ถูกแทงเสียชีวิต มอบกรมคุ้มครองสิทธิฯ พิจารณาเยียวยา

รมว.ยุติธรรม แสดงความเสียใจกรณีผู้ต้องขังเรือนจำพิเศษมีนบุรี ถูกแทงเสียชีวิต มอบกรมคุ้มครองสิทธิฯ พิจารณาเยียวยา

8
0
รมว.ยุติธรรม-แสดงความเสียใจกรณีผู้ต้องขังเรือนจำพิเศษมีนบุรี-ถูกแทงเสียชีวิต-มอบกรมคุ้มครองสิทธิฯ-พิจารณาเยียวยา
รมว.ยุติธรรม แสดงความเสียใจกรณีผู้ต้องขังเรือนจำพิเศษมีนบุรี ถูกแทงเสียชีวิต มอบกรมคุ้มครองสิทธิฯ พิจารณาเยียวยา

พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แสดงความเสียใจกรณีผู้ต้องขังเรือนจำพิเศษมีนบุรี ถูกแทงเสียชีวิต มอบกรมคุ้มครองสิทธิฯ พิจารณารับคำขอค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ พิจารณาเยียวยาตามหลักเกณฑ์

วันนี้ (11 พ.ย.2567) มารดาและครอบครัวของผู้ต้องขังเรือนจำพิเศษมีนบุรี ที่ถูกแทงเสียชีวิต เข้าพบ พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เพื่อติดตามการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าว ณ อาคารกระทรวงยุติธรรม 

โดยกรณีดังกล่าว กรมราชทัณฑ์ ได้รับรายงานจากเรือนจำพิเศษมีนบุรีว่า เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2567 เวลาประมาณ 08.15 นาฬิกา เกิดเหตุผู้ต้องขังทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกายกัน บริเวณใต้โดมร้านสงเคราะห์ผู้ต้องขังแดน 5 และเจ้าหน้าที่ได้เข้าระงับเหตุโดยเร็ว จากนั้นพบผู้ต้องขังรายหนึ่งถูกของมีคมแทงอาการสาหัส จึงได้รีบนำตัวส่งสถานพยาบาลของเรือนจำฯ และได้ประสานรถฉุกเฉิน 1669 เพื่อร่วมช่วยฟื้นคืนชีพ แต่ผู้ต้องขังเสียชีวิตในเวลาต่อมา 

ในการนี้ เรือนจำพิเศษมีนบุรี ได้ดำเนินการทางวินัยกับผู้ต้องขังที่กระทำความผิดและแจ้งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดี พร้อมทั้งประสานกองทัณฑวิทยานำชุดปฏิบัติการพิเศษเข้าจู่โจมตรวจค้นภายในเรือนจำฯ และได้ดำเนินการย้ายผู้ก่อเหตุไปเรือนจำอื่น เพื่อควบคุมและดำเนินการตามชั้นตอนตามมาตรฐานการปฏิบัติงานควบคุมผู้ต้องขังต่อไป (SOPs) 

โดยพันตำรวจเอกทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้กล่าวแสดงความเสียใจต่อมารดาและครอบครัวผู้เสียชีวิต พร้อมทั้งมอบหมายให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ รับคำขอค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญาฯ เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการกรุงเทพมหานครโดยเร็ว โดยตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หากประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อหรือผู้เสียหายในคดีอาญา จะต้องเป็นบุคคลที่ได้รับความเสียหาย ถึงแก่ชีวิต ร่างกายจากการกระทำความผิดอาญาของผู้อื่น โดยตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง มีสิทธิได้รับการเยียวยา ทั้งนี้ ในการพิจารณาจ่ายค่าตอบแทนฯ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจในการพิจารณาของคณะอนุกรรมการกรุงเทพมหานครเป็นสำคัญ

IMG_20241111184712000000.jpgIMG_20241111184710000000.jpgIMG_20241111184708000000.jpg

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่