หน้าแรก Voice TV โฆษกกรมประมง แจงยังเหลือโควต้ารับซื้อปลาหมอคางดำ เพื่อผลิตน้ำหมักชีวภาพ อีก 61,477 กิโลกรัม

โฆษกกรมประมง แจงยังเหลือโควต้ารับซื้อปลาหมอคางดำ เพื่อผลิตน้ำหมักชีวภาพ อีก 61,477 กิโลกรัม

17
0
โฆษกกรมประมง-แจงยังเหลือโควต้ารับซื้อปลาหมอคางดำ-เพื่อผลิตน้ำหมักชีวภาพ-อีก-61,477-กิโลกรัม
โฆษกกรมประมง แจงยังเหลือโควต้ารับซื้อปลาหมอคางดำ เพื่อผลิตน้ำหมักชีวภาพ อีก 61,477 กิโลกรัม

โฆษกกรมประมง แจงโควต้าการรับซื้อปลาหมอคางดำ โครงการผลิตน้ำหมักชีวภาพเพื่อเกษตรกรชาวสวนยาง เหลือ 61,477 กิโลกรัม ยังรับซื้อถึง 31 ส.ค.นี้ เร่งเสนอ ครม. เป็นวาระแห่งชาติ

นายสุวัฐน์ วงศ์สุวัฒน์ รองอธิบดีกรมประมง ในฐานะโฆษกกรมประมง เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ กรมประมงได้ดำเนินการแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่อง ตามนโยบายของร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีนายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด 

โดยเฉพาะมาตรการที่ 1 การควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำทุกแห่งที่พบการแพร่ระบาด โดยการจับออกจากแหล่งน้ำธรรมชาติด้วยเครื่องมือประมงที่มีประสิทธิภาพ และมาตรการที่ 3 การนำปลาหมอคางดำที่กำจัดออกจากระบบนิเวศไปใช้ประโยชน์ เพื่อให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำ 

453745041_1030400955758146_957156626251486714_n.jpg

ซึ่งกรมประมงร่วมกับการยางแห่งประเทศไทยได้มีการจัดตั้งจุดรับซื้อ ในราคากิโลกรัมละ 15 บาท ค่ารวบรวมที่จุดรับซื้อ 5 บาท/กิโลกรัม ส่งมอบให้สถานีพัฒนาที่ดินผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพ และการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ในโครงการผลิตน้ำหมักชีวภาพเพื่อเกษตรกรชาวสวนยาง โดยเปิดจุดรับซื้อปลาหมอคางดำเป็นระยะเวลา 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 – 31 สิงหาคม 2567 ซึ่งมีเป้าหมายการรับซื้อปลาหมอคางดำเพื่อผลิตน้ำหมักชีวภาพจำนวน 600,000 กิโลกรัม โดยขณะนี้ปริมาณการรับซื้อวัตถุดิบปลาหมอคางดำถึงวันที่ 19 สิงหาคม 2567 รวมทั้งสิ้น 538,523 กิโลกรัม คงเหลือที่จะรับซื้อได้อีก 61,477 กิโลกรัม โดยได้จัดสรรโควต้าที่เหลือทั้งหมดให้แต่ละจังหวัดไปแล้ว 

เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาช่องว่างของการจับปลาหมอคางดำ กรมประมงขอประชาสัมพันธ์ชี้แจง เรื่องชะลอการรับซื้อปลาหมอคางดำ ตามโครงการผลิตน้ำหมักชีวภาพเพื่อเกษตรกรชาวสวนยาง โดยขอให้ประชาชน ชาวประมงผู้จับปลา และเกษตรกรที่ประสงค์จะจำหน่ายปลา ประสานกับสำนักงานประมงจังหวัดในพื้นที่ล่วงหน้า เพื่อให้สามารถบริหารจัดการผลผลิตปลาที่จับได้อย่างลงตัวควบคู่ไปกับปริมาณโควต้าที่เหลือของแต่ละจังหวัด

สำหรับการจับปลาที่ค้างในบ่อของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และกรุงเทพฯ เกษตรกรสามารถนำปลาหมอคางดำไปจำหน่ายได้โดยตรงที่ บริษัท ศิริแสงอารำพี จำกัด จังหวัดสมุทรสาคร ในราคา 15 บาทต่อกิโลกรัม ปริมาณการรับซื้อ 25,000 กิโลกรัม/วัน ส่วนจังหวัดอื่นที่มีการระบาด กรมประมงกำลังดำเนินการจัดสรรงบประมาณเหลือจ่ายเพื่อจัดซื้อปลาหมอคางดำเฉพาะที่จับจากแหล่งน้ำธรรมชาติเท่านั้น ซึ่งจะสามารถดำเนินการจัดซื้อได้ภายในสัปดาห์หน้าเป็นต้นไป โฆษกกรมประมง กล่าว

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในระยะยาว และบรรเทาความเดือดร้อน ของประชาชน เกษตรกรชาวประมง กรมประมงได้เสนอโครงการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำเป็นวาระแห่งชาติต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อขอความเห็นชอบจาก ครม. พร้อมทั้งเสนอของบกลางเพื่อใช้ในการดำเนินการตามมาตรการที่ 1 เป็นการเร่งด่วน และหากมีผลความคืบหน้า จะเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบต่อไป

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่