พรรคพลังปวงชนไทย
เพื่อคนไทยทั้งแผ่นดิน

“วันนอร์” เคาะโหวตนายกฯ 22 ส.ค. เล็งถกวิป 3 ฝ่ายปมแสดงวิสัยทัศน์

วันนี้ (16 ส.ค.2566) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เปิดเผยถึงวันประชุมรัฐสภาเพื่อโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี หลังจากศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่า ถือว่าสิ่งที่รัฐสภาได้ประชุมไปแล้วนั้นสามารถปฏิบัติได้โดยถูกต้อง ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ​ ดังนั้นในวันพรุ่งนี้ (17 ส.ค.) เวลา 14.00 น. ฝ่ายกฎหมายจะพิจารณาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อประกอบการพิจารณาการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีต่อไป และนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมวิป 3 ฝ่ายเพื่อดูในรายละเอียด

เบื้องต้นเคาะวันประชุมโหวตเลือกนายกฯ ใหม่เป็นวันที่ 22 ส.ค. โดยได้หารือกับประธานวุฒิสภาเรียบร้อยแล้ว

สำหรับญัตติของนายรังสิมันต์ โรม ที่ขอให้ทบทวนมติของรัฐสภาในวันที่ 19 ก.ค. ที่ไม่สามารถเสนอชื่อนาย ลิ้มเจริญรัตน์ ซ้ำได้นั้น วันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า ญัตติดังกล่าวก็ยังอยู่ ซึ่งน่าจะมีการหยิบยกเรื่องนี้เข้ามาหารือในที่ประชุม แต่การดำเนินการต้องอยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับ

ขณะที่รัฐสภามีหน้าที่จัดการประชุมให้ สส. และ สว.เลือกนายกรัฐมนตรีตามกำหนด โดยจะพยายามทำให้ถูกต้องตามข้อบังคับและเรียบร้อยมากที่สุด เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาต่อไป ส่วนการโหวตเลือกนายกฯ จะเสร็จสิ้นในวันที่ 22 ส.ค.หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับที่ประชุม

ส่วนกรณีที่ สว.อยากให้แคนดิเดตนายกฯ แสดงวิสัยทัศน์ในรัฐสภานั้น ประธานรัฐสภา กล่าวว่า ในข้อบังคับการประชุมเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี ไม่ได้กำหนดไว้ว่าผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อตามที่รัฐธรรมนุญกำหนด ต้องแสดงวิสัยทัศน์ด้วย ซึ่งในการเลือกนายกฯ เมื่อปี 2562 มีผู้เสนอ 2 คนตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากทั้ง 2 คนไม่ใช่ สส.จึงไม่ได้มาแสดงวิสัยทัศน์ แต่อย่างไรก็ตามจะหารือเรื่องนี้กับฝ่ายกฎหมายอีกครั้งในวันพรุ่งนี้ (17 ส.ค.)

ส่วนตัวไม่สามารถกำหนดได้ แต่เมื่อรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนด ข้อบังคับไม่ได้กำหนด ก็ขึ้นอยู่กับสภาว่าจะเห็นสมควรอย่างไร

นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวอีกว่า จากการสอบถามฝ่ายกฎหมายเกี่ยวกับการร่างข้อบังคับในการเลือกนายกฯ เหตุใดจึงไม่ได้กำหนดให้แสดงวิสัยทัศน์เช่นเดียวกับเลือกประธานสภาฯ นั้น

ได้รับการชี้แจงเบื้องต้นว่า เดิมกำหนดว่าจะให้แสดงวิสัยทัศน์ แต่ภายหลังที่ประชุมของผู้ร่างข้อบังคับการเลือกนายกรัฐมนตรีตามข้อบังคับของรัฐสภาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คณะกรรมการได้ตัดออกไป เพราะเห็นว่าอาจจะเป็นบุคคลภายนอกที่ไม่อยู่ในห้องประชุมของรัฐสภาได้ถูกเสนอชื่อขึ้นมา

ขณะที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดว่าให้เสนอบุคคลภายนอก ดังนั้นที่ประชุมของผู้ร่างฯ จึงมีเจตนารมณ์ว่าไม่ควรมีการแสดงวิสัยทัศน์สำหรับเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งคาดว่าจะมีการนำข้อกฎหมายนี้เข้าหารือในวิป 3 ฝ่ายด้วย เพื่อให้เกิดความเรียบร้อยและไม่อยากให้มีประเด็นค้างคา หรือทำให้การประชุมยืดเยื้อออกไปโดยไม่จำเป็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

นายกฯ คาดหวังได้รัฐบาลเร็วที่สุด ไม่รู้ทันเดือน ก.ย.นี้ หรือไม่

“อนุทิน” ย้ำถกเก้าอี้ รมต. ให้จบ ก่อนโหวตนายกฯ

“สว.สมชาย” เผย “วันนอร์” หารือไม่เป็นทางการแจ้งโหวตนายกฯ 22 ส.ค.

ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องเสนอชื่อ “พิธา” โหวตนายกฯซ้ำ

ทิ้งคำตอบไว้

อีเมล์ของคุณจะไม่ถูกเผยแพร่


This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More