วันนี้ (17 ต.ค.2566) นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง กล่าวถึงการดำเนินงานของซูเปอร์แอปฯ ในการจ่ายเงินดิจิทัลวอลเล็ต ว่า เป็นความร่วมมือของกระทรวงการคลังและสถาบันการเงินของรัฐ ที่เข้ามาช่วยเรื่องการพัฒนาระบบ โดยในส่วนค่าใช้จ่ายไม่มีตัวเลขอะไรที่น่าเป็นห่วง และขณะนี้กำลังคุยกันอยู่ว่าหน่วยงานใดจะเป็นผู้จ่ายเงิน
ซึ่งโครงการดิจิทัลวอลเล็ตเป็นนโยบายที่รัฐได้มองไปไกลกว่านั้นคือ แอปพลิเคชันที่จะเกิดขึ้นในระดับชาติ เพื่อรวมข้อมูลที่จำเป็น เนื่องจากโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ที่เติมเงื่อนไขเรื่องของรัศมีและระยะเวลาการใช้ โดยห้ามใช้ในอบายมุข ใช้ออมเงิน หรือห้ามใช้หนี้ ซึ่งเป็นกลไกมิติใหม่ในการช่วยเหลือประชาชนในการผลักดันเม็ดเงินลงสู่ระบบ และทำให้รัฐกำหนดเป้าหมายได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นเช่นหากจะช่วยคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือรัฐบาลต้องการนำเม็ดเงินเข้าไปในกลุ่มจำเพาะ เพื่อต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ ภาค SME หรือการท่องเที่ยว ซึ่งในอนาคตจากกลไกที่ได้ทำไว้จะสามารถกำหนดเป้าหมายได้ชัดเจน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในระยะยาว หรือการทำให้การใช้เม็ดเงินให้เกิดความคุ้มค่าและตรงกับความเป้าหมาย
โดยธนาคารที่อยู่ภายใต้การกำกับของรัฐจะเป็นผู้ดำเนินการจัดทำแอปพลิเคชัน ไม่มีการจ้างบริษัทด้านนอก และไม่เกี่ยวกับแอปพลิเคชันกระเป๋าตังค์ เนื่องจากฟังก์ชันการใช้งานแตกต่างกัน
และวัตถุประสงค์ในการใช้ต่างกัน เช่นการกำหนดเงื่อนไขว่าจะต้องมีบล็อกเชน เพื่อยืนยันข้อมูลว่าจะอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยและมีกลไกรองรับความโปร่งใส พร้อมยกตัวอย่างในอดีตที่ผ่านมาข้อมูลเป็นของภาครัฐแต่ตัวแอปพลิเคชันไม่ใช่ของภาครัฐ ทำให้การต่อยอดแอปฯ มีข้อจำกัด แต่รัฐสามารถดึงฐานข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้
นายจุลพันธ์ ยืนยันว่านโยบายดิจิทัลวอลเล็ตไม่มีการลงทะเบียน แต่จะมีระบบการยืนยันตัวตน ซึ่งตามกฎหมาย ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยถืออยู่ จะต้องทำเมื่อเป็นตัวเงินจึงมีความจำเป็นจะต้องยืนยันตัวตนของบุคคล ให้ตรงกับข้อมูลตามบัตรประชาชน จากนั้นจึงเพิ่มกลไกการยืนยันใช้สิทธิ์ เพื่อคัดกรองบุคคลที่ต้องการร่วมใช้สิทธิ์
และจะต้องให้สมาคมธนาคาร ภายใต้การกำกับของรัฐไปประชุม ว่าจะมีธนาคารใดดำเนินการอย่างไรบ้างยืนยันไม่มีกลุ่มบุคคลใดเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์
โครงการนี้เป็นโครงการที่โปร่งใสมาก 1.เม็ดเงินทุกบาทมีประชาชนรองรับตามบัตรประชาชนทุกคน ไม่มีทางที่เม็ดเงินจะรั่วไหลไปเข้ากระเป๋าใคร 2.กลในการดำเนินการ ข้อมูลพื้นฐานรองรับโดยระบบบล็อกเชน ระบบนี้เมื่อถามว่ามีความมั่นคงที่สุดหรือไม่ในขณะนี้ ด้วยกลไกของมันมีความมั่นใจได้มากกว่าระบบอื่น ในการติดตามตรวจสอบความผิดพลาดหรือการทุจริตคอร์รัปชันในใด
รมช.คลัง ระบุว่าการใช้งบประมาณส่วนหนึ่งในการพัฒนาแอปพลิเคชันนั้น ไม่ใช่การนำเงิน 500,000 ล้านบาท มาจากการกู้ธนาคาร และยืนยันไม่มีทางที่จะเป็นไปได้ว่าค่าดำเนินการจัดทำแอปพลิเคชันจะสูงถึง 12,000 ล้านบาท ตามที่มีกระแสข่าวออกมา พร้อมระบุว่าฟังแล้วยังรู้สึกตลก เพราะไม่มีแอปพลิเคชันไหนพัฒนามาด้วยมูลค่าขนาดนี้ โดยไม่ได้ยืนยันตัวเลขที่ชัดเจนในการทำแอปพลิเคชันแต่เท่าที่ทราบจำนวนไม่ได้มากมายอะไร
โดยจะมีการนัดประชุมกันในวันพฤหัสบดีนี้ แต่ไม่สามารถยืนยันได้ว่า การทำแอปพลิเคชันจะข้อสรุปเลยหรือไม่ ทั้งนี้บอกว่าไม่ทราบข้อมูลที่นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล เปิดเผยว่ามีข้อมูลเงินนอกงบประมาณดำเนินโครงการ 4.8 ล้านล้านบาท
ยังกล่าวถึงการยื่นองค์กรอิสระตรวจสอบ นโยบายแจกเงินดิจิทัลว่าถือเป็นสิทธิ์ ที่จะมีผู้ยื่นร้องตามช่องทางของกฎหมาย และมองว่าเป็นเรื่องที่ดีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาติดตามตรวจสอบ โดยมองว่ามีหน่วยงานของรัฐมาช่วยดูให้เกิดความรอบคอบรัดกุม และพร้อมที่จะเสนอตัวเข้าไปคุยกับคณะติดตามตรวจสอบที่ตั้งขึ้นมาชุดนี้ด้วยตัวเอง มีการชี้แจงทำความเข้าใจเพื่อนำประเด็นข้อสงสัยให้คลายลง ขณะเดียวกันก็แนะนำข้อสังเกตเพื่อทำให้โครงการสามารถเดินหน้าไม่สูญเสียวัตถุประสงค์ที่ตั้งเป้าหมายไว้
คนละเรื่องกับนโยบายจำนำข้าวไม่เหมือนกัน อันนี้เป็นกลไกที่จะเข้าไปกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือ เรื่องนี้ยังหาจุดโหว่ไม่ได้ ว่าจะมีการทุจริต ตรงไหนหรือไม่อย่างไร
นายจุลพันธ์ ยืนยันไม่มีการเสียค่าแรกเข้า 3% เพราะไม่ใช่คริปโต แต่เป็นการเติมเงิน 10,000 บาทเข้าไปในกระเป๋าเงินดิจิทัล เติม 10,000 บาทประชาชนก็ได้ 10,000 บาท และไม่มีการเก็บเปอร์เซ็นต์จากร้านค้า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ส่อเค้าใช้ “เงินนอกงบฯ” ทำ “ดิจิทัลวอลเล็ต”