หน้าแรก Voice TV ‘มงคล สุระสัจจะ’ ผงาดประธานวุฒิสภา ‘พลเอก เกรียงไกร ศรีรักษ์’ รองประธานวุฒิสภาคนที่1 ‘บุญส่ง น้อยโสภณ’ รองประธานวุฒิสภาคนที่2

‘มงคล สุระสัจจะ’ ผงาดประธานวุฒิสภา ‘พลเอก เกรียงไกร ศรีรักษ์’ รองประธานวุฒิสภาคนที่1 ‘บุญส่ง น้อยโสภณ’ รองประธานวุฒิสภาคนที่2

110
0
‘มงคล-สุระสัจจะ’-ผงาดประธานวุฒิสภา-‘พลเอก-เกรียงไกร-ศรีรักษ์’-รองประธานวุฒิสภาคนที่1-‘บุญส่ง-น้อยโสภณ’-รองประธานวุฒิสภาคนที่2
‘มงคล สุระสัจจะ’ ผงาดประธานวุฒิสภา ‘พลเอก เกรียงไกร ศรีรักษ์’ รองประธานวุฒิสภาคนที่1 ‘บุญส่ง น้อยโสภณ’ รองประธานวุฒิสภาคนที่2

ผลการเลือกประธาน-รองประธานวุฒิสภา ของสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ 13 วันนี้ (23 กรกฎาคม 2567) ‘มงคล สุระสัจจะ’ ผงาดประธานวุฒิสภา ‘พลเอก เกรียงไกร ศรีรักษ์’ รองประธานวุฒิสภาคนที่1 ‘บุญส่ง น้อยโสภณ’ รองประธานวุฒิสภาคนที่2

วันนี้ (23 กรกฎาคม 2567) ที่ประชุมวุฒิสภาได้มีมติเลือกผู้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภา ดังนี้

– ‘นายมงคล สุระสัจจะ’ ประธานวุฒิสภา  สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 13

– ‘พลเอก เกรียงไกร ศรีรักษ์’ รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง

– ‘นายบุญส่ง น้อยโสภณ’ รองประธานวุฒิสภา คนที่สอง

‘นายมงคล สุระสัจจะ’ ประธานวุฒิสภา  สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 13

ในการประชุมครั้งแรกของวุฒิสภาไทย ชุดที่ 13 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 นายมงคล  ได้รับการเสนอชื่อจาก พลเอก เกรียงไกร ศรีรักษ์ ให้เป็นประธานวุฒิสภา โดยมี นายแพทย์ เปรมศักดิ์ เพียยุระ และ ดร.นันทนา นันทวโรภาส เป็นคู่ชิงตำแหน่ง ผลการลงมติปรากฎว่า นายมงคล ชนะด้วยคะแนนเสียง 159–13–19 (งดออกเสียง 4 บัตรเสีย 5)

ประวัติ ‘นายมงคล สุระสัจจะ’  ชื่อเล่น จ้อน  เกิด 9 สิงหาคม พ.ศ. 2495 ที่ตำบลบ้านกลับ อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี เข้าศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ที่โรงเรียนการช่างนครนายกในปี พ.ศ. 2511 ก่อนย้ายมาจบการศึกษาที่โรงเรียนพานิชยการพระนครศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2512 – 2515

เดิมที่มงคลไม่ต้องการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา เนื่องจากเกิดในครอบครัวฐานะยากจน แต่เมื่อปี พ.ศ. 2514 มีการเปิดมหาวิทยาลัยรามคำแหงซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชา จึงตัดสินใจเข้าเรียนในคณะรัฐศาสตร์เมื่อปี พ.ศ. 2516 โดยหวังว่าหลังจากจบการศึกษาแล้วจะสมัครเป็นปลัดอำเภอหนองโดนต่อไป โดยระหว่างศึกษาในมหาวิทยาลัยรามคำแหงนั้น ในปี พ.ศ. 2517 มงคลได้ร่วมกิจกรรมกับกลุ่มพัฒนาการศึกษาชนบท และเดินเข้าค่ายฝึกกำลังคน ในหมู่บ้านชาวปกาเกอะญอ (ชาวกะเหรี่ยง) ที่บ้านแม่แฮใต้ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีแกนนำคือ ธงชัย สุวรรณวิหค หรือ สหายช่วง ทิวเขาบรรทัด

ต่อมาในเหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519 นายมงคลลี้ภัยไปอยู่ที่ภูบรรทัด จังหวัดสตูล เป็นระยะเวลาเกือบ 1 ปี หลังจากเหตุการณ์สงบจึงกลับมาศึกษาต่อจนจบ

