พรรคพลังปวงชนไทย
เพื่อคนไทยทั้งแผ่นดิน

จับกระแสการเมือง 2 พ.ค.67 : “ชลน่าน” จากใจคนช้ำ “เศรษฐา” นำทัพ รมต.ป้ายแดง-คนเดิมเริ่มงาน

เดือดกว่าแดดในช่วงนี้ หนีไม่พ้นประเด็นปรับ ครม. เศรษฐา 1/1 ท่ามกลางเสียงวิพากษ์อื้ออึง  ซึ่งช่วงเย็นวันศุกร์ที่ 3 พ.ค. นี้ ครม.ชุดใหม่ภายใต้การนำของนายกฯนิด “เศรษฐา ทวีสิน” จะเข้าพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ ก่อนปฏิบัติหน้าที่ โดยแต่งชุดขาว สวย หล่อ เดินทางมาถ่ายรูปเพื่อทำบัตรประจำตัวกันอย่างพร้อมกันที่ ตึกสันติไมตรี เวลา 15.00 น. 

และคาดว่า หลังจากนั้นจะเรียกประชุม ครม.นัดแรก วันอังคารที่ 7 พ.ค.นี้ พร้อมแบ่งงานให้กับรองนายกฯ ทั้ง 6 คน รวมทั้ง รมต.และ รมช.ป้ายแดง และป้ายเดิมในตำแหน่งใหม่

อ่านข่าว : “เศรษฐา” เตรียมนำ ครม.ใหม่ เข้าเฝ้าถวายสัตย์ฯ 3 พ.ค.นี้

มีการคาดการณ์ว่า “สส.น้ำ” จิราพร สินธุไพร เขต 2 จ.ร้อยเอ็ด ขวัญใจชาวด้อมจะได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลด้านประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน

ส่วน “พิชิต ชื่นบาน” รับภารกิจในการดูแลงานด้านกฎหมาย ขณะที่ “จักรพงษ์ แสงมณี” เข้ามาช่วยงานด้านเศรษฐกิจและงบประมาณของสำนักนายกฯ

หลังเสร็จภารกิจหลังนำ ครม.ใหม่ เข้าถวายสัตย์ปฏิญาณแล้ว “นายกฯนิด” จะก็ลุยอีสานทันที ประเดิมที่ จ.มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด เพื่อติดตามปัญหายาเสพติด หนี้นอกระบบ พร้อมรับฟังปัญหา พบปะประชาชน 5 – 6 พ.ค.นี้ 

อรรถกร ศิริลัทธยากร รมช.เกษตรและสหกรณ์

อรรถกร ศิริลัทธยากร รมช.เกษตรและสหกรณ์

ส่วน รมช.เกษตรและสหกรณ์ ใหม่แกะกล่อง “เบนซ์” อรรถกร ศิริลัทธยากร จากค่าย “ลุงป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ โควตาพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งจะมานั่งเป็น รมช.เกษตรฯ ถือเป็นครั้งแรกของกระทรวงพญานาคที่มี รมว.และรมช.ทั้ง 4 คนจากพรรคเดียว กำกับดูแล

“เบ็นซ์” อรรถกร เป็นลูกไม้ใต้ต้นของบุตร “อิทธิ ศิริลัทยากร” อดีต รมช.คมนาคม สมัยนายกฯชวน หลีกภัย แม้จะบอกว่า ไม่ตื่นเต้นแต่ก็เตรียมพร้อมเข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณพรุ่งนี้ (3 พ.ค.) ด้วยการเข้าทำเนียบเพื่อตรวจโควิด-19

ไม่ได้ตื่นเต้น แต่ดีใจที่ได้รับตำแหน่งนี้ และเตรียมความพร้อมในการทำงาน จะตั้งใจทำงานให้ดีที่สุด ยอมรับว่ากระทรวงเกษตรฯ เป็นกระทรวงใหญ่ที่มีความท้าทาย ส่งผลต่อเกษตรกรโดยตรง เพราะประเทศไทยมีเกษตรกรจำนวนมาก

