หน้าแรก Voice TV รมว.ยุติธรรม มอบรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2567 ส่งเสริมหลักสิทธิมนุษยชนในการปฏิบัติงานของทุกภาคส่วน สร้างความแข็งแกร่งของหลักนิติธรรม

รมว.ยุติธรรม มอบรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2567 ส่งเสริมหลักสิทธิมนุษยชนในการปฏิบัติงานของทุกภาคส่วน สร้างความแข็งแกร่งของหลักนิติธรรม

20
0
รมว.ยุติธรรม-มอบรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน-ประจำปี-2567-ส่งเสริมหลักสิทธิมนุษยชนในการปฏิบัติงานของทุกภาคส่วน-สร้างความแข็งแกร่งของหลักนิติธรรม
รมว.ยุติธรรม มอบรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2567 ส่งเสริมหลักสิทธิมนุษยชนในการปฏิบัติงานของทุกภาคส่วน สร้างความแข็งแกร่งของหลักนิติธรรม

พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มอบรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2567 ส่งเสริมหลักสิทธิมนุษยชนในการปฏิบัติงานของทุกภาคส่วน ควบคู่การสร้างความแข็งแกร่งของหลักนิติธรรม มุ่งพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

วันนี้ (2 ธันวาคม 2567) พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงานประกาศรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2567 โดยมี นายกูเฮง ยาวอหะซัน เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นายไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม นางจิรภา สินธุนาวา รองปลัดกระทรวงยุติธรรม นายโกมล พรมเพ็ง รองปลัดกระทรวงยุติธรรม นางธารินี แสงสว่าง ผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม นางสาวเอมอร เสียงใหญ่ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ พันตำรวจตรี สุริยา สิงหกมล อธิบดีกรมคุมประพฤติ พันตำรวจโท ประวุธ วงศ์สีนิล อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน พร้อมด้วย​คณะผู้บริหารของหน่วยงาน​ในสังกัดกระทรวง​ยุติธรรม ผู้แทนองค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม และภาคประชาสังคม เข้าร่วมฯ ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร

โดยในการมอบรางวัล​ครั้งนี้​มีหน่วยงานที่ได้รับการคัดเลือกเป็นองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2567 จำนวน 97 องค์กร ได้แก่ องค์กรภาครัฐ จำนวน 45 องค์กร องค์กรรัฐวิสาหกิจ จำนวน 10 องค์กร องค์กรภาคธุรกิจ จำนวน 40 องค์กร และองค์กรภาคประชาสังคม จำนวน 2 องค์กร ทั้งนี้ ในช่วงเช้าได้มีการนำเสนอต้นแบบที่ดี (Best Practice) จากผู้ที่ได้รับรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2567 ประเภทภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคธุรกิจ

S__4202560.jpg

โอกาส​นี้​ รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​ยุติธรรม กล่าวว่า ขอขอบคุณผู้แทนองค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม และภาคประชาสังคม รวมถึงวิทยากร และผู้เข้าร่วมงานฯ ทุกท่านเป็นอย่างยิ่งที่ให้ความสนใจ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทุกท่านได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินงานด้วยความเคารพหลักสิทธิมนุษยชน ปัจจุบันธุรกิจ การค้า การลงทุน ตลาดเงิน ตลาดทุน และเทคโนโลยีทางการเงินมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ดังนั้น การคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ลงทุน การคุ้มครองประชาชน การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม รวมถึงการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องสำคัญที่นำไปสู่ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยรัฐบาลมีความตั้งใจจริงและเจตจำนงทางการเมืองที่ชัดเจนในการส่งเสริมหลักสิทธิมนุษยชนในการปฏิบัติงานของทุกภาคส่วน ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของหลักนิติธรรม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน รวมถึงที่ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการขับเคลื่อนงานสิทธิมนุษยชนในภาพรวมของประเทศ โดยในระดับนโยบาย กระทรวงยุติธรรม โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ได้จัดทำแผนที่สำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชน จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่

1) แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566 – 2570) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐยึดถือเป็นกรอบในการทำงาน โดยให้ความคุ้มครองประเด็นสิทธิมนุษยชน ใน 5 ด้าน 11 กลุ่มเป้าหมาย เช่น ด้านกระบวนการยุติธรรม สาธารณสุข การศึกษา และกลุ่มเด็ก สตรี ผู้พิการ เป็นต้น

2)​ แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 – 2570) ซึ่งมุ่งนำหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน หรือ หลักการ UNGPs มาเป็นแนวทางส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจ และภาคธุรกิจดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบและเคารพสิทธิมนุษยชน โดยกำหนดประเด็นสำคัญเพื่อเร่งแก้ไข 4 ประเด็น ได้แก่

1) แรงงาน

2) ชุมชน ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

3) นักปกป้องสิทธิมนุษยชน

4) การลงทุนระหว่างประเทศ และบรรษัทข้ามชาติ

ทั้งนี้ รัฐบาลหวังเป็นอย่างยิ่งว่า แผนระดับชาติทั้ง 2 ฉบับ จะเป็นหลักประกันและเครื่องมือสำคัญในการกำหนดทิศทางการดำเนินงานให้กับทุกองค์กรต่อไป

สิ่งท้าทายที่จะต้องมีการขับเคลื่อนแผนธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน คือ การยกระดับหน้าที่และความรับผิดชอบด้านสิทธิทธิมนุษยชนให้เป็นภาคบังคับ สำหรับภาคธุรกิจ เพื่อคุ้มครองประชาชนและภาคธุรกิจที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนผ่านการออกกฎหมายที่กำหนดให้ทั้งภาคธุรกิจ และรัฐวิสาหกิจ มีกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน หรือ Human Rights due ligence เพื่อระบุการป้องกัน และเยียวยา ความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ตลอดจนกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทในอนาคตที่มีส่วนจำเป็นที่ต้องทำไปควบคู่กัน โดยภาคธุรกิจควรเห็นว่าการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบ และเคารพสิทธิมนุษยชนเป็นโอกาสในการดำเนินธุรกิจ เพิ่มผลกำไร ขยายฐานลูกค้า และสร้างความเชื่อใจกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึง​มีมาตรการให้การเยียวยาที่มีประสิทธิภาพผ่านความช่วยเหลือจากภาครัฐ ภาคธุรกิจที่เคารพสิทธิมนุษยชน และยังทำให้ผู้ที่ถูกละเมิดได้รับการช่วยเหลือและเยียวยาได้มากขึ้นและทันท่วงที

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่