ภายหลังจบการศึกษา นายมงคลเข้ารับราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทยเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2522 ในตำแหน่งปลัดอำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย

ปี พ.ศ. 2532 นายมงคลย้ายมาเป็นปลัดอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จึงได้พบกับ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช ที่เวลานั้นเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ต่อมานายเสริมศักดิ์ได้สนับสนุนให้มงคลเข้าศึกษาที่วิทยาลัยการปกครอง เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำรงตำแหน่งนายอำเภอ หลังเรียนจบแล้ว นายมงคลเป็นนายอำเภอครั้งแรกที่อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี ต่อมานายเสริมศักดิ์ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม นายมงคลจึงตามไปดำรงตำแหน่งนายอำเภอศรีสงคราม ก่อนย้ายมาที่อำเภอธาตุพนม, อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก และอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ก่อนจะได้รับการแต่งตั้งเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดศรีสะเกษตามลำดับ

ปี พ.ศ. 2551 นายมงคลย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ จึงได้รู้จักกับ นายเนวิน ชิดชอบ ซึ่งเวลานั้นสังกัดพรรคพลังประชาชน ก่อนที่ภายหลังพรรคถูกยุบ จะแยกตัวออกมาก่อตั้งพรรคภูมิใจไทย ต่อมาในปลายปี พ.ศ. 2552 นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้โยกย้ายนายมงคลจากผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ มาเป็นอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน

ต่อมาเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2553 คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 59 มีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งนายมงคลเป็นอธิบดีกรมการปกครอง และปลายปีเดียวกัน มีการเสนอชื่อนายมงคลเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งหากได้รับการแต่งตั้ง จะเป็นศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง คนแรกที่ดำรงตำแหน่งนี้ และที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้แต่งตั้ง แต่ภายหลังมีประชาชนจากสมาคมข้าราชการบำนาญกระทรวงมหาดไทยทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาคัดค้านการแต่งตั้ง จากกรณีทุจริตการเช่าซื้อคอมพิวเตอร์ นายมงคลจึงแถลงถอนตัวเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2553 และเกษียณอายุในตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย

ภายหลังเกษียณอายุ นายมงคลได้กลับไปใช้ชีวิตเกษตรกร โดยก่อตั้งไร่เพื่อนคุณ ที่อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อปี พ.ศ. 2558

‘พลเอก เกรียงไกร ศรีรักษ์’ รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง

‘พลเอก เกรียงไกร ศรีรักษ์’ เกิดเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2506 ที่ตำบลบางกุ้ง อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 22 (ตท.22) และนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 33 (จปร.33) ด้านครอบครัวสมรสกับ ดร.คนึงนิตย์ ศรีรักษ์

พล.อ.เกรียงไกร ได้ลงสมัครรับเลือกสมาชิกวุฒิสภาไทย พ.ศ. 2567 ในกลุ่มการบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง โดยได้รับเลือกมาเป็นลำดับที่ 1 และได้รับการเสนอชื่อจากกลุ่ม สว.สายสีน้ำเงิน ให้เป็นรองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง

‘นายบุญส่ง น้อยโสภณ’ รองประธานวุฒิสภา คนที่สอง

นายบุญส่ง น้อยโสภณ เกิด 7 สิงหาคม พ.ศ. 2491 เป็นอดีตประธานกรรมการที่ปรึกษากฎหมายของคณะกรรมการการเลือกตั้ง อดีตประธานศาลอุทธรณ์ภาค 7 และอดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รับผิดชอบด้านกิจการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย

ประวัติการศึกษา

นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายเแห่งเนติบัณฑิตยสภา

นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ประวัติการทำงานที่สำคัญ

– นายทหารสารบรรณ กองเศรษฐกรรม กรมสวัสดิการทหารอากาศ

– อัยการผู้ช่วย กองคดี กรมอัยการ

– ผู้ช่วยผู้พิพากษา รุ่นที่ 18

– ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงอุบลราชธานี

– ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดกบินทร์บุรี

– ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงสมุทรปราการ

– ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดสมุทรปราการ

– รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค 8

– รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค 3

– รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค 7

– อธิบดีผู้พิพากษาภาค 3

– รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค 7

– ผู้พิพากษาศาลฎีกา

– ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 7

– กรรมการการเลือกตั้ง

โดยขั้นตอนหลังจากนี้ เลขาธิการวุฒิสภาจะมีหนังสือแจ้งนายกรัฐมนตรี เพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลฯ หลังจากนั้นจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งต่อไป

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่