อาจจะมีความกดดัน เนื่องจากตลอดระยะเวลา 7 เดือนที่ผ่านมา ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ ได้ทำงานเป็นชิ้นโบว์แดงไว้หลายเรื่อง ถึงแม้จะมีข้อจำกัดเรื่องของงบประมาณ แต่ดัชนีชี้วัดต่างๆ กลับส่งผลในเชิงบวก จึงเป็น สิ่งที่ทุกคนอาจจะเห็นเป็นที่ประจักษ์อยู่แล้ว

ขณะที่ “ลุงป้อม” พล.อ.ประวิตร  ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ได้ฝากฝังขอให้ตั้งใจทำงาน อย่าให้เสียชื่อ

ด้าน รองนายกฯ หน้าใหม่ พ่วงด้วยตำแหน่งขุนคลังป้ายแดง “พิชัย ชุณหวชิร” บอกว่า ไม่จำเป็นต้องไปดูห้องทำงานใหม่เหมือน รมต.หลายๆ คน เหตุคุ้นเคยทำเนียบรัฐบาลดีอยู่แล้ว เพราะเป็นอดีตที่ปรึกษานายกฯนิดมานานหลายเดือน

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว

อีกฝากฝั่งหนึ่งของ “คนใจช้ำ” เป็น รมต.อกหัก ที่หลุดจากเก้าอี้รัฐมนตรี ครม.เศรษฐา1/1 อย่าง “หมอชลน่าน” นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว อดีต รมว.สาธารณสุข ก็ออกมาเคลื่อนไหวครั้งแรก โพสต์เฟซบุ๊กร่ายยาว เปิดใจชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกระแสที่อ้างว่าหลุดจากตำแหน่ง รมว.สาธารณสุข เพราะคุมข้าราชการในกระทรวงไม่อยู่ เป็นข้อมูลคลาดเคลื่อน หวั่นทำสังคมเข้าใจผิด ขออย่าโยงสร้างความแตกแยกภายในกระทรวง

ยืนยัน 241 วัน ที่เป็นรัฐมนตรี คนในกระทรวงให้การสนับสนุน และไม่ได้ถูกวางยาแต่อย่างใด

อ่านข่าว : “ชลน่าน” โพสต์ครั้งแรก! หลังถูกปรับออก “ชี้แจง-ตอบโต้” ทุกประเด็นขัดแย้ง

ยังข้องใจในตำแหน่งรัฐมนตรี ดร.สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีต กกต.และในฐานะนักวิชาการ ออกมาระบุว่า หลังจากพิชิต ชื่นบาน อดีตผู้ถูกคำพิพากษาของศาลฎีกาสั่งให้จำคุก 6 เดือน กรณีละเมิดอำนาจศาลเมื่อปี 2551 และถูกสภาทนายความสั่งเพิกถอนใบประกอบอาชีพทนาย 5 ปี

ขณะทำหน้าที่เป็นทนายให้ทักษิณ ชินวัตร ในกรณีที่ทราบกันทั่วไปว่า “คดีถุงขนม” โดยเป็นกรณีเกี่ยวกับเงิน 2 ล้านบาทที่อยู่ในถุงกระดาษ ซึ่งศาลเชื่อว่ามีส่วนร่วมกับบุคคลอีก 2 คน เมื่อปี 2551

พิชิต ชื่นบาน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

พิชิต ชื่นบาน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

ดร.สมชัย ตั้งคำถามว่า วันนี้ พิชิต ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จากทูลเกล้าฯ เสนอชื่อของนายกฯเศรษฐา ตำแหน่งรัฐมนตรี เป็นตำแหน่งที่ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา 160 ของรัฐธรรมนูญ พร้อมตั้งคำถามพิชิต มีคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรีตรงตามรัฐธรรมนูญหรือไม่

โดยแผลงศร 3 ดอก คือ ทั้งพรหมมาสตร์ พลายวาต และอัศนิวาต พุ่งตรงครบ 3 หน่วยงาน คือ กกต. ผู้ตรวจการแผ่นดิน และ ป.ป.ช. ครบถ้วน

ประเด็น “พิชิต ชื่นบาน” ต่ออย่างไร จบอย่างไร ใครต้องรับผิดชอบ

อ่านข่าว : กกต.แจงยิบกฎ-กติกาขั้นตอนเลือก 200 สมาชิกวุฒิสภาชุดที่ 13

กลับมาที่สูตรไขว้อันซับซ้อน อีกไม่กี่วันการสมัคร สว. จะเริ่มต้นขึ้นแล้ว ตามไทม์ไลน์เปิดรับสมัครในวันที่ 13 พ.ค.นี้ และจะได้เห็นโฉมหน้าทั้ง 200 สว.ในวันที่ 2 ก.ค.

แม้จะยังไร้ความชัดเจนในหลายเรื่องๆ และทัวร์มุ่งไปลงที่ กกต.แม้ลานจอดจะมีเยอะตามที่เลขาฯ กกต.กล่าวไว้ แต่ก็ไม่วายต้องมีหนาวๆ ร้อนๆ กับบ้าง

สำหรับรูปแบบการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาและการแนะนำตัว เป็นเรื่องที่รัฐธรรมนูญเป็นผู้กำหนด โดยกฎหมายกำหนดให้ผู้สมัครแนะนำตัวกับผู้ที่มีสิทธิ์เลือก ก็คือผู้สมัครด้วยกันเอง กกต.ตระหนักถึงความสำคัญของประชาชน ถึงแม้ประชาชนไม่ได้เลือกโดยตรง แต่ก็เป็นตัวแทนปวงชนชาวไทย ต้องทำหน้าที่แทน

ดังนั้นประชาชนมีสิทธิ์ติดตาม ตรวจสอบ สังเกตการณ์ หลังปิดรับสมัคร แต่ระหว่างที่สมัครไม่ให้เปิดเผยชื่อ เพราะจะมีส่วนได้เสีย ระหว่างกลุ่มต่างๆ

ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ด้าน “ดร.เอก” ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มองว่า กระบวนการเลือกกันเอง ไม่ใช่ของใหม่ แต่ซับซ้อนที่สุด ไล่มาตั้งแต่ระดับอำเภอ จังหวัด ประเทศ แต่ละระดับต้องเลือก 2 รอบแรกคือ เลือกกันเองและรอบสองคือเลือกไขว้ ส่วนคนที่จะโหวตต้องเป็นคนที่สมัคร และค่าสมัคร 2,500 บาท/คน ค่อนข้างสูง

สมัคร สว.ไม่ได้สมัครเพื่อเป็น สว.อย่างเดียว แต่จริงๆ แล้วสมัครเพื่อไปเลือก สว. กลับกลายเป็นว่าคนที่จะสมัคร สว. ต้องเสียเงิน 2,500 บาท

เงื่อนไข วิธีการแนะนำตัว ต้องเขียนใส่กระดาษให้ในกลุ่มเฉพาะผู้สมัครกันเอง ซึ่งคนที่ได้เปรียบคือคนที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว คนที่มีความสามารถมีความเหมาะสมแต่ไม่มีชื่อเสียง ไม่มีพรรคพวก ไม่มีอิทธิพล ก็จะเสียเปรียบไป

วิธีการที่ดีที่สุดคือใช้หลักความโปร่งใส และให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ

อ่านข่าว : 

จับกระแสการเมือง 1 พ.ค.2567 “ภูเก็ตบานฉ่ำ” ทักษิณ-สุวัจน์ ควงคู่โชว์พาวสกัดรุ่นใหม่”ก้าวไกล”

ทำได้-ไม่ได้ เลือก สว. ลายแทง “แสวง” ถึง ผู้สมัคร สื่อ นักการเมือง

“จิราพร” ยันพร้อมลุยงาน หลังได้นั่ง รมต.สำนักนายกฯ รับตื่นเต้นแต่ไม่ตระหนก

ทิ้งคำตอบไว้

อีเมล์ของคุณจะไม่ถูกเผยแพร่

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More